แอร์บัส เรียกร้องอุตสาหกรรมการบินกำหนดมาตรฐานที่นั่งใหม่ เพื่อความสะดวกสบายของผู้โดยสารในเที่ยวบินระยะไกล

ข่าวต่างประเทศ Wednesday October 30, 2013 08:43 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

ลอนดอน--30 ต.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ แอร์บัสนำเสนอให้ที่นั่งขนาดความกว้าง 18 นิ้ว (45.72 เซนติเมตร) เป็นที่นั่งมาตรฐานสำหรับเครื่องบินชั้นประหยัดระยะไกลในอนาคต วันนี้แอร์บัสได้เปิดเผยถึงผลการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับความกว้างของที่นั่งซึ่งมีผลกระทบต่อระดับของความสะดวกสบายของผู้โดยสารเที่ยวบินระยะทางไกลในชั้นประหยัด พร้อมกับเรียกร้องให้อุตสาหกรรมการบินกำหนดมาตรฐานที่นั่งผู้โดยสารขั้นต่ำให้มีความกว้าง 18 นิ้ว (45.72 เซนติเมตร) เพื่อยกระดับความสะดวกสบายในการเดินทางด้วยเที่ยวบินระยะไกล (Photo: http://photos.prnewswire.com/prnh/20131028/648544-a ) (Photo: http://photos.prnewswire.com/prnh/20131028/648544-b ) การวิจัยครั้งสำคัญ จัดทำโดยศูนย์ปฏิบัติการทางการแพทย์ของสถาบัน ลอนดอน สลีฟ เซ็นเตอร์ (The London Sleep Centre) บนถนนฮาร์เล่ย์ โดยใช้วิธีตรวจวัดการนอนหลับ (polysomnography*) บันทึกกระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกายขณะนอนหลับ รวมทั้งการตรวจวัดคลื่นสมอง การทำงานของตา ท้อง หน้าอก สะโพก และขา จากผู้โดยสารกลุ่มตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าความกว้างของที่นั่งโดยสารขนาด 18 นิ้ว ช่วยทำให้คุณภาพในการนอนหลับของผู้โดยสารดีขึ้นถึงร้อยละ 53 เมื่อเทียบกับที่นั่งโดยสารขนาดมาตรฐาน 17 นิ้ว ที่มีมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2493 (ดูหมายเหตุวิธีการและผลการวิจัยด้านล่าง **) ดร. เออร์ชาด ฮิมบราฮิม (Dr. Irshaad Ebrahim - MBChB MRCPsych) จากสถาบัน ลอนดอน สลีฟ เซ็นเตอร์ (The London Sleep Centre) แสดงความเห็นว่า “ความแตกต่างของขนาดที่นั่งโดยสารมีนัยยะสำคัญ โดยที่นั่งโดยสารขนาด 18 นิ้ว จะทำให้ผู้โดยสารหลับสนิทปราศจากสิ่งรบกวนและช่วยให้นอนหลับได้ยาวนานขึ้น พวกเขาจะเริ่มเข้าสู่ระยะเข้านอนขั้นแรกจนกระทั่งเข้าสู่ระยะการนอนหลับเสมือนการเข้านอนในสภาวะปกติ ในขณะที่ที่นั่งขนาด 17 นิ้วที่แคบกว่า ผู้โดยสารจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยรบกวนมากมายระหว่างการนอนหลับ ซึ่งหมายความว่าผู้โดยสารแทบจะไม่สามารถเข้าสู่ระยะหลับลึกได้เลย เมื่อต้องเดินทางระยะไกลในที่นั่งชั้นประหยัด เพียงแค่ 1 นิ้วก็สามารถสร้างความแตกต่างอย่างมากต่อความสะดวกสบายของผู้โดยสาร การขนส่งทางอากาศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา มีผู้โดยสารจำนวนมากขึ้นที่เดินทางด้วยการบินในระยะทางที่ไกลกว่าเดิม ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาจำนวนของเที่ยวบินระยะทางไกลมากกว่า 6,000 ไมล์ทะเล (ระยะเวลาบิน 13+ ชั่วโมง) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70 จาก 24 เป็น 41 เที่ยวบินต่อวัน เมื่อเทียบกับในปีพ.