OMICS International เปิดเว็บไซต์เผยแพร่งานวิจัยอย่างเสรี หวังลดช่องว่างในการเข้าถึงข้อมูล

ข่าวต่างประเทศ Tuesday November 22, 2016 12:13 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

ลอสแองเจลิส--22 พ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพจากประเทศในเอเชียและประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก มักไม่ถูกนำไปอ้างอิงและเข้าไม่ถึงแวดวงวิทยาศาสตร์ระดับโลก Dr. Srinubabu Gedela ซีอีโอของ OMICS International เผยว่า วารสารที่เข้าถึงได้อย่างเสรี หรือ Open Access Journals ถือกำเนิดขึ้นเพื่อทลายกำแพงข้อมูลและงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ซึ่งจะช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงแหล่งความรู้ โลโก้ - http://photos.prnewswire.com/prnh/20161023/431540LOGO แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาทั่วโลกจะสูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ผลงานวิจัยกลับไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เนื่องจากการเผยแพร่ข้อมูลมักเป็นแบบปิด ชุมชนนักวิจัยและประชาชนทั่วไปจึงไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ดังนั้น ผลงานวิจัยที่ถูกต้องและมีคุณภาพจึงควรได้รับการเผยแพร่อย่างเสรีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก่อนที่งานวิจัยดังกล่าวจะล้าสมัย สำหรับสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาทั่วโลกนั้น ประเทศในเอเชีย (จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และเกาหลีใต้) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 40% ขณะที่อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ลดลงสู่ระดับ 30% จากเดิมที่ 35% ส่วนยุโรปอยู่ที่ 20% และอีก 10% ที่เหลือเป็นของทวีปอื่นๆ ขณะเดียวกัน มีการคาดการณ์ว่าจีนจะทุ่มงบประมาณเพื่อการวิจัยและพัฒนาแซงหน้ายุโรปและสหรัฐอเมริกาภายในปี 2563 และหากพิจารณาตามสัดส่วนจีดีพีจะพบว่า อิสราเอลและเกาหลีใช้งบประมาณเพื่อการวิจัยและพัฒนาสูงสุดที่ 4.21% และ 4.15% ตามลำดับ ตามมาด้วยญี่ปุ่น (3.49%) ฟินแลนด์ (3.32%) และสวีเดน (3.12%) นอกจากนี้ OMICS International ยังเผยว่า สหรัฐอเมริกามีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา 5.14 แสนล้านดอลลาร์ ตามมาด้วยจีน (3.97 แสนล้านดอลลาร์) ญี่ปุ่น (1.67 แสนล้านดอลลาร์) เยอรมนี (1.09 แสนล้านดอลลาร์) เกาหลีใต้ (7.7 หมื่นล้านดอลลาร์) และอินเดีย (7.2 หมื่นล้านดอลลาร์) ในช่วงหลายปีมานี้ แม้เงินทุนด้านการวิจัยและพัฒนาจากประเทศในเอเชียจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพกลับไม่เป็นที่รู้จักในประเทศอื่นๆทั่วโลก โดยบทความจากประเทศในเอเชียไม่ได้ถูกนำไปอ้างอิงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ซึ่ง Dr. Gedela อธิบายว่า "อาจเป็นเพราะการเข้าถึงที่จำกัดและการขาดทักษะทางภาษาของประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก งานวิจัยภาษาอังกฤษที่มีอยู่เป็นจำนวนมากได้ปิดกั้นนักวิทยาศาสตร์ชาวเอเชียและแอฟริกา อย่างไรก็ดี วารสารแบบเสรีสามารถลดอุปสรรคทางภาษาได้" เกี่ยวกับ OMICS International OMICS International มีพนักงานมากกว่า 2,000 คน และเป็นผู้บุกเบิกการเผยแพร่ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างเสรี ด้วยความช่วยเหลือจากนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญกว่า 50,000 คน ที่คอยทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการ OMICS Group จึงสามารถเติบโตอย่างแข็งแกร่ง จากที่มีวารสารเพียง 10 ฉบับในปี 2552 สู่ วารสารที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ กว่า 700 ฉบับในปี 2559 และมีฐานผู้อ่านเพิ่มขึ้นแตะ 30 ล้านราย นอกจากนี้ เว็บไซต์ ConferenceSeries.com ของ OMICS International ยังจัด การประชุมประจำปี ระดับโลกกว่า 3,000 รายการ และมีการเฉลิมฉลองเดือนแห่งการเขียนเชิงวิชาการในเดือนพฤศจิกายน ติดต่อ: ceo@omicsgroup.org

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