ทีมวิจัยสเปนพบช่องทางสื่อสารกับทารกในครรภ์ ยืนยันการได้ยินและตอบสนองต่อเสียงเพลงกระตุ้น

ข่าวต่างประเทศ Tuesday October 6, 2015 17:37 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

บาร์เซโลนา สเปน, ลอนดอน และมิลาน--6 ต.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ ผลการวิจัยดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Ultrasound ของอังกฤษในสัปดาห์นี้ - ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ทารกในครรภ์อายุ 16 สัปดาห์สามารถได้ยินและตอบสนองต่อเสียงเพลง ตราบเท่าที่เสียงเพลงนั้นส่งมาจากช่องคลอดของมารดา - ทารกในครรภ์แทบจะไม่ได้ยินเสียงจากแหล่งกำเนิดภายนอกและจากมารดาเอง โดยทารกได้ยินเสียงในรูปแบบที่แผ่วเบาและบิดเบือนไปจากเสียงที่แท้จริง - ในกรณีที่เสียงเพลงนั้นส่งมาจากช่องคลอดของมารดา ทารกในครรภ์ 87% มีการขยับปากหรือลิ้น และเกือบครึ่งหนึ่งมีการแลบลิ้นให้ยาวที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยทารกเหล่านี้ขยับอวัยวะเพื่อเปล่งเสียงก่อนที่จะเรียนรู้การใช้ภาษา - กลไกที่พัฒนาขึ้นสำหรับการวิจัยครั้งนี้ได้ขจัดความเชื่อที่ว่าทารกในครรภ์นั้นไม่สามารถได้ยินเสียง อีกทั้งยังช่วยให้การตรวจอัลตราซาวด์ง่ายขึ้น และช่วยลดความตึงเครียดของพ่อแม่ในระหว่างการตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์อายุเพียง 16 สัปดาห์สามารถได้ยินและตอบสนองต่อเสียงเพลง ตราบเท่าที่เสียงเพลงนั้นส่งมาจากช่องคลอดของมารดา โดยทารกมีการตอบสนองสิ่งกระตุ้นนี้ด้วยการขยับปากและแลบลิ้นให้ยาวที่สุดเท่าที่ทำได้ ซึ่งถือเป็นความพยายามในการเปล่งเสียงก่อนที่ทารกจะได้เรียนรู้ภาษา สามารถอ่านบทสรุปของการวิจัยได้ที่ http://ult.sagepub.com/content/early/2015/09/29/1742271X15609367.full โดยการวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยคณะวิจัยของสถาบัน Institut Marques ร่วมกับอัลแบร์โต แพรตส์ ศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์และคัพภวิทยาของมนุษย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบาร์เซโลนา การวิจัยในหัวข้อ "การแสดงออกทางใบหน้าของทารกในครรภ์เพื่อตอบสนองกับเสียงเพลงที่ส่งมาจากช่องคลอด" (Foetal facial expression in response to intravaginal music emission) ได้รับการเผยแพร่ในสัปดาห์นี้บนวารสาร Ultrasound ของสมาคมอัลตร้าซาวด์ทางการแพทย์แห่งอังกฤษ (BMUS) ดร.มาริสา โลเปซ-เตฮอน หัวหน้าฝ่ายวิทยาการช่วยการเจริญพันธุ์ประจำสถาบัน Institut Marques ซึ่งเป็นหัวหน้านักวิจัยและผู้เขียนการวิจัยทางคลินิกครั้งนี้ กล่าวว่า "เราค้นพบว่าทารกในครรภ์จะสามารถได้ยินเหมือนเราก็ต่อเมื่อมีการส่งเสียงเพลงผ่านทางช่องคลอดของมารดา โดยทารกแทบจะไม่ได้ยินเสียงที่ส่งมาผ่านท้องของมารดา เนื่องจากเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณส่วนท้องและในร่างกายของมารดานั้นเป็นตัวดูดกลืนคลื่นเสียง" สามารถรับชมข่าวประชาสัมพันธ์แบบมัลติมีเดียได้ที่: http://www.multivu.com/players/English/7647351-how-foetuses-hear-musical-stimuli วิธีการและผลลัพธ์ การศึกษานี้ดำเนินการโดยการส่งเสียงเพลงผ่านทางช่องคลอดของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ที่ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับการวิจัยดังกล่าว โดยอุปกรณ์ที่ว่านี้สามารถส่งเสียงด้วยค่าเฉลี่ยที่ 54 เดซิเบล ซึ่งเทียบเคียงได้กับเสียงสนทนาเงียบๆหรือเสียงเพลงเบื้องหลัง ส่วนเพลงที่เลือกนั้นได้แก่บทเพลง Partita in A Minor for Flute Alone - BWV 1013 ของโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค ดร.