ลอนดอน--1 ก.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
- ข้อมูลเวชระเบียนจาก GARFIELD-AF ที่สมบูรณ์และครอบคลุม ได้ถูกนำเสนอ ณ การประชุม ESC Congress 2015 เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิวัฒนาการของการรักษาโรค AF ในชีวิตจริงทั่วโลก
ผลการศึกษาระยะเวลา 2 ปีจาก Global Anticoagulant Registry in the Field - Atrial Fibrillation (GARFIELD-AF) ที่ได้รับการนำเสนอในการประชุม ESC Congress 2015 เผยให้เห็นว่า การเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ (all-cause death) เป็นผลพวงที่พบมากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF จำนวนกว่า 17,000 ราย ซึ่งพบมากกว่าโรคหลอดเลือดสมองหรือภาวะเลือดออกรุนแรง โดยผลการศึกษาระยะเวลา 2 ปีจากรุ่น 1 และรุ่น 2 ได้แสดงให้เห็นถึงอัตราการเสียชีวิตที่ 3.83% ต่อปีคน (person year) เมื่อเทียบกับอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองที่ 1.25% ต่อปีคน และการเกิดภาวะเลือดออกรุนแรงที่ 0.70% ต่อปีคน[1]
(โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20150827/261748LOGO )
ขณะเดียวกัน ผลการศึกษาเพิ่มเติมระยะเวลา 1 ปี ในผู้ป่วย AF รุ่นที่ 1-3 จำนวนกว่า 28,0000 ราย ยังแสดงให้เห็นว่า โรคที่เกิดร่วม (comorbidity) มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มอัตราการเสียชีวิต การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และการเกิดภาวะเลือดออกรุนแรง โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังระดับปานกลางถึงรุนแรงและผู้มีประวัติกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดร่วมด้วย จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่ากลุ่มประชากรโดยทั่วไปอย่างมาก (9.4% และ 6.9% ตามลำดับ เทียบกับ 4.0%)[1] ศาสตราจารย์แซม โกลด์ฮาเบอร์ จาก Harvard Medical School และ Brigham and Women's Hospital กล่าวว่า "ข้อมูลจาก GARFIELD-AF บ่งชี้ถึงบทบาทความสำคัญของโรคร่วมในการคาดการณ์ผลการรักษาผู้ป่วย ทั้งยังช่วยให้แพทย์มีแนวทางในการรักษาโรค AF ด้วย ผลลัพธ์ดังกล่าวบ่งชี้ว่า แพทย์ควรจะพิจารณาเพิ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือดให้กับผู้ป่วย AF ที่มีโรคร่วมเหล่านี้"
ข้อมูลเชิงลึกจากผู้ป่วย AF เกือบ 40,000 รายจากการวิจัย GARFIELD-AF ทั้ง 4 รุ่น ระหว่างปี 2553-2558 แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงแนวทางการรักษาโรค AF ทั่วโลก โดยผู้ป่วยที่เริ่มรับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองนั้น เพิ่มขึ้นจาก 57.4% เป็น 71.1% ส่วนการใช้ยา Vitamin K Antagonist (VKA) และยาต้านเกล็ดเลือด (อย่างใดอย่างหนึ่งหรือร่วมกัน) ลดลงจาก 83.4% มาอยู่ที่ 50.6% ในขณะที่การใช้ยา Non-vitamin K Antagonist Oral Anticoagulant (NOAC) อย่างเดียวหรือร่วมกับยาต้านเกล็ดเลือด เพิ่มขึ้นจาก 4.1% เป็น 37.0%[1] ศาสตราจารย์ศัลยศาสตร์ เอเจย์ แคักคาร์ จาก University College London และผู้อำนวยการสถาบัน Thrombosis Research Institute กล่าวว่า "วิวัฒนาการของรูปแบบการรักษามีความสอดคล้องกับการนำเอานวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ดี ความท้าทายที่ยังเหลืออยู่ก็คือ การสร้างความมั่นใจว่าผู้ป่วยแต่ละคนจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม"
ศาสตราจารย์จอห์น คัมม์ จาก St George's University ในลอนดอน ได้อธิบายถึงรูปแบบการรักษาที่พบใน GARFIELD-AF เพิ่มเติมว่า "เราจะเห็นได้ว่ามีการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดอย่างเหมาะสมมากขึ้นในภาพรวม แต่ข้อมูลจาก GARFIELD-AF ก็แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างมากในการใช้ยา NOAC ในแต่ละประเทศ โดยผลการวิเคราะห์ผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ AF รุ่นที่ 1-3 จำนวนกว่า 20,000 รายทั่วยุโรป พบว่าอัตราความแตกต่างในการใช้ยา NOAC อยู่ระหว่าง 2.6% ถึง 58.0%[2] ทั้งนี้ ข้อมูลเชิงลึกที่ยังคงมีการรวบรวมอย่างต่อเนื่องจากสถาบันต่างๆในหลายประเทศ จะช่วยให้แพทย์มีความเข้าใจมากขึ้นถึงวิธีการปรับปรุงการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ AF"
