กาฐมัณฑุ, เนปาล--30 เม.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/ อินโฟเควสท์
ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (IDRC) แห่งแคนาดา และสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (DFID) แห่งสหราชอาณาจักร เปิดเผยว่า สถาบันต่างๆ ในเอเชียจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ 4 กลุ่มวิจัยร่วม เพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในแอฟริกาและเอเชีย ซึ่งได้รับเงินทุนภายใต้โครงการความร่วมมือเพื่องานวิจัยด้านการปรับตัวในแอฟริกาและเอเชีย (CARIAA) มูลค่า 70 ล้านดอลลาร์และใช้เวลา 7 ปี เพื่อแสวงหาแนวทางใหม่ๆในการทำความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวของผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ประสบปัญหาในแอฟริกาและเอเชีย
โครงการ CARIAA ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มวิจัยร่วมระหว่างภูมิภาค 4 กลุ่ม จะให้ความสนใจไปยัง “ฮอตสปอต” 3 จุดทั่วโลก ได้แก่ พื้นที่กึ่งแห้งแล้งในแอฟริกา เอเชียใต้ และเอเชียกลาง, พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำในแอฟริกาและเอเชียใต้ และลุ่มน้ำหิมาลายัน เพื่อผลักดันให้เกิดนโยบายและการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่จริง โครงการดังกล่าวครอบคลุมการดำเนินงานในหลายประเทศ ภูมิภาค และภาคส่วนต่างๆ การวิจัยของ CARIAA ในเอเชียกลางและเอเชียใต้นั้น ถือว่าเสร็จเร็วกว่ากำหนดมาก ซึ่งเห็นได้จากมีการเรียกร้องการดำเนินงานในการประชุมความร่วมมือเพื่องานวิจัยด้านการปรับตัวครั้งที่ 8 ซึ่งสิ้นสุดลงวันนี้ที่กาฐมัณฑุ
กลุ่มวิจัยของ CARIAA ที่ลุ่มน้ำหิมาลายัน นำโดยศูนย์นานาชาติเพื่อการพัฒนาพื้นที่ภูเขาแบบบูรณาการ (International Centre for Integrated Mountain Development :ICIMOD) ซึ่งตั้งอยู่ที่กาฐมัณฑุ โดยพันธมิตรในเอเชียของศูนย์ ได้แก่ ศูนย์บังคลาเทศเพื่อการศึกษาขั้นสูง, สถาบันทรัพยากรและพลังงาน (TERI) ในอินเดีย และสภาการวิจัยด้านเกษตรกรรมปากีสถาน โดยกลุ่มวิจัยจะรวมกรณีศึกษาในปากีสถาน อินเดีย เนปาล และบังคลาเทศด้วยเช่นกัน กลุ่มวิจัยที่ปฏิบัติงานบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ได้แก่ มหาวิทยาลัยวิศวกรรมและเทคโนโลยีบังกลาเทศ และมหาวิทยาลัย Jadavpur University ในอินเดีย และพื้นที่การวิจัย ประกอบด้วย แม่น้ำคงคา-พรหมบุตร-เมฆนา และปากแม่น้ำมหานที ส่วนอีก 2 กลุ่มวิจัยจะปฏิบัติงานในพื้นที่กึ่งแห้งแล้ง ได้แก่ สถาบันสำหรับการตั้งถิ่นฐานมนุษย์อินเดีย และสถาบันนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปากีสถาน
“CARIAA จะนำเสนอมุมมองเชิงลึกที่สำคัญในเรื่องอุปทานน้ำ และตัวเลือกสำหรับการประยุกต์ใช้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีอยู่ในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับภูมิภาค ในหลายประเทศที่พึ่ต้องงพาธารน้ำแข็งจากเทือกเขาฮินดูกูช” ดร.เดวิด โมลเดน ผู้อำนวยการทั่วไปของ ICIMOD กล่าว
“การเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ทั้งในเรื่องรูปแบบการไหลเวียนของน้ำและธารน้ำแข็งละลาย จะส่งผลต่อชีวิตและที่อยู่อาศัยของประชากรในบังคลาเทศ” ดร.อะทิก ราห์มาน กรรมการบริหารของศูนย์บังคลาเทศเพื่อการศึกษาขั้นสูงกล่าว “การวิจัยที่ดำเนินการโดย CARIAA จะช่วยพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และสวัสดิการสังคมของผู้ที่ด้อยโอกาสที่สุดในบังคลาเทศ
