สิงคโปร์--15 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและการใกล้สูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลายชนิดปรากฏให้เห็นทั่วทุกหนแห่งในปัจจุบัน ดังนั้น เราจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เปิดเผยเรื่องราวของการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างธรรมชาติกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อรักษาผลผลิตจากธรรมชาติอันทรงคุณค่าให้ดำรงอยู่ต่อไป
ท่านคงสงสัยว่า Cache Journal กำลังพูดถึงอะไร เราขอเฉลยว่าผลผลิตจากธรรมชาติที่กล่าวถึงก็คือ "น้ำมันกฤษณา" ซึ่งมีสรรพคุณด้านการรักษาโรค และมีกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์เหมาะสำหรับใช้เป็นส่วนผสมของน้ำหอม
เช่นเดียวกับส่วนผสมอีกหลายชนิดที่มีราคาสูงและเป็นที่ต้องการ น้ำมันกฤษณาจากธรรมชาติเองก็มีปริมาณน้อยนิด แต่ด้วยความพยายามของบริษัทต่างๆ รวมถึง Asia Plantation Capital ที่ทุ่มลงทุนหลายล้านดอลลาร์ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เพื่อผลิตน้ำมันกฤษณาจากธรรมชาติบริสุทธิ์ 100% บนพื้นที่เพาะปลูกของบริษัทเอง ทำให้อนาคตของน้ำมันกฤษณาที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น "ทองคำเหลว" กลับมาสดใสอีกครั้ง
น้ำมันกฤษณาได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญในวงการน้ำหอมในฐานะ "น้ำหอมแห่งศตวรรษที่ 21" อีกทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็น "กลิ่นหอมยอดเยี่ยมของเดือน" มาเป็นเวลาเนิ่นนานหลายเดือนี น้ำมันกฤษณาเป็นส่วนผสมที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในหมู่ผู้ผลิตน้ำหอมชั้นนำของโลก ซึ่งล้วนเล็งเห็นถึงคุณสมบัติสุดวิเศษของส่วนผสมจากธรรมชาติที่มีมาแต่โบราณนี้
น้ำมันกฤษณาถูกผลิตขึ้นเมื่อแก่นไม้ชั้นในของต้นกฤษณาสกุลเอควิลาเรียเกิดเชื้อราหรือเห็ดรา ซึ่งก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีที่มีความซับซ้อน
เชื้อรากระตุ้นให้กลไกการป้องกันตนเองตามธรรมชาติของต้นไม้ทำงานและตอบสนอง ก่อให้เกิดยางไม้สีเข้มและมีกลิ่นหอม จากนั้นคงมีคนหัวใสสังเกตเห็นอะไรบางอย่าง (อาจจะเป็นกลิ่นอ่อนๆ) จึงได้ตัดสินใจเอายางไม้มาเผาไฟ
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำหอมที่มีกลิ่นหอมหวนชวนฝันอันยากที่จะต้านทาน ดังที่ทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้ว
ไม้กฤษณา และน้ำมันกฤษณาที่ได้จากกระบวนการกลั่นนั้น ถูกกล่าวถึงบ่อยครั้งในบันทึกที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลกอย่างคัมภีร์พระเวทภาษาสันสกฤต และยังได้รับการกล่าวถึงในคัมภีร์ไบเบิลทั้งภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ด้วย
นอกจากนั้นยังปรากฎให้เห็นในซาฮิมุสลิมที่มีอายุเก่าแก่กว่า 1,200 ปี จึงดูเหมือนว่าน้ำมันกฤษณาสามารถก้าวข้ามกำแพงทางศาสนาทั้งหมด และถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ
ส่วนประกอบจากธรรมชาติที่โดดเด่นไม่ว่าจะมาจากที่ใดก็ตาม ต่างมีความพิเศษและเป็นที่ต้องการอย่างสูง จึงมีราคาสูงตามไปด้วย ขณะที่มนุษย์ไขว่คว้าหาแหล่งไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณาอย่างไม่รู้จักพอ ก่อให้เกิดการค้าขายอย่างผิดกฎหมาย และยังส่งผลให้พรรณไม้เหล่านี้เสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ด้วย
ปัจจุบันต้นกฤษณาสกุลเอควิลาเรียได้รับการขึ้นทะเบียนพรรณไม้ใกล้สูญพันธุ์ของ CITES (อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์) อันเป็นผลมาจากความละโมบในการค้าขายไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณา ตลอดจนการตัดไม้กฤษณาอย่างไม่ยั้งคิดเพื่อป้อนให้กับตลาดที่มีอุปสงค์สูงกว่าอุปทานตลอดเวลา
หากไม่มีผู้ใดยื่นมือช่วยเหลือ ต้นกฤษณาสกุลเอควิลาเรียและน้ำมันกฤษณาอันล้ำค่าอาจสูญหายไปจากโลกตลอดกาล
เคราะห์ดีที่มีผู้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ โดยมนุษย์ได้ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาในเวลาที่เหมาะสม ด้วยการปลูกต้นกฤษณาสกุลเอควิลาเรียใหม่ในหลายพื้นที่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติของต้นกฤษณา ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็มีความกระตือรือร้นมากขึ้นในการป้องกันการซื้อขายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนั้นวิทยาศาสตร์ยังเข้ามามีบทบาทในการชุบชีวิตให้กับพรรณไม้เหล่านี้ด้วย
