จูไห่, จีน--14 พ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
- เทลส์ เตรียมติดตั้งระบบเอวิโอนิกส์ให้เครื่องบิน Airbus A320 ฝูงบินใหม่ของไลอ้อน แอร์ จำนวน 234 ลำ
- นับเป็นการสั่งซื้อเครื่องบิน Airbus ล็อตใหญ่ที่สุดของไลอ้อน แอร์
- เมื่อช่วงต้นปีเทลส์ก็ได้ติดตั้งระบบให้สายการบินไชน่า อีสเทิร์น ตอกย้ำความเป็นผู้นำในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เทลส์ (Thales) เตรียมติดตั้งระบบเอวิโอนิกส์ให้กับเครื่องบิน Airbus A320 ฝูงใหม่ของสายการบินไลอ้อน แอร์ (Lion Air) จำนวนทั้งสิ้น 234 ลำ นับเป็นคำสั่งซื้อเครื่องบิน Airbus แบบทางเดินเดี่ยว (Single-Aisle) ล็อตใหญ่ที่สุดของไลอ้อน แอร์
ไลอ้อน แอร์ เป็นสายการบินเอกชนรายใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย และเป็นสายการบินที่เติบโตอย่างรวดเร็วเป็นอันดับต้นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไลอ้อนแอร์ได้ติดตั้งระบบของเทลส์บนฝูงบิน ATR ทั้งหมดของสายการบินอยู่แล้ว
ระบบเอวิโอนิกส์ที่ได้รับการติดตั้งบนฝูงบินใหม่ประกอบไปด้วยระบบ Thales TopFlight Management System[1] ซึ่งเป็นระบบที่ได้รับความนิยมที่สุดสำหรับเครื่องบิน Airbus ทางเดินเดี่ยว โดยครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 60%
คุณรัสดี คิราน ซีอีโอของไลอ้อน แอร์ กรุ๊ป กล่าวว่า “ระบบเอวิโอนิกส์ของเทลส์ซึ่งมีอุปกรณ์อันทันสมัยและเทคโนโลยีขั้นสูง จะช่วยยกระดับความปลอดภัยบนเครื่องบินของไลอ้อน แอร์ ด้วยการลดผลกระทบท่ามกลางสภาพอากาศรุนแรง พร้อมมอบประสบการณ์การบินอันสะดวกสบายแก่ผู้โดยสาร”
ระบบเอวิโอนิกส์ที่ได้รับการติดตั้งบน A320 ฝูงใหม่นั้น จะประกอบไปด้วยระบบควบคุม ACSS (L-3 & Thales company) T3CAS(R)[2] โดยนับตั้งแต่ที่ทาง Airbus ได้กำหนดให้ติดตั้งระบบควบคุมการบินดังกล่าวเป็นมาตรฐานบนเครื่องบินตระกูล A320 แล้ว ระบบนี้ก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในเอเชีย ปัจจุบัน ไลอ้อน แอร์ และบรรดาสายการบินชั้นนำที่เติบโตอย่างรวดเร็ว (เช่น ไชน่า อีสเทิร์น, แอร์ เอเชีย และเซบู แปซิฟิก) ได้ติดตั้งระบบควบคุมรุ่นใหม่นี้บนฝูงบินของตนเอง
นอกจากนี้ ระบบเอวิโอนิกส์ยังมีอุปกรณ์ส่งสัญญาณฉุกเฉิน ELT Integra[3] ด้วย
ระบบบริหารจัดการการบินที่มีความน่าเชื่อถือสูงนี้ มอบสภาพแวดล้อมในการทำงานอันเรียบง่ายแก่นักบินของไลอ้อน แอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนน่านฟ้าเอเชียใต้ที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่น
คุณแดเนียล มัลกา รองประธานบริษัทและผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริการระบบเอวิโอนิกส์ทั่วโลกของเทลส์ กล่าวว่า “สถานะของเราในฐานะผู้ติดตั้งระบบเอวิโอนิกส์ชั้นนำในเอเชียได้ถูกยกระดับอย่างแข็งแกร่งในปีนี้ ความสำเร็จในการติดตั้งระบบให้กับสายการบินไชน่า อีสเทิร์น ทำให้เราได้รับความไว้วางใจจากไลอ้อน แอร์ ในการติดตั้งระบบบนฝูงบินใหม่ และแสดงให้เห็นว่าเทลส์กำลังเดินหน้าสู่ความเป็นผู้นำในภูมิภาคอย่างรวดเร็ว”
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
[1] ระบบ Thales FMS ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อันทรงพลัง พร้อมซอฟต์แวร์ Airbus Release 1A ที่ได้รับการรับรองประสิทธิภาพ จึงมีศักยภาพในการตอบสนองที่ไม่เป็นสองรองใคร รวมถึงฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น แผนการบินสำรอง ระบบคำนวณวิถีนำร่องสมจริง หรือระบบ FMS Landing System (FLS)
