ลอนดอน--10 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
สิงคโปร์ขึ้นแท่นนำโด่ง ขณะที่จีนปรับตัวดีขึ้น ส่วนญี่ปุ่นยังคงทรงตัว และอินเดียยังคงพยายามอย่างหนัก
ผลการจัดอันดับครั้งที่ 7 ของ QS University Rankings: Asia ซึ่งมีการเปิดเผยผลรายชื่อในวันนี้ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.TopUniversities.com ชี้มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ หรือ NUS (National University of Singapore) รั้งตำแหน่งอันดับ 1 สถาบันการศึกษาชั้นนำในเอเชีย
(โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20140618/691283 )
ความสำเร็จของ NUS ครั้งนี้ ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยัง (Nanyang Technological University) ซึ่งไต่อันดับขึ้นมาอยู่ที่ 4 ถือเป็นอันดับสูงสุดของมหาวิทยาลัยด้วยเช่นกัน ขณะที่สิงคโปร์ครองแชมป์เหรียญทองได้อย่างมั่นคง ในขณะที่ศูนย์กลางด้านการศึกษาคู่แข่งอย่างฮ่องกงก็ไม่น้อยหน้า โดยมหาวิทยาลัยฮ่องกงครองเหรียญเงินในอันดับที่ 2 ของการจัดอันดับ ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกง (Hong Kong University of Science and Technology) (ลำดับที่ 5) ต่อด้วยมหาวิทยาลัยฮ่องกงของจีน (Chinese University of Hong Kong) (อันดับที่ 6) และมหาวิทยาลัยเมืองฮ่องกง (City University of Hong Kong) (ลำดับที่ 9) ขณะที่เกาหลีคว้าเหรียญทองแดงด้วยสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงเกาหลี (KAIST) (ลำดับที่ 3) ตามด้วยมหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซล (Seoul National University) (ลำดับที่ 8) และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโพฮัง Postech (ลำดับที่ 10)
ปี 2558 2557 Top 10
1 1 มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์
2 3 มหาวิทยาลัยฮ่องกง ฮ่องกง
3 2 สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงเกาหลี (KAIST) เกาหลีใต้
4 7 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยัง สิงคโปร์
5 5 มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกง ฮ่องกง
6 6 มหาวิทยาลัยฮ่องกงของจีน ฮ่องกง
7 8 มหาวิทยาลัยปักกิ่ง จีน
8 4 มหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซล เกาหลีใต้
9 11 มหาวิทยาลัยเมืองฮ่องกง ฮ่องกง
10 9 มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโพฮัง (POSTECH) เกาหลีใต้
(c)QS Quacquarelli Symonds 2004-2015 http://www.TopUniversities.com
สถาบันการศึกษาของจีน 25 แห่งติดอันดับ Top 100 และสถานศึกษา 16 แห่งในจำนวนนี้ของจีนมีอันดับดีขึ้นกว่าปีก่อน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการอ้างอิงงานวิจัยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก มหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Peking University) (ลำดับที่ 7) ขยับขึ้นมา 1 อันดับ ขณะที่มหาวิทยาลัยซิงหัว (Tsinghua University) (ลำดับที่ 11) ขยับขึ้นมา 3 ลำดับ
เบน ซอว์เตอร์ (Ben Sowter) หัวหน้าฝ่ายวิจัยของ QS ระบุว่า "สถาบันการศึกษาที่ติดอันดับของจีนส่วนมากนั้นมีการผลิตผลงานด้านการวิจัยมากขึ้น อันเป็นผลมาจากปริมาณการลงทุนทั้งในภาคเอกชน และภาครัฐที่น่าพึงพอใจ ซึ่งเป็นรองเพียงแค่สหรัฐเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งของจีนก็ยังคงมีความล้าหลังในแง่ของปริมาณการอ้างอิงถึงผลงานวิจัย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยเหล่านี้"
ในทางกลับกัน สถาบันการศึกษาของอินเดียจำนวน 9 แห่งมีชื่อติด Top 100 ของการจัดอันดับครั้งนี้ โดยสถาบันวิทยาศาสตร์อินเดีย (Indian Institute of Science) (ลำดับที่ 34) ได้เริ่มเข้ามาเป็นตัวแทนสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ขณะที่ญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศที่มีสถาบันการศึกษาติดอันดับมากที่สุดเป็นลำดับ 2 โดยมีสถานศึกษาติดอันดับทั้งสิ้น 68 แห่ง ตามหลังจีน ซึ่งปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาติดอันดับถึง 74 แห่ง มหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น 14 แห่งจากจำนวน 19 แห่งมีรายชื่อติดอันดับ Top 100 ซึ่งมีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับปี 2557 ด้านไต้หวันก็ยังคงพยายามผลักดันสถาบันของไต้หวันอย่างหนัก โดยมีสถาบันการศึกษาติดอันดับทั้งสิ้น 28 แห่ง โดย 12 แห่งในจำนวนนี้มีรายชื่อติด Top 100 ขณะที่มาเลเซียมีสถาบันการศึกษาติดอันดับ 21 แห่ง โดย 6 แห่งติดอันดับ Top 100 ส่วนประเทศอื่นๆที่มีสถาบันการศึกษาติดอันดับ Top 300 นั้นได้แก่ ไทย (11 แห่ง), ปากีสถาน (10 แห่ง), อินโดนีเซีย (7 แห่ง), เวียดนาม และบังคลาเทศ (2 แห่ง), ศรีลังกา, บรูไน และมาเก๊า (1 แห่ง)
แหล่งข่าว: QS Quacquarelli Symonds