อินน์สบรูค, ออสเตรีย--8 ม.ค.--พีอาร์นิวสไวร์/อินโฟเควสท์
- สำหรับอ้างอิง: สามารถรับชมรูปภาพประกอบได้ทาง epa european pressphoto agency ( http://www.epa.eu ) และสามารถดาวน์โหลดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่http://www.presseportal.de/pm/62623/
วิทยาลัยวิศวกรรมแห่งชาติ (National Academy of Engineering) เปิดเผยว่า ดร. Ingeborg Hochmair ผู้บุกเบิกด้านวิศวกรรมชีวภาพและผู้ก่อตั้ง MED-EL Medical Electronics GmbH และศาสตราจารย์ Erwin Hochmair ได้รับรางวัล 2015 Fritz J. และรางวัล Dolores H. Russ Prize จากผลงานด้านการติดตั้งท่อโฆเคลียร์ที่สามารถช่วยให้ผู้ที่หูหนวกกลับมาได้ยินเสียง ร่วมกับศาสตราจารย์ Blake Wilson แห่งมหาวิทยาลัย Duke ที่ปรึกษาของ MED-EL และผู้อำนวยการสาขาแรกของ MED-EL ในสหรัฐ ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการในพื้นที่ในเมืองเดอร์แฮม รัฐนอร์ธแคโรไลนา, ศาสตราจารย์ Graeme Clark แห่งมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น, และศาสตราจารย์ Emeritus Michael Merzenich แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานฟานซิสโก
(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20150701/724065-a )
(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20150701/724065-b )
ประชาชนทุกวัยทั่วโลกกว่า 450,000 คนรู้สึกประทับใจ และในหลายรายมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป อันเป็นผลมาจากวิสัยทัศน์และการทำงานของนักวิจัย วิศวกร และแพทย์ผ่าตัดหลายท่าน การปลูกฝังท่อโฆเคลียร์จึงยังคงเป็นการเปลี่ยนระบบประสาทสัมผัสของมนุษย์เป็นครั้งแรก ซึ่งก็คือประสาทด้านการได้ยิน
ครอบครัว Hochmairs ได้รับผลพวงจากงานด้านวิศกรรมชีวภาพที่โดดเด่นซึ่งสามารถนำไปพัฒนาต่อในเรื่องการปลูกฝังท่อโฆเคลียร์
"ปัจจุบัน พันธกิจองค์กรของเรายังคงเป็นเช่นเดียวกับพันธกิจในช่วงเริ่มกิจการ นั่นก็คือ การเอาชนะการสูญเสียการได้ยินซึ่งเป็นอุปสรรคในการสื่อสารและคุณภาพชีวิต" Ingeborg กล่าว "ช่วงเวลาที่ผ่านมาที่มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบการปลูกฝังเครื่องช่วยฟังแบบหลายช่องทางได้เป็นครั้งแรกโดยวิศกรทีมเล็กๆนั้น ต่อมาทีมพัฒนาในปัจจุบันของเราประกอบไปด้วยวิศกรและแพทย์จำนวน 250 คน ซึ่งทั้งหมดทำงานด้วยใจรักที่ต้องการเห็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของระบบการปลูกฝังเครื่องช่วยฟังในผู้ป่วยปัจจุบันและผู้ป่วยรายใหม่"
"การออกแบบและการพัฒนาการติดตั้งเครื่องช่วยฟังในอนาคตเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และวิศกรรมหลายแขนง เช่น การออกแบบวงจร ไมโครอิเล็กทรอนิก วิศวกรรมคลื่นวิทยุ วิศวกรรมเครื่องกล วิทยาศาสตร์วัตถุดิบ เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาซอฟต์แวร์ และการได้ยินที่นอกเหนือไปจากความซับซ้อนทางชีวภาพด้านการทำงานที่เกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์" Erwin กล่าว "แต่อย่างไรก็ดี นี่เป็นมากกว่างานด้านวิศวกรรม การเปิดไปสู่โลกของการได้ยินเสียงของผู้ที่มีชีวิตอยู่ในความเงียบถือเป็นแนวความคิดที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเรื่องตลก น่าดีใจที่ทารกเกิดใหม่ เด็กๆ และผู้ใหญ่หลายรายจากทั่วโลกจะได้มีโอกาสอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีนี้ ซึ่งถือเป็นแนวความคิดที่เกิดขึ้นจริงแล้ว"