GARFIELD-AF เป็นการลงทะเบียนครั้งใหญ่ที่สุดและใช้เวลายาวนานที่สุด เพื่อบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ AF และมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองอย่างน้อยหนึ่งปัจจัย GARFIELD-AF ยังคงเดินหน้ารวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากการรักษาจริง ซึ่งถือเป็นหลักฐานในชีวิตจริงที่จะช่วยให้ความรู้และช่วยให้วงการแพทย์สามารถนำไปปรับปรุงการรักษาผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก GARFIELD-AF จำแนกตามภูมิภาคและผู้ป่วยเฉพาะกลุ่ม ได้รับการนำเสนอ ณ การประชุม ESC Congress 2015
การควบคุมยา Vitamin K Antagonist ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [3]
ข้อมูลเชิงลึกจาก GARFIELD-AF แสดงให้เห็นว่ามีการส่งตรวจค่า INR ที่น้อยกว่า ระยะเวลาระหว่างการตรวจค่า INR นานกว่า และพบว่าค่า INR ของผู้ป่วยในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ในระดับต่ำกว่า (n=3,627) เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆในภูมิภาคอื่นของโลก (n=13,546) โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ AF และได้รับยา VKA มีดังนี้
- ค่า INR ที่ต่ำกว่า โดยส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับ 2.0 ซึ่งเป็นแนวโน้มที่พบเห็นในทุกกลุ่มอายุ
- การใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดกับผู้ป่วยที่มีคะแนน CHA2DS2-VASc ตั้งแต่ 2 ขึ้นไปนั้น มีอัตราต่ำกว่า
อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะเลือดออกรุนแรง และการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ AF และเป็นโรคไตเรื้อรังระดับปานกลางถึงรุนแรง: ผลลัพธ์จาก GARFIELD-AF[4]
ผลการศึกษาระยะเวลา 1 ปีในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะ AF จำนวน 17,159 ราย แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังระดับปานกลางถึงรุนแรง (n=1,760) กับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระดับไม่รุนแรงหรือไม่เป็นโรคไตเลย (n=15,399) ดังนี้
- โรคไตเรื้อรังระดับปานกลางถึงรุนแรง มีส่วนทำให้อัตราการเสียชีวิตและการเกิดภาวะเลือดออกรุนแรงเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า และอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 1.4 เท่า
- มีการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดถี่ขึ้นในผู้ป่วยที่มีโรคไตเรื้อรังระดับปานกลางถึงรุนแรง
- การเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราการเสียชีวิตและภาวะเลือดออกรุนแรงใน GARFIELD-AF จะช่วยให้ได้รับข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นเกี่ยวกับการสร้างสมดุลระหว่างประโยชน์และความเสี่ยงของการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะ AF และเป็นโรคไตเรื้อรังร่วมด้วย
เกี่ยวกับ GARFIELD-AF Registry
GARFIELD-AF เป็นโครงการวิจัยทางวิชาการอิสระ ซึ่งนำโดยคณะกรรมการอำนวยการนานาชาติและมีสถาบัน Thrombosis Research Institute (TRI) แห่งกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นผู้อุปถัมภ์