[2] T3CAS(R) จาก ACSS เป็นโซลูชั่นควบคุมแบบครบวงจรที่รวม TCAS, TAWS และเครื่องรับส่งผ่านสัญญาณไว้ในกล่อง 6MCU กล่องเดียวบนเครื่องบิน Airbus ทางเดินเดี่ยว T3CAS นำเสนอปฏิบัติการบินแบบ Required Navigation Performance -- Authorization Required (RNP AR), คุณสมบัติ Airborne Traffic Situational Awareness (ADS-B IN ATSAW), ระบบ Runway Overrun Protection System (ROPS) รวมถึงเครื่องรับส่งผ่านสัญญาณ ADS-B OUT DO-260B เป็นเจ้าแรกในตลาด
Aviation Communication & Surveillance Systems (ACSS) ซึ่ง L-3 เป็นเจ้าของ 70% และเทลส์อีก 30% เป็นผู้นำด้านระบบเอวิโอนิกส์ที่ช่วยยกระดับความปลอดภัย การรับรู้สถานการณ์ และประสิทธิภาพให้กับผู้ควบคุมอากาศยานในทุกระยะของการบิน ทั้งนี้ ACSS อยู่ภายในเครือของ L-3 Aviation Products ซึ่งประกอบไปด้วย Aviation Recorders, Avionics Systems Display Systems และ Electronic System Services 2
ระบบควบคุมนี้เป็นไปตามข้อกำหนดด้าน ATM ของยุโรป สหรัฐอเมริกา และเอเชียแปซิฟิกทั้งในปัจจุบันและอนาคต อีกทั้งยังสามารถรองรับ ADS-B IN ได้ด้วย โดยนอกเหนือจากการผสมผสาน TCAS Change 7.1, TAWS และเครื่องรับส่งผ่านสัญญาณที่รองรับ ADS-B ในแพคเกจ 6 MCU แล้ว ระบบ T3CAS(R) ยังนำเสนอฟังก์ชั่น Airbus ADS-B IN อย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ATSA-AIRB (Enhanced Air traffic Surveillance) และ ATSA-ITP (In Trail Procedure) บนเครื่องบินทางเดินเดี่ยวและระยะบินยาว
[3] Integra ELT เป็นอุปกรณ์ส่งสัญญาณฉุกเฉินที่ได้รับการต่อยอดจาก OROLIA (ชื่อเดิม KANNAD) ซึ่งได้รับการพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยบนเที่ยวบิน INTEGRA ทำงานอย่างอิสระ 100% ด้วย GPS แบบบิวต์อินและเสาอากาศภายใน และเป็นอุปกรณ์ส่งสัญญาณฉุกเฉินเพียงตัวเดียวที่สามารถสับเปลี่ยนไปใช้เสาอากาศภายในได้โดยอัตโนมัติ เมื่อไม่สามารถเชื่อมต่อเสาอากาศภายนอกได้
เกี่ยวกับเทลส์
เทลส์เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกในตลาดอากาศยาน การขนส่ง การป้องกันตนเองและความมั่นคง ในปี 2556 บริษัทมีรายได้ 1.42 หมื่นล้านยูโร และมีพนักงานจำนวน 65,000 คนใน 56 ประเทศ ด้วยวิศวกรและนักวิจัยกว่า 25,000 ชีวิต เทลส์จึงมีศักยภาพอันโดดเด่นในด้านการออกแบบ พัฒนา และใช้อุปกรณ์ ระบบ และบริการที่สอดคล้องกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัยที่มีความซับซ้อนมากที่สุด เทลส์มีรากฐานที่แข็งแกร่งเป็นพิเศษในระดับสากล ด้วยการดำเนินงานร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรทั่วโลก
กรุณาเยี่ยมชม:
Thales Group [http://www.thalesgroup.com/en]
Thales Civil Aerospace [https://www.thalesgroup.com/en/worldwide/aerospace]
Thales Press [https://www.thalesgroup.com/en/group/press-room]
เกี่ยวกับไลอ้อน แอร์
ไลอ้อน แอร์ เริ่มธุรกิจในอินโดนีเซียเมื่อปี 2543 ด้วยเครื่องบินเพียงหนึ่งลำ และภายใน 8 ปีไลอ้อน แอร์ สามารถให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายกว่า 36 เมืองในอินโดนีเซียรวมถึงประเทศต่างๆ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม ด้วยฝูงบินใหม่ที่ทันสมัย ในฐานะที่เป็นสายการบินเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย ไลอ้อน แอร์ ได้ให้บริการด้วยราคาตั๋วที่ย่อมเยา พร้อมทั้งมอบความปลอดภัย ความอบอุ่น ความน่าเชื่อถือ และความสะดวกสบายให้แก่ผู้โดยสารในระหว่างการบิน
สื่อมวลชนติดต่อ
ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ของเทลส์
การบินพลเรือน
Giaime Porcu
+33 (0)1 57 77 92 18
giaime.porcu@thalesgroup.com