ในบรรดาต้นกฤษณาทั้งหมดในป่านั้น มีเพียง 7% ที่จะมียางไม้ที่ใช้ผลิตน้ำมันกฤษณาได้ และเมื่อมองจากภายนอกก็ไม่สามารถแยกได้ว่าต้นไหนมียางหรือไม่มียาง วิธีเดียวที่จะบ่งชี้มูลค่าของต้นกฤษณาได้อย่างชัดเจนคือการตัดต้นไม้ทั้งต้น (เนื้อไม้กฤษณามีสีซีดและอ่อน จึงแทบนำมาใช้ประโยชน์ไม่ได้) นั่นหมายความว่า ต้นกฤษณามากกว่า 90 ต้นจากทุกๆ 100 ต้นที่ถูกโค่นลงจะถูกปล่อยให้เน่าตาย จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมต้นกฤษณาถึงเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์
อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบแนวทางในการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้นกฤษณาอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการรับประกันว่าต้นกฤษณาจะผลิตน้ำมันกฤษณาออกมา โดยใช้วิธีการปลูกเชื้อราที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีที่จำเป็นต่อการผลิตยางไม้อันทรงคุณค่า โดยมีอัตราการติดเชื้อ 100% จึงมั่นใจได้ว่าจะไม่มีการสูญเสียต้นกฤษณาโดยเปล่าประโยชน์ และรับประกันการผลิตส่วนผสมที่ใครหลายคนต่างให้ความสำคัญอย่างมาก
หลายคนอาจไม่เห็นด้วยกับการแทรกแซงทางวิทยาศาสตร์เพื่ออนุรักษ์พรรณไม้ตามธรรมชาติ แต่มันเป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคนี้ แม้แต่ธรรมชาติเองก็ต้องได้รับการช่วยเหลือในบางครั้ง หากเรายอมรับผิดที่มีส่วนทำให้ธรรมชาติเสื่อมโทรมลงตั้งแต่แรก เราก็ต้องใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่เพื่อแก้ไขสถานการณ์และทำให้ถูกต้อง
Asia Plantation Capital เป็นผู้นำในการปลูกต้นกฤษณาสกุลเอควิลาเรียทดแทน และทำการปลูกเชื้อในต้นกฤษณาด้วยเทคโนโลยีของบริษัทเอง (ผ่านการจดสิทธิบัตรแล้ว) อันเป็นผลพวงจากการลงทุนหลายล้านดอลลาร์ ขณะที่คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ก็ได้ใช้เวลาหลายพันชั่วโมงเพื่อบรรลุผลสำเร็จ
ในที่สุดแล้ว ความทุ่มเทของ Asia Plantation Capital ก็ประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม ทั้งในแง่ของความบริสุทธิ์และคุณภาพอันคงที่ของน้ำมันกฤษณา อันเป็นผลผลิตจากต้นกฤษณาบนพื้นที่เพาะปลูกที่บริษัทเป็นเจ้าของและบริหารจัดการด้วยตัวเอง
Cache Journal ค้นพบว่า น้ำมันกฤษณายังคงมีบทบาทสำคัญในแง่ของวัฒนธรรมและพิธีกรรมทางศาสนา ที่เกี่ยวโยงกับชีวิตของผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลก บัดนี้ ต้นกฤษณาได้กลับมาหยัดยืนอย่างมั่นคงและยิ่งใหญ่อีกครั้ง เราจึงต้องสร้างความมั่นใจว่า เราจะใช้น้ำมันกฤษณาด้วย "ความยั่งยืน" ตลอดไป
หมายเหตุสำหรับบรรณาธิการ :
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางอีเมล pr@cachejournal.com
เกี่ยวกับ Cache Journal
Cache Journal ผสานความรู้ด้านการลงทุนและไลฟ์สไตล์เอาไว้ในวารสารรูปเล่มสวยงามเพียงเล่มเดียว เนื้อหาของเราครอบคลุมทั้งในเรื่องของการลงทุน ความเคลื่อนไหวต่างๆ ตลอดจนเรื่องราวเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์และสินค้าหรู เพราะเราเชื่อว่าทุกคนควรได้รับการผ่อนคลายจากการทำงาน Cache จริงจังกับเรื่องที่มีความสำคัญ และสบายๆกับเรื่องที่ไม่ต้องจริงจังมาก
เกี่ยวกับ Asia Plantation Capital
Asia Plantation Capital จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2551 (แม้ว่าได้มีการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2545) โดยเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินธุรกิจเพาะปลูกและฟาร์มเชิงพาณิชย์อันหลากหลายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลก ซึ่งอยู่ในเครือของ Asia Plantation Capital Group
สื่อมวลชนติดต่อ :
Cache Journal Limited,
Towers Point, Wheelhouse Road, Rugeley, WS15 1UN United Kingdom
โทร. +65-6299-4998 | อีเมล: pr@cachejournal.com
รูปภาพ - http://photos.prnasia.com/prnh/20151110/8521507619-a
รูปภาพ - http://photos.prnasia.com/prnh/20151110/8521507619-b
คำบรรยาย: ต้นอ่อนของต้นกฤษณาสกุลเอควิลาเรียที่ปลูกในเรือนเพาะชำของ Asia Plantation Capital
คำบรรยาย: โรงงานและศูนย์วิจัยไม้กฤษณาแห่งใหม่ของ Asia Plantation Capital