GARFIELD-AF เป็นการศึกษาผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF ในรูปแบบการวิจัยร่วมระหว่างสถาบันระดับนานาชาติหลายแห่ง ด้วยการติดตามอาการของผู้ป่วย 57,000 ราย จากสถาบันกว่า 1,000 แห่งใน 35 ประเทศ ทั้งในทวีปอเมริกา ยุโรปตะวันออกและตะวันตก เอเชีย แอฟริกา และออสเตรเลีย โดยผู้ป่วยเกือบ 45,000 รายได้เข้าร่วมการวิจัยต่อเนื่อง 4 รุ่น ในช่วงเดือนธันวาคม 2552 ถึงเดือนกรกฎาคม 2558 ส่วนการวิจัยรุ่นที่ 5 ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้ายได้เริ่มคัดเลือกผู้ป่วยเข้าร่วมเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2558
ปัจจุบัน ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะ AF อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้จากการทดลองทางคลินิกที่มีกลุ่มควบคุมหลายการทดลอง ซึ่งการทดลองเหล่านี้มีความสำคัญสำหรับการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของแนวทางการรักษาใหม่ๆ แต่ยังไม่สามารถแสดงถึงแนวการรักษาในชีวิตจริงได้ ดังนั้น จึงยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการจัดการโรคและภาระของโรคในชีวิตจริง GARFIELD-AF จะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลจากการใช้ยาป้องกันเลือดแข็งตัวที่มีต่อการเกิดเลือดออกและภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดที่พบในผู้ป่วยกลุ่มนี้ รวมทั้งช่วยให้กลุ่มผู้ป่วยและประชากรที่มีความแตกต่างหลากหลายมีความเข้าใจมากขึ้นถึงโอกาสในการยกระดับการรักษาและผลลัพธ์ทางคลินิก การศึกษาวิจัยนี้จะช่วยให้แพทย์และระบบบริการสุขภาพสามารถนำเอานวัตกรรมมาใช้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อรับประกันผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยและประชากร
โครงการ GARFIELD-AF เริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคม 2552 โดยประกอบด้วย 4 ลักษณะหลักที่จะช่วยรับประกันว่า คำจำกัดความภาวะ AF จะมีความครอบคลุม ได้แก่
- การวิจัยต่อเนื่อง 5 รุ่น, ผู้ป่วยเพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ AF, การเปรียบเทียบระยะเวลาที่ชัดเจน รวมถึงการอธิบายวิวัฒนาการของการรักษาและผลลัพธ์
- สถานที่ทดลองที่คัดเลือกแบบสุ่มจากสถาบันรักษาผู้ป่วยภาวะ AF ระดับชาติที่มีอยู่หลายแห่ง เพื่อรับประกันว่าผู้ป่วยที่ได้รับการคัดเลือกจะเป็นตัวแทนของกลุ่มอย่างแท้จริง
- เปิดรับผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอย่างต่อเนื่องโดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ป่วยได้รับการรักษามาอย่างไร เพื่อขจัดอคติในการคัดเลือก
- ติดตามข้อมูลผู้ป่วยนานอย่างน้อย 2 ปี และสูงสุด 8 ปีหลังได้รับการวินิจฉัย เพื่อสร้างฐานข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับวิธีการรักษาและผลการรักษาในชีวิตจริง
ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการต้องได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของลิ้นหัวใจ (non-valvular) ภายใน 6 สัปดาห์ก่อนที่จะเข้าร่วม และต้องมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองอย่างน้อยหนึ่งปัจจัย เช่น ผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มที่ควรได้รับการรักษาด้วยยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด เพื่อป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อนอันเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น โดยการระบุปัจจัยเสี่ยงนั้นขึ้นอยู่กับนักวิจัย ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ปัจจัยที่ใช้คำนวณคะแนนความเสี่ยงเท่านั้น ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการอาจได้รับการรักษาด้วยยาป้องกันเลือดแข็งตัวหรือไม่ก็ได้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับวิธีการรักษาและความล้มเหลวในการรักษาทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยพิจารณาจากความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละราย
โครงการ GARFIELD-AF Registry ได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก Bayer Pharma AG (เบอร์ลิน, เยอรมนี) โดยไม่มีข้อจำกัดหรือข้อผูกมัด
