ลอนดอน--30 ต.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
นายกรัฐมนตรีเครก แคนนอนเนียร์ แห่งเบอร์มิวดา ณ ที่ประชุมเศรษฐกิจอิสลามโลกในกรุงลอนดอน วันที่ 29-31 ตุลาคม
รัฐบาลเบอร์มิวดาวางแผนเป็นจุดหมายปลายทางด้านการเงินอิสลามชั้นแนวหน้าในภูมิภาคตะวันตก ซึ่งจะต่อยอดจากจุดยืนชั้นนำของโลกในด้านการประกันภัยและการประกันภัยต่อ
พณฯ เครก แคนนอนเนียร์ นายกรัฐมนตรีแห่งรัฐบาลเบอร์มิวดาอยู่ในระหว่างการเข้าร่วมการประชุมเศรษฐกิจอิสลามโลกครั้งที่ 9 ที่กรุงลอนดอนในสัปดาห์นี้ เพื่อสนับสนุนจุดยืนของเบอร์มิวดาในการเป็นศูนย์กลางด้านการเงินที่สอดคล้องกับหลักชาเรีย
เบอร์มิวดาสร้างศักยภาพด้านความสามารถและสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเงินอิสลามได้อย่างรวดเร็ว และร่วมมือกับศูนย์การเงินในประเทศมุสลิมต่างๆ
เบอร์มิวดาได้ลงนามในอนุสัญญาภาษีซ้อนร่วมกับบาห์เรนและกาตาร์
พณฯ เครก แคนนอนเนียร์ นายกรัฐมนตรีแห่งเบอร์มิวดาเปิดเผยว่า “เราอยู่ ณ ที่ประชุมเศรษฐกิจอิสลามโลก เพื่อเดินหน้าหารือและเสริมความสัมพันธ์ที่เราพัฒนาขึ้นมาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่เราประกาศเป็นศูนย์กลางการเงินที่สอดคล้องกับหลักชาเรียเป็นครั้งแรก
“เราทราบดีว่าไม่เพียงแต่โลกรอบๆตัวเราเท่านั้นที่เปลี่ยนไป แต่เศรษฐกิจก็กำลังเปลี่ยนแปลงไปตามโลกด้วย เบอร์มิวดาเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในฐานะศูนย์กลางการเงินออฟชอร์ชั้นแนวหน้าสำหรับวงการประกันภัยและประกันภัยต่อที่มีบริการสนับสนุนในระดับสากล อาทิ กฎหมาย และการบัญชี ซึ่งจะทำให้ส่วนขยายที่ไปสู่การเงินอิสลามเป็นการพัฒนาที่สมเหตุสมผล ซึ่งเป็นส่วนที่เรามีขีดความสามารถในการแข่งขันชั้นแนวหน้าในระดับโลก”
การเงินอิสลามถือเป็นภาคการเงินที่เติบโตรวดเร็วมากที่สุดภาคหนึ่ง และมีสินทรัพย์ค้ำประกันตามหลักอิสลามทั่วโลกอยู่ที่ราว 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี 2555
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
เกี่ยวกับเบอร์มิวดา
หมู่เกาะเบอร์มิวดา (เบอร์มิวดา) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ที่ปกครองตนเอง เบอร์มิวดาตั้งอยู่ในบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ นอกชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐ เบอร์มิวดามีประชากรราว 65,000 คน และมีรายได้ต่อหัวมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก เบอร์มิวดามีเมืองหลวงคือ กรุงแฮมิลตัน
ฝ่ายที่มีอำนาจในการบริหารของเบอร์มิวดาจะอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ และได้รับการบริหารจัดการในนามของพระองค์โดยผู้ว่าราชการเบอร์มิวดา สหราชอาณาจักรจะควบคุมกิจการต่างประเทศของเบอร์มิวดาและรัฐบาลที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาที่มีแบบแผนมาจากระบบสองสภาและใช้ผลประโยชน์ภายในที่ดินแดน รัฐบาลเบอร์มิวดานำโดยสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาลซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยผู้ว่าการเบอร์มิวดาตามข้อเสนอแนะเรื่องนายกรัฐมนตรี Hon. เครก แคนนอนเนียร์ นายกรัฐมนตรีแห่งเบอร์มิวดาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งในปี 2555
เศรษฐกิจของเบอร์มิวดามีศูนย์กลางอยู่ที่ธุรกิจระหว่างประเทศและการให้บริการทางการเงินให้แก่ภาคธุรกิจระหว่างประเทศ เบอร์มิวดาเป็นเมืองหลวงของโลกในวงการประกันภัยและประกันภัยต่อ เนื่องจากข้อกำหนดในธุรกิจในดินแดนที่ไม่เหมือนใครและภาษีอากรที่อยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศอื่นๆ เบอร์มิวดายังคงมีความสนใจในด้านความโปร่งใสและความร่วมมือเชิงรุกเป็นอย่างยิ่งในประเด็นภาษีอากรระหว่างประเทศ โดยทำข้อตกลงแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านภาษีแบบทวิภาคีร่วมกับ 90% ของประเทศสมาชิก G-20 76% ของประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) และ 52% ของประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป (อียู)
เบอร์มิวดาทำให้เกิดการจ้างงานราว 100,000 ตำแหน่งในสหราชอาณาจักรซึ่งมากกว่าการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจญี่ปุ่น
ในเดือนกันยายน 2556 เบอร์มิวดาเข้าร่วมการประชุมพหุภาคี OECD ว่าด้วยเรื่องความช่วยเหลือร่วมกันในประเด็นภาษีเพื่อเอื้อให้เกิดความร่วมมือระหว่างเขตกฎหมายในการประเมินและการเก็บภาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อขจัดการเลี่ยงและหลบภาษี เบอร์มิวดาเป็นที่ยอมรับมาอย่างยาวนานในฐานะมาตรฐานระดับทองคำของศูนย์กลางการเงินออฟชอร์ในแง่ของความร่วมมือและความโปร่งใส
เกี่ยวกับการประชุมเศรษฐกิจอิสลามโลก
การประชุมเศรษฐกิจอิสลามโลก (WIEF) ครั้งที่ 9 จัดขึ้นที่ Excel London ระหว่างวันที่ 29-31 ตุลาคม 2556 โดยมีหัวข้อหลักคือ "Changing World, New Relationships" เพื่อหารือเรื่องการปรากฎความเชื่อโยงทางเศรษฐกิจใหม่ๆระหว่างประเทศต่างๆทั่วทุกพรมแดน ศาสนา และวัฒนธรรมในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในปีนี้ WIFE นำเสนอเวทีระดับแนวหน้าให้แก่ผู้นำรัฐบาลชั้นนำของโลก ผู้นำอุตสาหกรรมต่างๆ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละภูมิภาค มืออาชีพ ผู้จัดการขององค์กร ผู้กำหนดนโยบาย นักสร้างนวัตกรรม ผู้นำธุรกิจ และนักลงทุนในการหารือเกี่ยวกับโอกาสสำหรับความร่วมมือธุรกิจในโลกมุสลิม
การประชุมนี้จัดโดยมูลนิธิการประชุมเศรษฐกิจอิสลามโลก http://www.9thwief.org/Home.aspx
แหล่งข่าว: รัฐบาลเบอร์มิวดา