ลีแยร์ฌ, เบลเยียม--2 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
คณะทำงานเฉพาะกิจของสมาคม European Society for Clinical and Economic Aspects of Osteoporosis and Osteoarthritis (ESCEO) และแพทย์ผู้เชียวชาญจากทั่วโลก ได้มีมติร่วมกันในการใช้แนวทางการรักษาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนของ ESCEO ในทางปฏิบัติและหาข้อสรุปร่วมกันในข้อมูลทั้งหมดของกลูโคซามีน เพื่อชี้ชัดถึงความแตกต่างระหว่างคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) ซึ่งผ่านการรับรองทางคลินิก กับกลูโคซามีนชนิดอื่นๆที่ไม่ได้ผลในทางคลินิก
(โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20151124/290592LOGO )
(Place and date)-แม้ว่าจะมีแนวทางปฏิบัติสำหรับการรักษาโรคข้อเสื่อมที่คำนึงด้านหลักฐานทางการศึกษาจากองค์กรต่างๆทั้งในยุโรป อเมริกา และทั่วโลกแต่ก็ยังไม่สามารถสร้างมาตรฐานการรักษาร่วมกันได้
แต่เดิมการรักษาโรคข้อเสื่อมนิยมใช้ยาระงับปวดและยาต้านการอักเสบ โดยมีพาราเซตามอลเป็นยาพื้นฐานที่ใช้บรรเทาอาการปวด แต่ก็เกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ยา ซึ่งรวมถึงผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหารและตับ
นอกจากนี้แนวทางการรักษาเกือบทั้งหมดไม่ได้ระบุชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่างกลูโคซามีนที่ได้รับการพิสูจน์ทางคลินิก (จากเกณฑ์ที่มีหลักฐานการศึกษารองรับและ Cochrane Review) กับกลูโคซามีนที่ไม่ได้รับการพิสูจน์ทางคลินิก ยกเว้นแนวทางการรักษาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนของ ESCEO ซึ่งระบุถึงความแตกต่างไว้อย่างชัดเจน จึงก่อให้เกิดความไม่สอดคล้องในแนวทางการรักษาโรคข้อเสือม อีกทั้งทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติด้วย
แนวทางการรักษาอย่างเป็นขั้นตอนของ ESCEO นำเสนอทางเลือกใหม่ ด้วยการใช้ยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่ออกฤทธิ์ช้า (SYSADOAs) ซึ่งมีคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร(pCGS) เป็นยาพื้นฐาน และเสริมด้วยยาพาราเซตามอลเพื่อระงับปวดตามความจำเป็น ศาสตราจารย์ ฌอง-อีฟ รีจินส์เตอร์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานของ ESCEO กล่าวว่า "แนวทางของ ESCEO แนะนำให้ใช้ยา SYSADOAs โดยเฉพาะคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟตที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) และคอนดรอยติน ซัลเฟต ที่จดทะเบียนเป็นยา ให้เป็นยาพื้นฐานในการรักษาโรคข้อเสื่อม ปัจจุบันเห็นได้ชัดว่ายาต่างๆไม่ได้มีประสิทธิภาพเหมือนกันทั้งหมด และความแตกต่างระหว่างแนวทางการรักษาทั้งหลายสะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่ว่า แนวทางเหล่านี้ไม่ได้พิจารณาการรักษาจากยาตัวเดียวกัน"
"สาระสำคัญประการแรกที่ได้จากการประชุมคือ แนวทางการรักษาทั้งหมดล้วนเห็นตรงกันว่ากลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์ไม่ได้ผลในการรักษา ตัวยาดังกล่าวไม่เคยได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพในการทดลองทางคลินิก และไม่เคยมีการวิจัยใดๆที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการรักษาของกลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์แต่อย่างใด"
ศาสตราจารย์ รีจินส์เตอร์ กล่าวเสริมว่า "ในส่วนของกลูโคซามีน ซัลเฟตที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน พบว่ายังมีความแตกต่างในแต่ละสูตรตำรับ โดยสูตรตำรับยาส่วนใหญ่มักไม่คงตัวและไม่ควรนำไปใช้เพราะถือว่าเป็นยาปลอม ซึ่งอ้างว่าเป็นสูตรตำรับที่มีความ"คงตัว" แต่เป็นเพียงการผสมกลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์ และโซเดียม ซัลเฟต เข้าด้วยกันเท่านั้นซึ่งไม่มีความคงตัวแต่อย่างใด เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ โมเลกุลจะต้องถูกทำให้คงตัวในรูปของคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร(pCGS) โมเลกุลที่ถูกทำให้คงตัวเท่านั้นที่สามารถทำให้มีระดับความเข้มข้นของยาเพียงพอที่จะส่งผลในการรักษาทั้งในกระแสเลือดและน้ำเลี้ยงข้อ และมีข้อมูลการทดลองที่แสดงถึงประสิทธิภาพอย่างชัดเจน ในมุมมองของการดำเนินไปตามธรรมชาติของโรคข้อเสื่อม การใช้สั่งใช้ยากลูโคซามีนที่ไม่มีความคงตัว จากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณ เพราะเป็นที่ทราบดีว่าในท้ายที่สุดผู้ป่วยจะไม่ได้รับประโยชน์อันใดจากผลการรักษานั้นเลย"
สรุป
การประชุมครั้งนี้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการเห็นพ้องร่วมกันถึงความแตกต่างของแนวทางในการรักษา โดยคณะทำงานเฉพาะกิจต่างเห็นพ้องร่วมกันในความแตกต่างระหว่างคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) ซึ่งได้รับการพิสูจน์ทางคลินิกและจดทะเบียนเป็นยา กับกลูโคซามีนประเภทอื่นๆ
หลักฐานทางคลินิกของคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร
- มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าในแง่ของการลดอาการปวดและการทำงานของเข่า
- ช่วยชะลอการดำเนินไปของโรค
ด้วยเหตุนี้ คริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) จึงเหนือกว่ากลูโคซามีนประเภทอื่นๆที่วางจำหน่ายในตลาด โดยเป็นกลูโคซามีนเพียงชนิดเดียวที่มีความคงตัวและมีความน่าเชื่อถือทางการรักษา โดยส่งผลให้มีระดับความเข้มข้นของกลุโคซามีนที่ให้ผลในการรักษาทั้งในกระแสเลือดและและในข้อ ดังนั้นเมื่อจะสั่งยาพื้นฐานในการรักษาโรคข้อเสื่อม แพทย์ควรพิจารณาคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) ซึ่งถือได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
แหล่งข่าว: ESCEO