ภาระของโรค AF
ทั่วโลกมีผู้ที่ป่วยด้วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF สูงถึงร้อยละ 2[5] โดยเป็นผู้ป่วยในยุโรปประมาณ 10 ล้านคน[6] ในสหรัฐ 5.1 ล้านคน[7] และในจีนถึง 8 ล้านคน[8][9] มีการประมาณการกันว่าจะมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้เพิ่มขึ้นราว 2.5 เท่าภายในปี 2593[10] ตามอายุที่เพิ่มขึ้นของประชากรโลก[11] ภาวะ AF ทำให้ความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นห้าเท่า[12] และหนึ่งในห้าของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมดมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะประเภทนี้[13] บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากภาวะ AF จะถึงแก่ชีวิต และในกรณีที่ไม่เสียชีวิต ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะพิการสูงกว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากสาเหตุอื่นๆ และมีโอกาสพิการในระดับที่รุนแรงกว่า นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มกลับมาเป็นโรคสูงกว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอันเนื่องมาจากสาเหตุอื่นๆด้วย ดังนั้น ความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากภาวะ AF จึงมากกว่าถึงสองเท่า ขณะที่ค่ารักษาเพิ่มขึ้นร้อยละ 50[14]
โรค AF เกิดขึ้นเมื่อหัวใจห้องบนปล่อยสัญญาณไฟฟ้าที่ไม่เข้ากัน ทำให้หัวใจห้องบนเต้นเร็วเกินไปและไม่เป็นจังหวะ ทำให้เลือดสูบฉีดไม่สมบูรณ์[15] ดังนั้น เลือดจึงสะสม จับตัวเป็นลิ่ม และทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุโรคหัวใจที่คร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดในโลก[16] หากลิ่มเลือดหลุดออกจากหัวใจห้องบน ลิ่มเลือดอาจไปอุดกั้นหลอดเลือดแดงตามส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งรวมถึงสมอง ลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดงในสมองอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยร้อยละ 92 ของการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองมีสาเหตุมาจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด[17] ผู้ที่มีภาวะ AF ยังมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว อ่อนเพลียเรื้อรัง และปัญหาการเต้นของหัวใจแบบอื่นๆ[18] โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียชีวิตและทุพพลภาพระยะยาวทั่วโลก โดยในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้ 6.7 ล้านคน[16] และพิการตลอดชีวิต 5 ล้านคน[19]
เกี่ยวกับ TRI
TRI เป็นองค์กรการกุศลและสถาบันวิจัยสหวิทยาการ ซึ่งอุทิศตนเพื่อการศึกษาภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดและโรคที่เกี่ยวข้อง ภารกิจของ TRI คือสร้างความเป็นเลิศด้านงานวิจัยและการศึกษาภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือด รวมถึงพัฒนากลยุทธ์ใหม่ๆในการป้องกันและรักษาภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือด อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการรักษา ยกระดับผลการรักษา และลดค่ารักษาพยาบาล ทั้งนี้ TRI เป็นสมาชิกของ University College London Partners' Academic Health Science Network
สามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tri-london.ac.uk/garfield
เอกสารอ้างอิง
1) Kakkar A.J. (2015, August). Anticoagulation and AF: real life data from the GARFIELD-AF registry. Symposium conducted at ESC Congress 2015, London, United Kingdom.
2) Camm A.J., Ambrosio G., Atar D., et al. Patterns of uptake of non-vitamin K antagonist oral anticoagulants in Europe: an analysis from the GARFIELD-AF registry. Poster session presented at ESC Congress 2015, London, United Kingdom.
