เสิ่นเจิ้น, จีน--9 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
KuangChi Martin ได้เปิดตัว Jetpack เป็นครั้งแรกในงาน OCT Harbour ณ เมืองเสิ่นเจิ้น เมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา พร้อมสาธิตวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสุดล้ำแห่งอนาคต และนวัตกรรมการคมนาคมในตัวเมือง
http://photos.prnasia.com/prnh/20151208/0861512152
KuangChi Science บริษัทหน้าใหม่ด้านผลิตภัณฑ์ไฮเทคที่มีความมุ่งมั่นและทะเยอทะยาน ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง เป็นบริษัทที่ถือหุ้นมากที่สุดในบริษัท Martin Aircraft ผู้ผลิตเครื่องเจ็ทแพ็ค ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ทั้งนี้ KuangChi Science เป็นบริษัทย่อยของ Kuang-Chi ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองเสิ่นเจิ้น
ภารกิจการบินข้ามทะเลสาบที่เดินหน้าโดย ไมเคิล รี้ด ประธานฝ่าย Flight Operations ของ Martin Aircraft และนักบินผู้มากประสบการณ์ ภารกิจดังกล่าวใช้เวลามากกว่า 5 นาทีท่ามกลางสายตาของผู้ชมกว่า 2,000 คน พร้อมกับการสาธิตการใช้งานด้วยรีโมท คอนโทรล
ภายในงาน Kuang-Chi ได้จัดตั้งชมรม Iron Man ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีแผนที่จะดึงดูดพันธมิตรทั่วประเทศจีน ให้เข้าร่วมในการดำเนินงานด้านผลิตภัณฑ์นวัตกรรมและบริการต่างๆในระดับสากล KuangChi Science และ Martin Aircraft ได้ลงนามความร่วมมือในสัญญา 3 ฉบับ สำหรับเครื่องเจ็ทแพ็คที่บังคับด้วยคน 100 เครื่องและแบบจำลอง 20 เครื่อง ซึ่งคาดว่า จะวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในปี 2559
KuangChi Martin Jetpack ซึ่งเป็นเจ็ทแพ็คสำหรับการพาณิชย์และเจ็ทแพ็คที่สามารถใช้งานได้จริงเครื่องแรกของโลก ประกอบด้วยใบพัด 2 ท่อที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เบนซิน ซึ่งสามารถผลิตแรงดันได้เพียงพอต่อการยกตัวเครื่องและนักบินขึ้น และทำให้สามารถบินได้อย่างต่อเนื่อง เครื่องเจ็ทแพ็คดังกล่าวสามารถบินใกล้ๆหรือบินระหว่าง 2 อาคารในบริเวณที่ใกล้กับต้นไม้และพื้นที่จำกัด ที่เครื่องบินชนิดอื่นไม่สามารถเข้าถึงได้
ข้อดีข้อสำคัญของเครื่องเจ็ทแพ็คคือ สามารถรับน้ำหนักได้มากถึง 120 กก. และบินได้ด้วยระยะเวลาบินสูงสุด 45 นาที ด้วยความเร็วสูงถึง 80 กม./ชั่วโมง
เครื่องเจ็ทแพ็คมีประสิทธิภาพการใช้งานที่หลากหลาย ทั้งการค้นหาและการกู้ภัย การทหาร ตลอดจนงานสันทนาการและการพาณิชย์ ซึ่งออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความสะดวกต่อการใช้งาน เครื่องเจ็ทแพ็คสามารถเปลี่ยนเป็นโหมดบินร่อนได้ เมื่อนักบินปล่อยมือระหว่างการบิน และสามารถดึงร่มชูชีพได้ภายในระยะเวลาเพียง 0.68 วินาที เมื่อระบบตรวจพบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
นอกจากเครื่องเจ็ทแพ็คแล้ว Kuang-Chi ยังได้เปิดตัวเทคโนโลยีสุดล้ำอื่นๆ เช่น Cloud mini แพลตฟอร์มที่มีลักษณะเหมือนบอลลูน ซึ่งใช้ก๊าซฮีเลียมในการยกตัวขึ้นและครบครันด้วยระบบทุ่นลอยตัว เมื่อลอยตัวขึ้นเหนือน่านฟ้า เครื่องเจ็ทแพ็คจะสามารถโชว์ฟังก์ชั่นการสอดส่องดูแลพื้นที่ในเมือง
ขณะเดียวกันก็ได้มีการสาธิตผลิตภัณฑ์โฟโตนิกอัจฉริยะล่าสุด 2 เครื่อง เครื่องหนึ่งสำหรับอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้คนเมื่อเดินผ่านเครื่องกั้นอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนอีกเครื่องหนึ่งเป็นการสาธิตสำหรับการสั่งอาหาร เทคโนโลยีโฟโตนิกอัจฉริยะดังกล่าวใช้แสงไฟปกติเป็นตัวกลางในการอนุมัติ การยืนยันตัวตน และการส่งผ่านข้อมูล ซึ่งเครื่องดังกล่าวจะสามารถป้องกันการตรวจจับและการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีความปลอดภัยสูงและง่ายต่อการใช้งาน นอกจากนี้ Kuang-Chi ยังจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของบริษัทสำหรับการระบุตัวตนแบบโฟโตนิกและการชำระเงินแบบโฟโตนิก เช่นกัน
พร้อมกันนี้ Kuang-Chi ยังได้เปิดตัวโครงการ "Global Community of Innovation" (GCI) อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นความร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกหลายบริษัทที่เชี่ยวชาญในด้านอุตสาหกรรมอวกาศ เมืองอัจฉริยะ หุ่นยนต์ การชำระเงินแบบปลอดภัย บรอดแบนด์ และอื่นๆ
ปัจจุบันนี้ พันธมิตรทางธุรกิจของ GCI ได้แก่ Martin Jetpack, Cloud, Near Space Traveller, Space Levitation Station, Solarship, Zwipe, HyalRoute Broadband, Parallel World, iPhoton, Super WiFi และ Smart Structure
Kuang-Chi เดินหน้าธุรกิจสู่ 3 กระแสแห่งโลกอนาคต อันได้แก่ "Indepth Space" คือ การยกทุกอย่างให้ลอยตัวเหนือพื้นดิน และปรับโครงสร้างโลกใบนี้เมื่ออยู่ในอวกาศหลายมิติ "Spiritual Machines" คือ การเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์กลไกด้วยจิตวิญญาณ และการนำความสุขมาสู่มวลมนุษย์ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์และวิวัฒนาการ และสุดท้ายคือ "Ultimate Connection" ซึ่งหมายถึง การเชื่อมต่อไปยังสิ่งที่ไม่สามารถเชื่อมต่อได้และการเชื่อมโยงทุกๆสิ่งในทุกๆที่
Kuang-Chi เป็นบริษัทด้านนวัตกรรมล้ำยุคระดับโลก ที่จัดตั้งขึ้นในปี 2553 Kuang-Chi ได้รวมนักนวัตกรรมระดับโลกที่มีวิสัยทัศน์เช่นเดียวกันเข้าไว้ด้วยกันเพื่อนำเทคโนโลยีไซ-ไฟมาสู่โลกแห่งความจริง ด้วยการอุทิศตนให้แก่การออกแบและโลกแห่งอนาคต
รูปภาพ - http://photos.prnasia.com/prnh/20151208/0861512152