การประชุม Meeting International ครั้งที่ 18 ปิดฉาก พร้อมเน้นย้ำความสัมพันธ์บราซิล-สหรัฐ

ข่าวต่างประเทศ Wednesday October 2, 2013 07:58 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

เซาเปาโล--2 ต.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ ในระหว่างพิธีเปิดงานสัมมนานานาชาติที่งาน Meeting International ครั้งที่ 18 ซึ่งจัดโดย LIDE-Grupo de Lideres Empresariais (กลุ่มผู้นำธุรกิจ) เมื่อวันที่ 27 ก.ย. ที่ผ่านมา นายเอลู ฮามุส เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ของบราซิลประจำเมืองไมอามีได้เน้นย้ำว่า ทั้งสองประเทศกำลังอยู่ในช่วงเวลาอันรุ่งโรจน์ทางธุรกิจ “งานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบราซิลและสหรัฐอเมริกา” นายฮามุสกล่าว โดยบรรดาผู้บริหารและเจ้าหน้าที่รัฐบาล 200 คนจากบราซิลและสหรัฐอเมริกาได้มารวมตัวกันในงานนี้ ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองไมอามี รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างวันที่ 26-29 ก.ย. ที่ผ่านมา นายริค สก็อต ผู้ว่าการรัฐฟลอริดา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนายจูอาว โดเรีย จูเนียร์ ประธานของ LIDE ได้เรียกร้องให้มีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับบราซิล และได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับข้อกำหนดการขอวีซ่าระหว่างสองประเทศ ในระหว่างการอภิปรายเรื่อง “ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สถาบัน และการท่องเที่ยวระหว่างบราซิลและสหรัฐอเมริกา” ว่า “ปัญหาเรื่องวีซ่าเป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะผมต้องการเพิ่มความสัมพันธ์ของเรากับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะบราซิล” นายสก็อตกล่าวกับนายมาร์โคนิ เปริลโล ผู้ว่าการรัฐโกยาสของบราซิลว่า ผลิตกรรมทางการเกษตรจากรัฐโกยาสเป็นส่วนที่สำคัญมากต่อดุลการค้าของบราซิล โดยโกยาสผลิตธัญพืชในสัดส่วน 50% ของทั้งประเทศ เลี้ยงปศุสัตว์ถึงครึ่งหนึ่ง และปลูกอ้อยอีก 20% สำหรับผลิตเอทานอล” “ในปัจจุบัน เกษตรกรรมของบราซิลมีความยั่งยืนมากที่สุดในโลก” โรแบร์โต โรดริเกส อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการเกษตร และประธาน LIDE AGRONEGOCIOS (ธุรกิจการเกษตรของ LIDE) กล่าวในการอภิปรายหัวข้อ “ความแข็งแกร่งของเอทานอลและส้มในฐานะสินค้าส่งออกของบราซิลไปยังสหรัฐอเมริกา” โดยในปี 2555 บราซิลมียอดเกินดุลการค้า 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งภาคธุรกิจการเกษตรสร้างรายได้ถึง 7.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เอทานอลและน้ำส้มเป็นสินค้าขึ้นชื่อสองรายการในบรรดาสินค้าที่ภาคธุรกิจการเกษตรของบราซิลส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา หลังจากเกิดวิกฤติในปี 2551 บราซิลต้องปรับลดการผลิตเอทานอลลง และยังไม่มีการก่อสร้างโรงงานผลิตจนถึงปัจจุบัน “รัฐบาลต้องการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ และหนึ่งในวิธีจัดการกับปัญหาดังกล่าวก็คือ การตรึงราคาแก๊สให้คงที่ ซึ่งส่งผลให้ราคาเอทานอลปรับตัวขึ้น” นายโรดริเกสกล่าว ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกน้ำส้มที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของบราซิล รองจากสหภาพยุโรป ปัจจุบันบราซิลผลิตน้ำส้มได้ 2.7 หมื่นล้านลิตร และมีผลผลิตส่วนเกินราว 6-7 พันล้านลิตรสำหรับการส่งออก โรดริเกสระบุว่า “ในเดือนส.ค. เราได้ส่งออกเอทานอลไปยังสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม แม้การส่งออกสินค้าบราซิลไปยังสหรัฐยังมีโอกาสขยายตัวอยู่อีกมาก แต่การปรับภาษีนำเข้าของสหรัฐให้ยืดหยุ่นมากขึ้นก็ถือเป็นเรื่องจำเป็น” สื่อมวลชนติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ CDN - Comunicacao Corporativa: Erica Valerio อีเมล erica.valerio@cdn.com.br โทร. +55-(11)-3643-2710

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