3) Goto S., Angchaisuksiri P., Camm A.J., et al. Vitamin K antagonist control in Eastern and Southeastern Asia. Oral session presented at ESC Congress 2015, London, United Kingdom.
4) Goto S., Atar D., Bassand J.P., et al. Stroke, major bleeding and mortality in newly diagnosed atrial fibrillation with moderate-to-severe chronic kidney disease: Results from GARFIELD-AF. Poster session presented at ESC Congress 2015, London, United Kingdom.
5) Davis R.C., Hobbs F.D., Kenkre J.E., et al. Prevalence of atrial fibrillation in the general population and in high-risk groups: the ECHOES study. Europace 2012; 14(11) :1553-9. 6/16/15. Available at: http://europace.oxfordjournals.org/content/14/11/1553.long .
6) Stefansdottir H., Aspelund T., Gudnason V. et al. Trends in the incidence and prevalence of atrial fibrillation in Iceland and future projections. Europace. 2011; 13(8): 1110-7
7) Miyasaka Y., Barnes M.E., Gersh B.J., et al. Secular Trends in Incidence of Atrial Fibrillation in Olmsted County, Minnesota, 1980 to 2000, and Implications on the Projections for Future Prevalence, Circulation. 2006;114,(2)119-125
8) Zhou Z., Hu D. An epidemiological study on the prevalence of atrial fibrillation in the Chinese population of mainland China. J Epidermiol 2008; 18(5):209-16. 6/16/15. Available at: https://www.jstage.jst.go.jp/article/jea/18/5/18_JE2008021/_pdf .
9) Hu D., Sun Y. Epidemiology, risk factors for stroke, and management of atrial fibrillation in China. JACC 2008; 52(10):865-8. 6/16/15. Available at: http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0735109708021141 .
10) Go A.S., Hylek E.M., Phillips K.A., et al. Prevalence of Diagnosed Atrial Fibrillation in Adults, JAMA. 2001;285,(18)2370-2375
11) United Nations. World Population Ageing. 2009. Available at: http://www.un.org/esa/population/publications/WPA2009/WPA2009-report.pdf . Accessed January 2015
12) Kannel W.B., Wolf P.A., Benjamin E.J., et al. Prevalence, incidence, prognosis, and predisposing conditions for atrial fibrillation: population-based estimates. Am J Cardiol. 1998;82(8A):2N-9N
13) Atrial Fibrillation Society. The AF Report Atrial Fibrillation: Preventing a Stroke Crisis. Available at http://www.preventaf-strokecrisis.org/files/files/The%20AF%20Report%2014%20April%202012.pdf . Accessed January 2015
14) European Heart Rhythm Association; European Association for Cardio-Thoracic Surgery, Camm A.J , Kirchhof P., Lip G.Y., et al. Guidelines for the management of atrial fibrillation: the Task Force for the Management of Atrial Fibrillation of the European Society of Cardiology (ESC). 8/22/14. Eur Heart J 2010; 31(19):2369-429. 6/16/15. Available at: http://eurheartj.oxfordjournals.org/content/early/2010/09/25/eurheartj.ehq278.full .
15) National Heart, Lung, and Blood Institute. What is Atrial Fibrillation? 6/16/15. Available at: http://www.nhlbi.nih.gov/health/dci/Diseases/af/af_what.html .
16) World Health Organization. The top 10 causes of death. Fact sheet Ndegree(s)310. Updated May 2014. 6/16/15. Available at: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs310/en .
17) International Society on Thrombosis and Haemostasis. About World Thrombosis Day. Available at: http://www.worldthrombosisday.org/about .
18) American Heart Association. Why Atrial Fibrillation (AF or AFib) Matters. 8/22/14. Available at: http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/Arrhythmia/AboutArrhythmia/Why-Atrial-Fibrillation-AF-or-AFib-Matters_UCM_423776_Article.jsp .
19) World Heart Federation. The global burden of stroke. 6/16/15. Available at: http://www.world-heart-federation.org/cardiovascular-health/stroke .
Thrombosis Research Institute London
Emmanuel Kaye Building
Manresa Road
Chelsea
London SW3 6LR
แหล่งข่าว: Thrombosis Research Institute