ASIANET: อินโดไชน่าโกลด์ฟิลด์เตรียมเดินหน้าระดมทุนหนุนโครงการเหมืองทอง

ข่าวต่างประเทศ Tuesday November 18, 1997 15:51 —Asianet Press Release

สิงคโปร์--18 พ.ย.--ซีเอ็นดับบลิว-เอเชียเน็ท
นายอาร์. เอ็ดเวิร์ด ฟลัด ประธาน และนายโรเบิร์ต เอ็ม. ฟรีดแลนด์ ประธานกรรมการบริษัทอินโดไชน่า โกลด์ฟิลด์ มีความยินดีที่จะประกาศถึงการได้รับรายงานด้านวิศวกรรมและแผนการผลิตขั้นสุดท้ายสำหรับการพัฒนาโครงการเหมืองทองบาเคียร์ชิคระยะที่ 1 ในคาซัคสถาน โดยรายงานดังกล่าวได้สรุปว่า ในระยะแรกของโครงการนี้จะสามารถผลิตทองได้ 125,000 ออนซ์/ปี
นายฟลัดได้กล่าวว่า เนื่องจากมีรายงานดังกล่าวแล้ว ขณะนี้เราจะดำเนินการต่อไปในการระดมทุนสนับสนุนและเริ่มกำหนดตารางเวลาการก่อสร้างเป็นระยะเวลา 18 เดือนในแผนดังกล่าว โดยเราคาดว่าจะได้ผลผลิตทองครั้งแรกที่เหมืองบาเคียร์ชิคในครึ่งหลังของปี 1999 ซึ่งรายงานนี้ที่เตรียมโดยบริษัทคเวอร์เนอร์ เมทัลส์ เดวี่ ในโตรอนโต้ ได้เสนอความคืบหน้าของงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้วในแผนการศึกษาความเป็นไปได้ที่เตรียมโดยบริษัทมินพร็อค เอ็นจิเนียร์สในเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลียในเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว และได้ตั้งเกณฑ์ทางด้านวิศวกรรมและการดำเนินการในการก่อสร้างโครงการนี้
แผนการผลิตนั้นจะอิงตามคาดการณ์การดำเนินการดังต่อไปนี้:
- จะมีการใช้กำลังการผลิตขั้นสูงสุดจากสาธารณูปโภค, สิ่งอำนวยความสะดวก และอุปกรณ์
- จะมีการทำเหมืองแร่ 512,500 ตัน/ปีจากการดำเนินงานเหมืองแร่ใต้ดินในปัจจุบัน
- แร่จำนวน 150,000 ตัน จะถูกลดจำนวนลงเหลือปริมาณแร่บริสุทธิ์ 37,500 ตัน โดยการใช้วงจร flotation circuit ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
- แร่บริสุทธิ์จะถูกรวมเข้ากับแร่ที่เหลือ 362,500 ตัน
- กระแสน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตจะนำไปผ่านกระบวนการโดยใช้ระบบ fluid-bed roaster ที่มี 2 ขั้นตอน ตามด้วยการผ่านกระบวนการด้วยวงจรกรองไซยาไนด์
ผลที่ได้คือการผลิตทองคำประมาณ 120,000-130,000 ออนซ์/ปี โดยมีต้นทุนต่ำเป็นเวลา 15 ปี ซึ่งรายงานของบริษัทคเวอร์เนอร์นั้นได้ประมาณว่า โครงการนี้จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเป็นเงินสดที่ระดับต่ำกว่า 200 ดอลล่าร์/ออนซ์ในช่วง 5 ปีแรก และมีระดับเฉลี่ยอยู่ที่ 214 ดอลล่าร์/ออนซ์ในระยะเวลารายงาน 15 ปี โดยต้นทุนเป็นเงินสดนี้เมื่อรวมกับเงินทุนที่ประมาณไว้ที่ระดับ 100 ล้านดอลล่าร์ จะทำให้มีอัตราผลตอบแทนภายในที่ระดับ 18.5 % ในราคาทองคำที่ระดับ 362.50 ดอลล่าร์สหรัฐ/ออนซ์
นายฟลัดได้กล่าวว่า "โครงการนี้ไม่ใช่โครงการเหมืองแร่ใหม่ที่ไม่มีประสพการณ์ ซึ่งเหมืองทองบาเคียร์ชิคนั้นมีสาธารณูปโภคมากมาย และมีการพัฒนาเหมืองใต้ดิน นอกจากนี้ ยังมีกำลังแรงงานที่ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา สามารถสร้างผลผลิตได้ 150,000 ตัน ซึ่งได้เก็บรักษาไว้ในปัจจุบัน เพื่อรอให้โรงงานการผลิตแล้วเสร็จ"
