การลงทะเบียน GARFIELD-AF เตรียมเผยข้อมูลเชิงลึกว่าด้วยทางเลือกในการรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF ในการประชุม ESC Congress 2015

ข่าวต่างประเทศ Thursday August 20, 2015 12:01 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

ลอนดอน--20 ส.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ - GARFIELD-AF เตรียมจัดการประชุมบรรยาย (satellite symposium) 1 ครั้ง และนำเสนอข้อมูลอีก 4 ครั้ง เพื่อแสดงให้เห็นรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดในชีวิตจริง รวมถึงผลลัพธ์ทางคลินิกในการรักษาผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF ผลการวิเคราะห์ล่าสุดจาก Global Anticoagulant Registry in the Field - Atrial Fibrillation (GARFIELD-AF) จะได้รับการนำเสนอในการประชุม ESC Congress 2015 ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม ถึง 2 กันยายน 2558 โดยการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับทางเลือกในการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF นั้น จะช่วยให้แพทย์มีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับผลของการใช้ยา Non-vitamin K Antagonist Oral Anticoagulant (NOAC) ที่มีต่อการรักษาและผลลัพธ์ทางคลินิกในการรักษาผู้ป่วยโดยรวมและผู้ป่วยเฉพาะกลุ่ม ข้อมูลการรักษาจริงที่ได้จากกลุ่มผู้ป่วยกว่า 40,000 ราย จะได้รับการนำเสนอในการประชุมบรรยาย (satellite symposium) 1 ครั้ง การนำเสนอด้วยวาจา 1 เรื่อง และการนำเสนอด้วยโปสเตอร์ 3 เรื่อง ได้แก่ การป้องกันเลือดแข็งตัวและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF: ข้อมูลในชีวิตจริงจากการลงทะเบียน GARFIELD-AF - การประชุมบรรยาย (satellite symposium) : สนับสนุนโดย Thrombosis Research Institute (TRI) - วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2558 เวลา 15.30-17.00 น. ณ ห้องประชุม Madrid - Village 4 คณะผู้เชี่ยวชาญจะกล่าวถึงความสำคัญของ GARFIELD-AF ที่มีต่อการวิจัยทางคลินิก พร้อมนำเสนอข้อมูลล่าสุดด้านการรักษาและผลการรักษาผู้ป่วยทั่วโลกโดยรวมและผู้ป่วยเฉพาะกลุ่ม การควบคุมยา Vitamin K Antagonist ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (3278) - การบรรยาย: การเกิดลิ่มเลือดอุดตันและการแข็งตัวของเลือด : ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ - วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2558 เวลา 11.37 น. ณ ห้องประชุม Tunis - Village 7 เปรียบเทียบค่า International Normalized Ratio (INR) ระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับ Vitamin K Antagonist (VKA) หลังจากที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ AF ในประเทศกลุ่มเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับผู้ป่วยในประเทศอื่นๆในการวิจัย GARFIELD-AF รูปแบบการใช้ยา Non-vitamin K Antagonist Oral Anticoagulant ในยุโรป: การวิเคราะห์จาก GARFIELD-AF Registry (P1513) - การนำเสนอด้วยโปสเตอร์ ส่วนที่ 2: หัวข้อเบ็ดเตล็ด - วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม 2558 เวลา 08.30-12.30 น. ณ พื้นที่จัดแสดงโปสเตอร์ เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการใช้ NOAC ของผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ AF ในกลุ่มประเทศยุโรป 9 ประเทศ วิวัฒนาการของการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF ในการวิจัย GARFIELD-AF (P4404) - การนำเสนอด้วยโปสเตอร์ ส่วนที่ 5: ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF และการใช้ยาป้องกันเลือดแข็งตัว - วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2558 เวลา 14.00-18.00 น. ณ พื้นที่จัดแสดงโปสเตอร์ วิวัฒนาการของการใช้ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ AF โดยวิเคราะห์จากลักษณะพื้นฐานและระดับความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และอาการเลือดออกรุนแรง โรคหลอดเลือดสมอง อาการเลือดออกรุนแรง และอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ AF ร่วมกับโรคไตเรื้อรังระดับปานกลางถึงรุนแรง: ผลการศึกษาจาก GARFIELD-AF (P5598) - การนำเสนอด้วยโปสเตอร์ ส่วนที่ 6: โรคหลอดเลือดสมอง - วันอังคารที่ 1 กันยายน 2558 เวลา 08.30-12.00 น. ณ พื้นที่จัดแสดงโปสเตอร์ เปรียบเทียบผลลัพธ์ภายหลังการใช้ยาป้องกันเลือดแข็งตัว ระหว่างผู้ป่วยที่มีภาวะ AF ร่วมกับโรคไตเรื้อรังระดับปานกลางถึงรุนแรง กับผู้ป่วยที่มีภาวะ AF ร่วมกับโรคไตเรื้อรังระดับไม่รุนแรงหรือไม่เป็นโรคไตเลย การนำเสนอข้อมูลเหล่านี้จะช่วยสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและครอบคลุมเกี่ยวกับความสำคัญของการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยที่มีภาวะ AF และท้ายที่สุดจะช่วยพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยทั่วโลก ข้อมูลพื้นฐานจากผู้ป่วยกว่า 40,000 รายบ่งชี้ว่า ปัจจุบันการดูแลผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยหลายรายนั้น ไม่สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติที่มีหลักฐานอ้างอิง โดยมีผู้ป่วยได้รับยาป้องกันเลือดแข็งตัวอย่างไม่เหมาะสมหรือไม่เพียงพอ แม้ว่ายากลุ่ม NOAC จะแพร่หลายมากขึ้นแล้วก็ตาม การดูแลผู้ป่วยอย่างไม่เหมาะสมจนส่งผลกระทบต่อการรักษาได้ก่อให้เกิดความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับ GARFIELD-AF Registry GARFIELD-AF เป็นโครงการวิจัยทางวิชาการอิสระ ซึ่งนำโดยคณะกรรมการอำนวยการนานาชาติและมีสถาบัน Thrombosis Research Institute (TRI) แห่งกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นผู้อุปถัมภ์ GARFIELD-AF เป็นการศึกษาผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF ในรูปแบบการวิจัยร่วมระหว่างสถาบันระดับนานาชาติหลายแห่ง ด้วยการติดตามอาการของผู้ป่วย 57,000 ราย จากสถาบันกว่า 1,000 แห่งใน 35 ประเทศ ทั้งในทวีปอเมริกา ยุโรปตะวันออกและตะวันตก เอเชีย แอฟริกา และออสเตรเลีย โดยผู้ป่วยเกือบ 45,000 รายได้เข้าร่วมการวิจัยต่อเนื่อง 4 รุ่น ในช่วงเดือนธันวาคม 2552 ถึงเดือนกรกฎาคม 2558 ส่วนการวิจัยรุ่นที่ 5 ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้ายได้เริ่มคัดเลือกผู้ป่วยเข้าร่วมเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2558 ปัจจุบัน ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะ AF อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้จากการทดลองทางคลินิกที่มีกลุ่มควบคุมหลายการทดลอง ซึ่งการทดลองเหล่านี้มีความสำคัญสำหรับการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของแนวทางการรักษาใหม่ๆ แต่ยังไม่สามารถแสดงถึงแนวการรักษาในชีวิตจริงได้ ดังนั้น จึงยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการจัดการโรคและภาระของโรคในชีวิตจริง GARFIELD-AF จะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลจากการใช้ยาป้องกันเลือดแข็งตัวที่มีต่อการเกิดเลือดออกและภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดที่พบในผู้ป่วยกลุ่มนี้ รวมทั้งช่วยให้กลุ่มผู้ป่วยและประชากรที่มีความแตกต่างหลากหลายมีความเข้าใจมากขึ้นถึงโอกาสในการยกระดับการรักษาและผลลัพธ์ทางคลินิก การศึกษาวิจัยนี้จะช่วยให้แพทย์และระบบบริการสุขภาพสามารถนำเอานวัตกรรมมาใช้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อรับประกันผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยและประชากร โครงการ GARFIELD-AF เริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคม 2552 โดยประกอบด้วย 4 ลักษณะหลักที่จะช่วยรับประกันว่า คำจำกัดความภาวะ AF จะมีความครอบคลุม ได้แก่ - การวิจัยต่อเนื่อง 5 รุ่น, ผู้ป่วยเพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ AF, การเปรียบเทียบระยะเวลาที่ชัดเจน รวมถึงการอธิบายวิวัฒนาการของการรักษาและผลลัพธ์ - สถานที่ทดลองที่คัดเลือกแบบสุ่มจากสถาบันรักษาผู้ป่วยภาวะ AF ระดับชาติที่มีอยู่หลายแห่ง เพื่อรับประกันว่าผู้ป่วยที่ได้รับการคัดเลือกจะเป็นตัวแทนของกลุ่มอย่างแท้จริง - เปิดรับผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอย่างต่อเนื่องโดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ป่วยได้รับการรักษามาอย่างไร