ไฮเดอราบัด, อินเดีย--23 ก.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
- 24 กันยายน 2557 เป็นช่วงเวลาที่น่าภาคภูมิใจของคนทั้งโลกเมื่อยานอวกาศมงคลยาน (ยานสำรวจดาวอังคาร) ขององค์การวิจัยอวกาศอินเดียหรืออิสโร ISRO เดินทางถึงดาวอังคารด้วยสถิติที่เร็วที่สุด -
- แอพโทรศัพท์มือถือแอพแรกในวงการของ Smartur ที่พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานโลกเสมือนจริงที่สมจริงช่วยปูทางสู่การมีปฏิสัมพันธ์กับยานสำรวจดาวอังคาร และการประกวดภาพถ่ายเซลฟีกับยานสำรวจดาวอังคารจากทั่วโลก
โครงการอวกาศของอินเดียกำลังจะประสบความสำเร็จครั้งสำคัญที่สุดเมื่อยานสำรวจดาวอังคารเดินทางไปถึงดาวอังคารในวันที่ 24 กันยายนนี้ นับเป็นความสำเร็จที่ไม่ได้เป็นของชาวอินเดียเท่านั้น แต่ยังเป็นความสำเร็จของผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนา การเดินทางไปยังอวกาศและเทคโนโลยีอวกาศที่ผ่านมาต่างก็เป็นเรื่องของประเทศอุตสาหกรรม ด้วยความสำเร็จที่อินเดียได้แสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีอวกาศที่เหมือนกับในนวนิยายวิทยาศาสตร์นั้นเป็นสิ่งที่ประเทศที่มีทรัพยากรเพียงเล็กน้อยก็สามารถดำเนินการได้เพื่อสิ่งที่ดีกว่าสำหรับมวลมนุษย์ Smartur 3D (http://www.smartur3d.com) บริษัทด้านโลกเสมือนจริงที่สมจริง (Augmented Reality) ได้พัฒนาแอพ Smartur เกี่ยวกับโลกเสมือนจริงที่สมจริงที่ไม่คิดค่าใช้จ่ายสำหรับโทรศัพท์มือถือระบบแอนดรอยด์และ iOS ที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถคลิกภาพถ่ายเซลฟีร่วมกับยานสำรวจดาวอังคารในชื่อมงคลยาน (Mangalyaan) เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงที่สมจริงเป็นเทคโนโลยีเดียวกับที่ใช้กันในกูเกิลกลาส ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเพื่อให้ผู้ใช้มีประสบการณ์และส่วนร่วมในความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์นี้ ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์และ iOS ทั่วโลกสามารถมีส่วนร่วมในการประกวด “ภาพถ่ายเซลฟีกับยานสำรวจดาวอังคาร” ด้วยการอัพโหลดรูปภาพที่เป็นนวัตกรรมที่มีรูปตัวยานเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมของตนเองในขณะนั้นๆ
(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20140922/706742)
มร.นีราจ เจวอล์กเกอร์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Smartur3d.com กล่าวถึงโครงการนี้ว่า “เพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จของยานสำรวจดาวอังคาร เราคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญในการจัดหาแพลตฟอร์มที่ผู้คนสามารถแบ่งปันความสุขและความภาคภูมิใจในเรื่องดังกล่าว นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแอพ Smartur และการประกวด “ภาพถ่ายเซลฟีกับยานสำรวจดาวอังคาร” นี่เป็นโครงการริเริ่มครั้งแรกของวงการที่คนธรรมดาๆทั่วโลกสามารถเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์นี้ได้”
เรื่องเด่น:
- ระยะทางในการเดินทางของยานมงคลยานเท่ากับ
- การเดินทางไปกลับดวงจันทร์ 1,000 เที่ยว
- การเดินทางไปยังดวงอาทิตย์ 5 เที่ยว
- ยานมงคลยานสร้างจากเงินทุนเพียง 1/10 และใช้เวลาก่อสร้าง 3/4 เมื่อเทียบกับภารกิจเดียวกันของสหรัฐ
สามารถดูวิดีโอและภาพถ่ายเซลฟีได้ที่:
http://www.Smartur3d.com/marsorbiter
เกี่ยวกับ Smartur3d.com
Smartur3d.com เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีการศึกษาบนพื้นฐานโลกเสมือนจริงที่สมจริง ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในสหรัฐและอินเดีย
สื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:
อีเมล: abhishek@smartur3d.com
Abhishek Khaitan
โทร: +91 9866726545
แหล่งข่าว: Smartur3d.com