ศ.2541 นั้นไม่เคยมีเที่ยวบินที่มีระยะทางไกลเกินกว่า 7,000ไมล์ทะเล และในอีก 15 ปีข้างหน้า การขนส่งผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัวภายในปีพ.ศ. 2575 สายการบินทั่วโลกจะมีการรับมอบเครื่องบินโดยสารและเครื่องบินขนส่งสินค้าใหม่กว่า 29,220 ลำ มร. เควิน เคนิสตัน (Kevin Keniston) หัวหน้าฝ่ายพัฒนาความสะดวกสบายของผู้โดยสารจของแอร์บัสให้ความเห็นว่า “หากว่าอุตสาหกรรมการบินไม่กำหนดมาตรการเสียตั้งตอนนี้ เราอาจเสี่ยงที่จะบั่นทอนความสะดวกสบายของผู้โดยสารในปี 2588 และปีต่อๆไปใน ดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากกำหนดการส่งมอบเครื่องบินรวมกับระยะเวลาในการให้บริการที่คาดหวังไว้ ซึ่งหมายถึงผู้โดยสารรุ่นหลังต่อไปจากนี้จะได้รับการบริการด้วยที่นั่งซึ่งมีมาตรฐานอันล้าสมัย” แอร์บัสยังคงมาตรฐานไว้เสมอด้วยที่นั่งความกว้างขั้นต่ำขนาด 18 นิ้ว (45.72 เซนติเมตร) ในห้องโดยสารชั้นประหยัดของเครื่องบินระยะทางไกล แต่ถึงอย่างไรก็ตามผู้ผลิตรายอื่นก็ยังคงทำลายมาตรฐานความสะดวกสบายของผู้โดยสารด้วยการกลับไปผลิตที่นั่งแบบแคบเหมือนในปี พ.ศ. 2593 เพื่อที่จะยังคงอยู่ในการแข่งขัน การเปลี่ยนค่าดัชนีมวลกาย (BMI)และทัศนคติในพื้นที่ส่วนบุคคลยังส่งเสริมอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่นธุรกิจเพื่อความบันเทิงและยานยนต์ให้ทบทวนความคิดเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนความกว้างของที่นั่ง และการวิจัยล่าสุดจากกลุ่มผู้โดยสารที่เดินทางไกลด้วยเที่ยวบินชั้นประหยัดที่ผ่านท่าอากาศยานนานาชาติ** แสดงให้เห็นว่าความสะดวกสบายของที่นั่งเป็นบรรทัดฐานสำคัญที่สุดในการจองเที่ยวบินชั้นประหยัดระยะทางไกลมากว่าตารางเวลาของเที่ยวบิน เควิน เคนิสตัน กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “การวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าไม่เพียงแต่ความกว้างของที่นั่งจะมีผลกระทบอย่างมากต่อความสะดวกสบายของผู้โดยสาร แต่ปัจจุบันการเจริญเติบโตของกลุ่มผู้โดยสารชั้นประหยัดที่มีวิสัยทัศน์ก็ไม่พร้อมที่จะยอมรับที่นั่งคับแคบขนาด 17 นิ้วในการเดินทางไกลด้วยเช่นกัน หากแต่พวกเขาจะเลือกสายการบินที่มอบที่นั่งที่มีความสะดวกสบายมากกว่า บ่อยครั้งมีการใช้สื่อสังคมหรือเว็บไซต์ของผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกที่นั่งที่ให้คุณประโยชน์อย่างแท้จริง เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ผู้โดยสารในวันนี้มีทางเลือกมากมายและพวกเขาก็เลือกความสะดวกสบายเป็นอันดับแรก เราจะส่งเสริมให้พวกเขาตระหนักถึงความแตกต่างเพียงแค่ 1 นิ้วที่สามารถส่งผลในการเดินทางระยะไกลของห้องโดยสารชั้นประหยัด” *** หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมจากแอร์บัส กรุณาเข้าเยี่ยมชมเว็บไซด์ www.airbus.com *** *การตรวจวัดการนอนหลับเต็มรูปแบบ* ได้บันทึกการตรวจวัดลักษณะด้านกายภาพทุกส่วนของร่างกาย รวมทั้งการตรวจวัดคลื่นสมอง การทำงานของตา ส่วนท้อง หน้าอก สะโพก และขา ของผู้โดยสารกลุ่มตัวอย่างในขณะนอนหลับ การศึกษาได้มีการออกแบบตามหลักการด้านคลีนิครักษา เป็นการศึกษาเพื่อประเมินผลการนอนหลับบนขนาดเก้าอี้โดยสารที่มีความกว้างแตกต่างกันที่ขนาด 17 และ 18 นิ้ว จากกลุ่มวัยผู้ใหญ่ตัวอย่างที่มีสุขภาพสมบูรณ์จำนวน 6 ราย ซึ่งได้รับการคัดเลือกตรวจสอบประวัติแล้วว่าไม่มีอาการของความผิดปกติทางการแพทย์และการนอนหลับ สภาพแวดล้อมในห้องโดยสารมีการจำลองขึ้นมาให้ใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมของเที่ยวบินโดยสารเสมือนจริงมากที่สุด ตั้งแต่ระยะเริ่มการบิน ซึ่งรวมถึงการจัดแสงไฟเพื่อจำลองพระอาทิตย์ตกและขึ้น ตลอดจนเสียงเลียนแบบการเทคออฟและเสียงประกอบเที่ยวบิน อีกทั้งอุปกรณ์เพื่อความบันเทิงและบริการเสิร์ฟอาหารบนเครื่องบิน (ตุลาคม 2556) กลุ่มตัวอย่างผู้โดยสารทั้งหมดในการวิจัยครั้งนี้ มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตามมาตรฐานเฉลี่ย ไม่มีประวัติปัญหาสุขภาพหรือการนอนไม่หลับและไม่ทราบวัตถุประสงค์ในการวิจัยแต่อย่างใด ภายในเที่ยวบินจำลองซึ่งได้จำลองสถานการณ์เที่ยวบินระยะไกลในชั้นประหยัด และได้กำหนดตัวแปรต่างๆให้คงที่ นอกจากความกว้างของที่นั่งที่จะมีการเปลี่ยนแปลงระหว่าง 17 นิ้ว และ 18 นิ้ว วัตถุประสงค์ (ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์) — เพิ่มประสิทธิภาพในการนอนหลับ (Sleep Quality) ของผู้โดยสารให้สูงถึงร้อยละ53 - ระยะเวลาที่ใช้ในการเข้าสู่ภวังค์ของการนอนหลับ (อาจเรียกว่าศักยภาพในการเริ่มเข้าสู่นิทรารมณ์) แสดงผลว่าผู้โดยสารบนที่นั่งขนาด 18 นิ้วสามารถนอนหลับได้เร็วขึ้นร้อยละ 14.7 (6 นาที) - อัตราจำนวนครั้งการรู้สึกตัวหลังจากนอนหลับ (ตื่นหลังจากที่เริ่มเข้าสู่ภวังค์ของการนอนหลับ) ปรับตัวลดลงเฉลี่ย 28 นาที บนที่นั่งขนาด 18 นิ้ว - ดัชนีการตื่น (Arousal Index) ซึ่งเป็นเกณฑ์วัดประสิทธิภาพการนอนหลับที่ไวต่อสิ่งกระตุ้นมากที่สุด - โดยวัดจำนวนและความถี่ของการรบกวนคลื่นสมองในระหว่างช่วงเวลากลางคืน - แสดงให้เห็นว่ามีการปรับปรุงค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 53 บนที่นั่งขนาด 18 นิ้ว - การกระตุกของแขนและขาปรับตัวลดลงร้อยละ 11 บนที่นั่งขนาด 18 นิ้ว ความคิดเห็นส่วนตัว (จากข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง) - กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยจำนวนร้อยละ 67 รายงานว่ามีคุณภาพในการนอนหลับดีขึ้น และ จำนวนร้อยละ 86 รายงานว่าสามารถนอนหลับได้นานขึ้นบนที่นั่ง 18 นิ้ว ** การศึกษาวิจัยกลุ่มตัวอย่างนานาชาติ 1,500 ราย จากท่าอากาศยานระหว่างประเทศ 4 แห่ง (สิงคโปร์, ชาร์ล เดอ โกล?, แฟรงก์เฟิร์ต และอาร์มสเตอร์ดัม)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