เพื่อขจัดอคติในการคัดเลือก - ติดตามข้อมูลผู้ป่วยนานอย่างน้อย 2 ปี และสูงสุด 8 ปีหลังได้รับการวินิจฉัย เพื่อสร้างฐานข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับวิธีการรักษาและผลการรักษาในชีวิตจริง ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการต้องได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของลิ้นหัวใจ (non-valvular) ภายใน 6 สัปดาห์ก่อนที่จะเข้าร่วม และต้องมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองอย่างน้อยหนึ่งปัจจัย เช่น ผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มที่ควรได้รับการรักษาด้วยยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด เพื่อป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อนอันเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น โดยการระบุปัจจัยเสี่ยงนั้นขึ้นอยู่กับนักวิจัย ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ปัจจัยที่ใช้คำนวณคะแนนความเสี่ยงเท่านั้น ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการอาจได้รับการรักษาด้วยยาป้องกันเลือดแข็งตัวหรือไม่ก็ได้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับวิธีการรักษาและความล้มเหลวในการรักษาทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยพิจารณาจากความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละราย โครงการ GARFIELD-AF Registry ได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก Bayer Pharma AG (เบอร์ลิน, เยอรมนี) โดยไม่มีข้อจำกัดหรือข้อผูกมัด ภาระของโรค AF ทั่วโลกมีผู้ที่ป่วยด้วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF สูงถึงร้อยละ 2[1] โดยเป็นผู้ป่วยในยุโรปประมาณ 6 ล้านคน[2] ในสหรัฐ 3-5 ล้านคน[3][4] และในจีนถึง 8 ล้านคน[5][6] มีการประมาณการกันว่าจะมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยสองเท่าภายในปี 2593 ตามอายุที่เพิ่มขึ้นของประชากรโลก ภาวะ AF ทำให้ความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นห้าเท่า และหนึ่งในห้าของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมดมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะประเภทนี้ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากภาวะ AF จะถึงแก่ชีวิต และในกรณีที่ไม่เสียชีวิต ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะพิการสูงกว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากสาเหตุอื่นๆ และมีโอกาสพิการในระดับที่รุนแรงกว่า นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มกลับมาเป็นโรคสูงกว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอันเนื่องมาจากสาเหตุอื่นๆด้วย ดังนั้น ความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากภาวะ AF จึงมากกว่าถึงสองเท่า ขณะที่ค่ารักษาเพิ่มขึ้นร้อยละ 50[7] โรค AF เกิดขึ้นเมื่อหัวใจห้องบนปล่อยสัญญาณไฟฟ้าที่ไม่เข้ากัน ทำให้หัวใจห้องบนเต้นเร็วเกินไปและไม่เป็นจังหวะ ทำให้เลือดสูบฉีดไม่สมบูรณ์[8] ดังนั้น เลือดจึงสะสม จับตัวเป็นลิ่ม และทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุโรคหัวใจที่คร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดในโลก[9] หากลิ่มเลือดหลุดออกจากหัวใจห้องบน ลิ่มเลือดอาจไปอุดกั้นหลอดเลือดแดงตามส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งรวมถึงสมอง ลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดงในสมองอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยร้อยละ 92 ของการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองมีสาเหตุมาจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด[9] ผู้ที่มีภาวะ AF ยังมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว อ่อนเพลียเรื้อรัง และปัญหาการเต้นของหัวใจแบบอื่นๆ[10] โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียชีวิตและทุพพลภาพระยะยาวทั่วโลก โดยในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้ 6.7 ล้านคน[11] และพิการตลอดชีวิต 5 