คลาเกนเฟิร์ต, ออสเตรีย--22 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
- ข้อมูลอ้างอิง: สามารถรับชมรูปภาพได้ที่ epa european pressphoto agency (http://www.epa.eu) และ http://www.presseportal.de/pm/105483 -
John Na Brown จากแคนาดาไม่เคยประสบกับอาการคิดถึงบ้าน เขามีความสุขดีที่ได้เดินทางไปทั่วยุโรปจากมหาวิทยาลัยหนึ่งไปยังอีกมหาวิทยาลัยหนึ่ง ถึงแม้ว่าเขายอมรับว่าคงจะดีเหมือนกันหากเขาสามารถถือกระเป๋าเล็กๆใบเดียวเพื่อย้ายที่
(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20141222/721443)
Ekaterina Peshkova จากรัสเซียเผยว่า เธอเป็นคนที่ชอบค้นคว้าหาสิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันเธอกำลังทำการวิจัยว่าด้วยระบบ multi-UAV (อากาศยานไร้คนขับ) ในเมืองคลาเกนเฟิร์ต โดยสิ่งที่เธอชอบที่สุดในโครงการ ICE ได้แก่โอกาสในการร่วมงานกับผู้คนจากหลากหลายวัฒนธรรม
สำหรับผู้ที่มาจากครอบครัวที่มีพื้นเพการศึกษาดีในปากีสถานอย่าง Raheeb Muzaffar เขาต้องการศึกษาต่อในต่างประเทศมาโดยตลอด แม้บางครั้งจะรู้สึกคิดถึงบ้านก็ตาม เขากล่าวพร้อมหัวเราะว่า “เราทุกคนต่างต้องละทิ้งสิ่งหนึ่งเพื่อคว้าสิ่งหนึ่ง จริงไหม” โดยในอนาคตนั้น เขาหวังว่าจะได้เป็นผู้ให้การสนับสนุนแก่ชุมชนวิจัยโลก
Chitra Hapsari Ayuningtyas จากเกาะชวา ทำงานด้านการรู้จำแบบ พ่อแม่ของเธอเป็นศิลปิน โดยเธอพยายามผสมผสานงานวิจัยของเธอเข้ากับศิลปะและการออกแบบ
Muhidul Islam Khan เติบโตขึ้นในเขตเมืองของบังคลาเทศ นอกเหนือจากงานวิจัยแล้ว เขารักการเขียน โดยเขาหวังที่จะผสมผสานกิจกรรมที่เขาชื่นชอบสองอย่างนี้ไว้ด้วยกันในอนาคต แม้ว่าเมืองเล็กๆอย่างคลาเกนเฟิร์ตนั้นดูแปลกตาสำหรับเขา แต่เขากล่าวว่า: “ลูกสาวของผมเกิดในเมืองคลาเกนเฟิร์ต ดังนั้นเมืองนี้จึงเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สอง เป็นสถานที่อันยอดเยี่ยมสำหรับทำงานและใช้ชีวิต”
โครงการ ICE - Interactive and Cognitive Environments
โครงการ Interactive and Cognitive Environments (ICE) ระดับปริญญาเอกประจำยุโรป มอบทุนวิจัยระยะเวลา 3 ปีแก่ผู้สมัคร เพื่อทำงานวิจัยและสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ผู้ได้รับทุนสามารถดำเนินงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยสองแห่งตามที่ระบุด้านล่าง:
- University of Genoa, อิตาลี
- Queen Mary University of London, อังกฤษ
- Universitat Politecnica de Catalunya, สเปน
- Technische Universiteit Eindhoven เนเธอร์แลนด์
- Alpen-Adria-Universitat Klagenfurt, ออสเตรีย
ด้วยความร่วมมือกับกองทุน Carinthian Economic Promotion Fund (KWF) ทาง Lakeside Labs ให้การสนับสนุนโครงการดังกล่าวผ่านการมอบเงินสนับสนุนทุนการศึกษาเพิ่มอีกสี่ทุนด้วยกัน
John Na Brown และ Alexander Gogolev เป็นนักวิจัยกลุ่มแรกที่สำเร็จการศึกษาในคลาเกนเฟิร์ต และจะมีนักวิจัยอีกหกรายตามมาในเร็วๆนี้ เมื่อพิจารณาถึงผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารและในการประชุมระดับนานาชาติ
Lakeside Labs เป็นศูนย์กลางด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมในวงการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ระบบเครือข่ายจัดการตนเอง
ระบบเครือข่ายจัดการตนเอง (Self-Organizing Networked Systems)
ไม่ว่าจะเป็นฝูงนก ฝูงปลา อาณาจักรมด หรือพืชพรรณประเภทต่างๆ ธรรมชาติล้วนแต่มีวิธีผสมผสานองค์ประกอบเล็กๆจนก่อตัวเป็นระบบขนาดใหญ่อย่างน่าทึ่ง ระบบธรรมชาตินั้นมีการกระจายตัวและสามารถจัดการได้ด้วยตนเอง ซึ่งแตกต่างไปจากระบบทางเทคนิค Lakeside Labs มีเป้าหมายที่จะบูรณาการแนวคิดด้านการจัดการตนเองเข้าไปในระบบเทคนิค ซึ่งจำเป็นต้องมีการคิดค้นแนวทางใหม่ๆด้านการออกแบบและการทำงานของระบบเครือข่าย โดยแนวทางใหม่ๆซึ่งผสมผสานแนวคิดด้านการจัดการตนเอง ที่ปรากฏให้เห็นจากกระบวนการทางธรรมชาติ เช่น การปรับโครงแบบ การปรับสภาพให้เหมาะสม การสมานแผล และคุณสมบัติอื่นๆ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางกระบวนทัศน์ในส่วนของการออกแบบและวิวัฒนาการของระบบไอซีที และอาจช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อปัญหาท้าทายอันซับซ้อน งานวิจัยที่ Lakeside Labs ให้ความสนใจคือ การคิดค้นโซลูชั่นด้านการจัดการตนเองในระบบเครือข่าย เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในขอบข่ายที่จะก่อให้เกิดผลกระทบอีนยิ่งใหญ่ต่อสังคม เช่น Internet of Things หรือระบบ Cyber-Physical Systems
ติดต่อ:
Christian Philipp | ฝ่ายสื่อสารวิทยาศาสตร์
+43-463-28704422 | philipp@lakeside-labs.com
+43-676-646-3572
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง:
http://www.lakeside-labs.com
http://www.AAU.at
http://www.icephd.org
แหล่งข่าว: Lakeside Labs