ลอนดอน--18 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
ผลการจัดอันดับเผยแพร่บนเว็บไซต์ http://www.TopUniversities.com #QSWUR
ผลการจัดอันดับ QS University Rankings: BRICS ซึ่งเปรียบเทียบสถาบันการศึกษาชั้นนำ 200 อันดับแรกจากบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ (BRICS) พบว่าจีนเป็นประเทศที่มีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จมากที่สุดในการยกระดับมหาวิทยาลัยสู่สากล
โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20140618/691283
เบน โซวเตอร์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยของ QS กล่าวว่า “กลุ่มประเทศ BRICS ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของแนวความคิดที่ว่า อนาคตของเศรษฐกิจโลกจะไม่ได้อยู่ในกำมือของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นอีกต่อไป และเพื่อแข่งขันกับบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้ว กลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วเหล่านี้จำเป็นจะต้องมีระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยระดับเวิลด์คลาส”
จีนมีมหาวิทยาลัยที่ติด 10 อันดับแรกทั้งหมด 6 แห่ง ตามมาด้วยบราซิล (2), รัสเซีย (1), และแอฟริกาใต้ (1) ในขณะที่รัสเซียมีมหาวิทยาลัยที่ติด 200 อันดับแรกทั้งหมด 53 แห่ง ซึ่งเป็นรองเพียงแค่จีน (71) อย่างไรก็ดี มีมหาวิทยาลัยของรัสเซียเพียง 7 แห่งที่ติดอยู่ใน 50 อันดับแรก ซึ่งต่ำกว่าจีน (21), บราซิล (10), และอินเดีย (9)
อินเดียเป็นเพียงประเทศเดียวในกลุ่มที่ไม่มีมหาวิทยาลัยติดอยู่ใน 10 อันดับแรก ถึงแม้ว่าจะมีมหาวิทยาลัย 5 แห่งที่มีรายชื่อใน 20 อันดับแรก
รายชื่อมหาวิทยาลัย 10 อันดับแรก
2014 2013
1 1 TSINGHUA UNIVERSITY CN
2 2 PEKING UNIVERSITY CN
3 3 LOMONOSOV MOSCOW STATE UNIVERSITY RU
4 6= UNIVERSITY OF SCIENCE AND TECHNOLOGY OF CHINA CN
5 4 FUDAN UNIVERSITY CN
6 5 NANJING UNIVERSITY CN
7 8 UNIVERSIDADE DE SAO PAULO BR
8 6= SHANGHAI JIAO TONG UNIVERSITY CN
9= 10 UNIVERSIDADE ESTADUAL DE CAMPINAS BR
9= 11 UNIVERSITY OF CAPE TOWN ZA
(c) http://www.TopUniversities.com [http://bit.ly/1hLw5HQ]
“พัฒนาการด้านการอุดมศึกษาของจีนในช่วง 20 ปีที่ผ่านมามีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก” โซวเตอร์กล่าว “มหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น ชิงหวาและปักกิ่ง ปัจจุบันได้ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ผลิตผลงานด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลกไปแล้ว”
จีนได้เพิ่มทุนด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเฉลี่ย 18% ต่อปีมาตั้งแต่ปี 2551 ขณะที่สถาบันในกลุ่ม “C9 League” ของจีนถือเป็นคู่แข่งขันโดยตรงกับสถาบันกลุ่ม “Ivy League” ของสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยจีนทั้ง 6 แห่งที่ติดท็อปเทนในการจัดอันดับครั้งนี้ก็ล้วนแต่อยู่ในกลุ่ม C9 League ทั้งสิ้น
ด้านคุณอิรานี รัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัยของอินเดีย ได้กำหนดเป้าหมายที่จะเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเป็น 6% ของจีดีพี จากต่ำกว่าระดับ 4% ในปัจจุบัน ด้วยความหวังว่ามหาวิทยาลัยต่างๆ จะปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความสอดคล้องกับตลาดแรงงาน
ขณะเดียวกันรัสเซียได้ประกาศแผนการผลักดันให้มหาวิทยาลัย 5 แห่งของรัสเซียติดอันดับมหาวิทยาลัย 100 อันดับแรกของโลกภายในปี 2563 ส่วนอินเดียมีแผนจัดตั้งมหาวิทยาลัยระดับเวิลด์คลาส 14 แห่งภายใต้นโยบาย “brain gain” ของรัฐบาล
“ในขณะที่รัฐบาลประเทศตะวันตกหลายประเทศจำกัดค่าใช้จ่าย กลุ่มประเทศ BRICS ได้ตั้งเป้าที่จะพัฒนามหาวิทยาลัยระดับเวิลด์คลาสให้เร็วยิ่งขึ้น” โซวเตอร์ระบุ
ติดต่อ:
อีเมล: simona@qs.com
โทร. +44(0)7880620856
แหล่งข่าว: QS Quacquarelli Symonds