ความสำเร็จครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ในปี 2518 ดร. Ingeborg Hochmair ซึ่งเป็นวิศวกรไฟฟ้าและศาสตราจารย์ Erwin แห่งมหาวิทยาลัยเทคนิคในเวียนนาได้ริเริ่มพัฒนาการติดตั้งเครื่องช่วยฟังขึ้นในเวียนนาตามคำเรียกร้องของศาสตราจารย์ Kurt Burian ผู้อำนวยการ ENT-Clinic แห่งมหาวิทยาลัยเวียนนา เครื่องช่วยฟังดังกล่าวมี 8 ช่องทาง, อัตราการเต้นของชีพจร 10,000 ครั้งต่อนาทีต่อช่องทาง, แหล่งพลังงานอิสระ 8 ช่องทาง และอิเล็กโทรดที่มีความยืดหยุ่นขนาด 22-25 มม. สำหรับสอดเข้าไปยังท่อโฆเคลียร์ ซึ่งนำไปสู่การผ่าตัดเพื่อติดตั้งเครื่องช่วยฟังอิเล็กทรอนิกขนาดไมโครแบบหลายช่องทางได้เป็นครั้งแรกในเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2520 โดยมีศาสตราจารย์ Kurt Burian เป็นผู้ดำเนินการผ่าตัดในช่วงแรกๆ
การติดตั้งเครื่องช่วยฟังในอนาคต
ปัจจุบัน MED-EL เป็นผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีการปลูกฝังเพื่อการได้ยินเสียง การค้นพบการปลูกฝังหรือติดตั้งเครื่องช่วยฟังในช่วงก่อนหน้านี้ได้นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆด้านการรักษาผู้ที่สูญเสียการได้ยิน ซึ่งรวมถึงการจำลองเสียงด้วยไฟฟ้าและการปลูกถ่ายเซลล์สมองในส่วนรับเสียง ในขณะที่เรื่องดังกล่าวเคยมีข้อจำกัดในอดีต การติดตั้งเครื่องช่วยฟังได้ขยายตัวไปอย่างต่อเนื่องทั่วโลก แต่อย่างไรก็ดี ยังมีความจำเป็นอย่างมากในเรื่องการปรับปรุงการเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนหลายล้านคนทั่วโลกให้ดียิ่งขึ้น
ดร. Ingeborg กล่าวกับวิศกรชีวภาพและนักวิจัยว่า "เรามีชีวิตอยู่ในหนึ่งในช่วงที่เวลาที่น่าตื่นเต้นที่สุดในประวัติศาสตร์การวิจัยและพัฒนาด้านชีวการแพทย์ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับความเป็นไปได้สำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินและภาวะทางการแพทย์อื่นๆได้มีการขยายตัวขึ้นอย่างมาก สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ในยุคก่อนไม่เพียงแต่เป็นไปได้ในยุคนี้เท่านั้น แต่ยังกลายเป็นแนวปฏิบัติอย่างกว้างขวาง และยังต้องมีการพัฒนาและค้นคว้าอีกมากในอนาคต"
เกี่ยวกับ MED-EL
MED-EL Medical Electronics เป็นผู้ให้บริการระบบเครื่องช่วยฟังชั้นนำของโลก ก่อตั้งโดยสองนักวิทยาศาสตร์และผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมชาวออสเตรีย คือ Ingeborg และ Erwin Hochmair ซึ่งทั้งสองได้ร่วมกันพัฒนาประสาทหูเทียมไมโครอิเล็กทรอนิกส์แบบหลายช่องสัญญาณตัวแรกของโลกเมื่อปี 2520 โดยในปี 2533 พวกเขาได้จ้างพนักงานกลุ่มแรกเข้ามาทำงาน นับเป็นการวางรากฐานสู่ความสำเร็จในการเติบโตของกิจการ จนถึงปัจจุบัน บริษัทเอกชนแห่งนี้มีพนักงานกว่า 1,500 รายทั่วโลก ระบบติดตั้งเครื่องช่วยฟังของ MED-EL มอบของขวัญแห่งความสุขจากการได้ยินเสียงให้กับผู้คนในกว่า 100 ประเทศ
พันธกิจของ MED-EL คือ การเอาชนะการสูญเสียการได้ยินซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารและคุณภาพชีวิต บริษัทนำเสนอโซลูชั่นการปลูกฝังที่หลากหลายทั่วโลกเพื่อรักษาความบกพร่องด้านการได้ยินในระดับที่แตกต่างกันไป ซึ่งรวมถึงประสาทหูเทียม ระบบหูชั้นกลางเทียม เครื่องช่วยฟังชนิดเสียงผ่านทางกระดูก ไปจนถึงระบบประสาทหูเทียมผสมกับเครื่องช่วยฟัง http://www.medel.com
ครอบครัว Hochmairs และพนักงานทั้งหมดของ MED-EL ได้ร่วมแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัล Russ Prize ประจำปีนี้
ติดต่อ:
โทมัส เฮอร์แมนน์ (Thomas Herrmann)
MED-EL Medical Electronics
Fuerstenweg 77a
A - 6020 Innsbruck
โทร: +43(0)577-88-5182
อีเมล: press@medel.com
แหล่งข่าว: MED-EL