อเล็กซ์ การ์เซีย ฟอรา ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ประจำสถาบัน Institut Marques และผู้ร่วมเขียนรายงานวิจัย เปิดเผยว่า ทางคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อเปรียบเทียบปฏิกิริยาตอบกลับของทารกในครรภ์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมานั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในทางสถิติ เมื่อมีการส่งเสียงเพลงผ่านทางช่องคลอดแล้ว ทารกในครรภ์ถึง 87% มีการขยับปากหรือลิ้น และราวครึ่งหนึ่งมีการตอบกลับที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยทารกกลุ่มนี้มีการอ้าขากรรไกรและแลบลิ้นออกมาให้ยาวที่สุดเท่าที่ทำได้ อย่างไรก็ดีเมื่อมีการส่งเสียงเพลงผ่านทางช่องท้องหรือคลื่นเสียง ทารกในครรภ์กลับไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองในลักษณะนี้แต่อย่างใด สาเหตุเบื้องหลังการตอบสนองของทารกในครรภ์ อัลแบร์โต แพรตส์ ศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์และคัพภวิทยาของมนุษย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบาร์เซโลนา เปิดเผยว่า ทางผู้วิจัยเชื่อว่าเสียงเพลงเป็นตัวก่อให้เกิดการตอบสนองผ่านการขยับอวัยวะเพื่อเปล่งเสียง เนื่องจากเสียงเพลงช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบสมองซึ่งปลุกเร้าการใช้ภาษาและการสื่อสาร ตามข้อสันนิษฐานดังกล่าว เมื่อหูชั้นในเริ่มพัฒนาขึ้นจนกระทั่งทารกในครรภ์สามารถรับรู้ถึงสิ่งกระตุ้นการได้ยินไม่ว่าจะเป็นจังหวะเสียงหรือทำนองเพลงผ่านทางคอเคลีย เมื่อนั้นก้านสมองซึ่งทำให้เกิดการเปล่งเสียง ก็จะได้รับการกระตุ้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางสังคม ดร.มาริสา โลเปซ-เตฮอน เปิดเผยว่า นับเป็นครั้งแรกที่ทางคณะผู้วิจัยสามารถสื่อสารกับทารกในครรภ์ได้เป็นผลสำเร็จ โดยทารกในครรภ์ที่มีอายุตั้งแต่ 16 สัปดาห์นั้นสามารถตอบสนองกับเสียงเพลงกระตุ้น ซึ่งเราสามารถบอกได้ว่าทารกมีการเรียนรู้ได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เกี่ยวกับสถาบัน Marques Institute สถาบัน Institut Marquès เป็นศูนย์นานาชาติครบวงจรด้านนรีเวชวิทยา สูติศาสตร์ และการช่วยการเจริญพันธุ์ ด้วยประวัติศาสตร์ยาวนานถึง 90 ปีในเมืองบาร์เซโลนา ทางสถาบันมีผู้เชี่ยวชาญถึง 140 ราย และมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองบาร์เซโลนา อังกฤษ ไอร์แลนด์ และคูเวต อีกทั้งยังมีคลินิกในอิตาลี ซึ่งเป็นศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากแห่งแรกที่เปิดดำเนินการในยุโรป ทั้งนี้ ทางสถาบันเปิดรับผู้ป่วยจากกว่า 50 ประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์เพื่อทำให้ความฝันในการเป็นพ่อแม่นั้นเป็นจริง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม: http://www.institutmarques.com/ http://www. fertility-experiences.com งานแถลงข่าวรอบสื่อ ที่เมืองบาร์เซโลนา วันที่ 6 ตุลาคม เวลา 11.30 น. (ตามเวลามาตรฐานยุโรป) สามารถรับชมการรายงานบรรยากาศงานแถลงข่าวรอบสื่อแบบส่งตรงจากสถานที่ หรือคลิปวิดีโอย้อนหลังได้ที่ลิงค์ด้านล่าง: ภาษาอังกฤษ: คลิก http://www.institutmarques.com/live.html ภาษาฝรั่งเศส: คลิก http://www.institutomarques.fr/live.html ภาษาอิตาลี: คลิก http://www.institutmarques.it/live.html ภาษาสเปน: คลิก http://www.institutomarques.com/live.html (โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20150930/272299LOGO ) แหล่งข่าว: สถาบัน Institute Marques

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