“ความร่วมมือเกี่ยวกับการวิจัยเชิงประยุกต์นั้นก่อให้เกิดประโยชน์ซึ่งกันและกันทั้งในวงกว้างต่อแอฟริกาและเอเชีย ผลการวิจัยจะช่วยเพิ่มความรู้เกี่ยวกับทางเลือกที่มีอยู่ เพื่อช่วยเหลือประชากรที่ขาดแคลนที่สุดได้ในวงกว้างของประเทศและภูมิภาคต่างๆ” ดร.ราเจนดรา เค ปาโชรี ซีอีโอของ TERI อินเดีย และประธานคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) กล่าว
หลายพื้นที่ในเอเชียมีความอ่อนไหวและเปราะบางสูงต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงด้านอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน จะส่งผลต่อหิมะและน้ำแข็งในภูมิภาคฮินดูกูชหิมาลายัน รวมทั้งรูปแบบการไหลเวียนของบรรยากาศที่มีผลต่อลมมรสุมฤดูร้อนทางใต้ของเอเชีย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจทำให้ชีวิตนับล้านตกอยู่ในความเสี่ยง โดยประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณต้นน้ำที่ปากแม่น้ำในเอเชียใต้ มีความเสี่ยงสูงที่จะเผชิญกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และรูปแบบน้ำฝนและอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป IPCC คาดการณ์ว่า หากไม่มีการปรับเปลี่ยนมาตรการ เพื่อปกป้องประชากรจากความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ประชากรหลายร้อยล้านคนจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมบริเวณชายฝั่ง และต้องย้ายที่อยู่อาศัย เนื่องจากผืนดินที่จะสูญหายไปในปี 2643 โดยประชากรส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบอยู่ในบริเวณเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก สุดท้ายนี้ ในส่วนพื้นที่กึ่งแห้งแล้งของเอเชีย จะเผชิญกับภัยแล้งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและยาวนานขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อปศุสัตว์และเกษตรกรรมที่เป็นแหล่งอาหารและแหล่งรายได้หลัก
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงรายชื่อสถาบันที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของ 4 กลุ่มวิจัยร่วมระหว่างภูมิภาค สามารถรับชมได้ที่ CARIAA และใน ข้อมูลภูมิหลัง
ร่วมพูดคุยกับเราได้ทาง ทวิตเตอร์ (#CARIAA)และทาง เฟซบุ๊ก
เกี่ยวกับ IDRC
IDRC ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของนโยบายต่างประเทศของแคนาดา ได้ให้การสนับสนุนงานวิจัยในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเติบโตและการพัฒนาประเทศ โดยกิจกรรมหลักของ IDRC คือ การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านงานวิจัย สามารถดูผลงานของเราได้ที่ http://www.idrc.ca/EN/Programs/Agriculture_and_the_Environment/Climate_Change_and_Water/Pages/default.aspx
เกี่ยวกับ DFID
สำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (DFID) แห่งสหราชอาณาจักร เป็นหัวหอกของรัฐบาลอังกฤษในการต่อสู้กับปัญหาความยากจนทั่วโลก
สื่อมวลชน กรุณาติดต่อ
Prabha Sethuraman | นิวเดลี
โทร. +91 11 2461 9411 ext. 7412
อีเมล: psethuraman@idrc.ca|@IDRCinAsia
Isabelle Bourgeault-Tasse | แคนาดา
โทร. +1 613 696-2343
อีเมล: ibourgeault-tasse@idrc.ca | @IDRC_CRDI