ล้านคน[12] เกี่ยวกับ TRI TRI เป็นองค์กรการกุศลและสถาบันวิจัยสหวิทยาการ ซึ่งอุทิศตนเพื่อการศึกษาภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดและโรคที่เกี่ยวข้อง ภารกิจของ TRI คือสร้างความเป็นเลิศด้านงานวิจัยและการศึกษาภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือด รวมถึงพัฒนากลยุทธ์ใหม่ๆในการป้องกันและรักษาภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือด อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการรักษา ยกระดับผลการรักษา และลดค่ารักษาพยาบาล ทั้งนี้ TRI เป็นสมาชิกของ University College London Partners' Academic Health Science Network สามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tri-london.ac.uk/garfield เอกสารอ้างอิง 1. Davis RC, Hobbs FD, Kenkre JE, et al. Prevalence of atrial fibrillation in the general population and in high-risk groups: the ECHOES study. Europace 2012; 14(11):1553-9. 6/16/15. Available at: http://europace.oxfordjournals.org/content/14/11/1553.long 2. The Lancet Neurology. Stroke prevention: getting to the heart of the matter. Lancet Neurol 2010; 9(2):129. 6/16/15. Available at: http://www.atrialfibrillation.org.uk/files/file/Articles_Medical/Lancet%20Neurology-%20getting%20to%20the%20heart%20of%20the%20matter.pdf 3. Naccarelli GV, Varker H, Lin J, et al. Increasing prevalence of atrial fibrillation and flutter in the United States. Am J Cardiol 2009; 104(11):1534-9. 4. Colilla S, Crow A, Petkun W, et al. Estimates of current and future incidence and prevalence of atrial fibrillation in the U.S. adult population. Am J Cardiol 2013; 112(8):1142-7. 6/16/15. Available at: http://www.ajconline.org/article/S0002-9149(13)01288-5/fulltext 5. Zhou Z, Hu D. An epidemiological study on the prevalence of atrial fibrillation in the Chinese population of mainland China. J Epidermiol 2008; 18(5):209-16. 6/16/15. Available at: https://www.jstage.jst.go.jp/article/jea/18/5/18_JE2008021/_pdf 6. Hu D, Sun Y. Epidemiology, risk factors for stroke, and management of atrial fibrillation in China. JACC 2008; 52(10):865-8. 6/16/15. Available at: http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0735109708021141 7. European Heart Rhythm Association; European Association for Cardio-Thoracic Surgery, Camm AJ, Kirchhof P, Lip GY, et al. Guidelines for the management of atrial fibrillation: the Task Force for the Management of Atrial Fibrillation of the European Society of Cardiology (ESC). 8/22/14. Eur Heart J 2010; 31(19):2369-429. 6/16/15. Available at: http://eurheartj.oxfordjournals.org/content/early/2010/09/25/eurheartj.ehq278.full 8. National Heart, Lung, and Blood Institute. What is Atrial Fibrillation? 6/16/15. Available at: http://www.nhlbi.nih.gov/health/dci/Diseases/af/af_what.html 9. International Society on Thrombosis and Haemostasis. About World Thrombosis Day. Available at: http://www.worldthrombosisday.org/about/ 10. American Heart Association. Why Atrial Fibrillation (AF or AFib) Matters. 8/22/14. Available at: http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/Arrhythmia/AboutArrhythmia/Why-Atrial-Fibrillation-AF-or-AFib-Matters_UCM_423776_Article.jsp 11. World Health Organization. The top 10 causes of death. Fact sheet N°310. Updated May 2014. 6/16/15. Available at: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs310/en/ 12. World Heart Federation. The global burden of stroke. 6/16/15. Available at: http://www.world-heart-federation.org/cardiovascular-health/stroke/ แหล่งข่าว: Thrombosis Research Institute

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