"รายงานของบริษัทคเวอร์เนอร์ได้แสดงว่า โครงการดังกล่าวมีความเหมาะสมทั้งทางเทคนิคและทางเศรษฐกิจ แม้แต่ในตลาดทองคำที่ซบเซาในปัจจุบัน โดยฝ่ายบริหารของบริษัทอินโดไชน่า โกลด์ฟิลด์ได้คาดว่าการลดลงเมื่อไม่นานมานี้ของราคาทองคำแท่ง และ put options จะทำให้ราคาฟลอร์ขั้นต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 362.50 ดอลล่าร์/ออนซ์ต่อการผลิตทองคำ 1 ล้านออนซ์ ซึ่งถ้าทางบริษัทใช้ put options เป็นเครื่องมือในการทำเฮดจ์ ทางบริษัทก็จะยังคงมีโอกาสที่จะขายผลผลิตล่วงหน้าจากเหมืองแร่ในราคาที่สูงขึ้น เมื่อตลาดทองฟื้นตัวขึ้น"
หลังจากที่มีการประเมินวัสดุทดแทนอื่นๆที่จะนำมาใช้ในการผ่านกระบวนการที่เหมืองบาเคียร์ชิค รายงานดังกล่าวก็ได้สรุปว่า ระบบ fluid-bed roasting ซึ่งเป็นระบบหมุนเวียน จะทำให้ทองคืนสภาพสูงสุด โดยงานทดสอบโลหะของบริษัทลัวร์จิ เมทัลเลอร์จี ในแฟรงค์เฟิร์ต ได้บ่งชี้ว่า การใช้เทคโนโลยีนี้จะสามารถทำให้ทองคืนสภาพประมาณ 90 %
"เป้าหมายของรายงานนี้คือการทำให้ทางเหมืองสามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้เป็นจำนวนมาก โดยใช้สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน, สิ่งอำนวยความสะดวก และอุปกรณ์ที่มีอยู่มากเท่าที่จะเป็นไปได้" ซึ่งนายฟลัดได้กล่าวว่า "เราเชื่อว่าการวางแผนนี้ที่มีความตระหนักเกี่ยวกับเงินทุน เป็นที่ต้องการของภาวะตลาดในปัจจุบัน โดยในอนาคตนั้นทางเหมืองจะมีความสามารถในการขยายการดำเนินงานไปกว้างไกล ซึ่งในที่สุดอาจจะทำให้มีผลผลิตทองคำสูงถึง 600,000 ออนซ์/ปี ซึ่งอัตราการผลิตนี้จะเริ่มทำให้เห็นถึงศักยภาพของแหล่งผลิตขนาดใหญ่และมีคุณภาพที่เหมืองนี้ ที่ในปัจจุบันให้ผลผลิตมากกว่า 13 ล้านออนซ์
รายงานของบริษัทคเวอร์เนอร์นั้นได้มาจากการพิจารณาแหล่งผลิตในปริมาณ 7.45 ล้านออนซ์ที่ได้มีการตรวจสอบแล้วภายในพื้นที่การศึกษาความเป็นไปได้ (ดีเอฟเอส) ตามที่คำนวณโดยบริษัทมินพร็อค เอ็นจิเนียร์ส โดยภายในแหล่งแร่นี้ได้มีการคำนวณถึงบ่อแร่เกรด 7.90 g/t ในปริมาณ 9 ล้านตันที่ได้มีการตรวจสอบแล้ว โดยใช้เกรด 4.48 g/t ในการแยกผลผลิตที่จะให้ผลผลิตทองคำคืนสภาพ 2.01 ล้านออนซ์
ทั้งนี้ ในปัจจุบันบริษัทอินโดไชน่า โกลฟิลด์ถือหุ้นโดยตรง 80 % ในเหมืองทองบาเคียร์ชิค ผ่านทางหุ้นส่วนร่วมทุนรายหนึ่งที่ได้มีการปรับโครงสร้างเมื่อไม่นานมานี้ ของบริษัทบีเคจี รีซอร์ซ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นอดีตบริษัทบาเคียร์ชิค โกลด์ จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ บริษัทอินโดไชน่า โกลด์ฟิลด์ยังเป็นผู้ประกอบการเหมืองแร่ โดยทางบริษัทยังคงถือหุ้น 27.9 % ในบริษัทบีเคจี รีซอร์ส ที่ทำให้ทางบริษัทถือครองหุ้นโดยทางอ้อมอีก 6 % ในเหมืองบาเคียร์ชิค
นอกจากนี้ บริษัทอินโดไชน่า โกลด์ฟิลด์ยังมีโครงการในระยะแรกของเหมือง SX-EW ต้นทุนต่ำที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างในเมียนม่าร์ที่จะให้ผลผลิตทองแดงขั้วบวกในอัตรา 25,000 ตัน/ปีภายในกลางปีหน้า ส่วนสินทรัพย์อื่นๆได้รวมถึงเหมืองทองคำและเหมืองทองแดง รวมทั้งผลประโยชน์อื่นๆในอินโดนีเซีย, เมียนม่าร์, เกาหลีใต้, เวียดนาม และฟิจิ โดยหุ้นของทางบริษัทนั้นมีการซื้อขายกันที่ตลาดหลักทรัพย์โตรอนโต้ และตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียภายใต้สัญลักษณ์ ING สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับทางบริษัทและโครงการต่างๆของทางบริษัทนั้นจะเรียกดูได้จากเว็บไซท์ของทางบริษัทที่รหัส http://www.goldfields.com. --จบ--
--บิสนิวส์แปลและเรียบเรียง-สจ/กก--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