นิวยอร์ก--6 ม.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
ผู้บริหารที่ได้รับความเคารพในวงกว้างและมุ่งมั่นเรื่องความยุติธรรมในสังคม อีกทั้งยังมีชื่อเสียงในด้านการสนับสนุนความปรองดองระหว่างบุคคลสองกลุ่ม และการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในเชิงนวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมชุมชนในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (The Rockefeller Foundation) เปิดเผยว่า มูลนิธิได้คัดเลือกให้ ดร. Rajiv Shah อดีตผู้บริหารองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) และสมาชิกของคณะผู้จัดการทรัพย์สินประจำมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ คนที่ 13 โดยดร. Shah เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในเรื่องการยกระดับการพัฒนาระหว่างประเทศโดยเฉพาะนโยบายต่างประเทศ รวมทั้งการดำเนินการที่สามารถบรรลุเป้าหมายผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน อีกทั้งยังได้รับการยกย่องในด้านของการปฏิบัติงานร่วมกับรัฐบาลคู่เจรจา ตั้งแต่อัฟกานิสถานไปจนถึงอเมริกากลาง หรือแม้กระทั่งกลุ่มผู้นำจากสองขั้วในสภาคองเกรส
ในสมัยที่เป็นผู้บริหารของ USAID นั้น ดร. Shah ได้มีบทบาทในการเป็นผู้นำเพื่อรับมือกับวิกฤตด้านมนุษยชนครั้งใหญ่แห่งยุค ซึ่งรวมถึงเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เฮติเมื่อปี 2553 และการแพร่ระบาดของเชื้ออีโบลาในแอฟริกาตะวันตกเมื่อปี 2557 ซึ่งความพยายามและการดำเนินงานเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับ USAID ทำให้ดร. Shahได้รับเกียรติและการสนับสนุนจากทุกฝ่าย ในปี 2557 ดร. Shah ได้ขึ้นกล่าว ณ งาน The National Prayer Breakfast และได้แสดงทัศนะว่า สหรัฐฯ สามารถเป็นผู้นำโลกในการขจัดความยากจนขั้นรุนแรงได้ ในฐานะที่ดร. Shah จะทำหน้าที่เป็นประธานมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์คนต่อไป ด้วยประสบการณ์ด้านการต่างประเทศ สาธารณสุขโลก การพัฒนาระดับโลก และการรับมือด้านมนุษยธรรมที่ครอบคลุมในวงกว้าง อีกทั้งประสบการณ์ในการเป็นนักลงทุนภาคเอกชนในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัท Latitude Capital ส่งผลให้ดร. Shah เป็นผู้ที่มีมุมมองและประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับการสานพันธมิตรระหว่างภาครัฐและเอกชนให้ยั่งยืน
นอกจากการทำงานในต่างประเทศแล้ว ดร. Shah ยังเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันอาหารและการเกษตรแห่งชาติและได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ประจำกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งหนึ่งในคณะผู้บริหารห้องสมุดประชาชนในซีแอตเติล และวิทยาลัยหลายแห่งในซีแอตเติล ปัจจุบัน ดร. Shah จึงขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ พร้อมกับความรู้เกี่ยวกับองค์กรและการดำเนินงานขององค์กรเป็นอย่างดี หลังจากที่ได้ทำหน้าที่สมาชิกคณะผู้จัดการทรัพย์สินประจำมูลนิธิมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2558
ด้วยวัย 43 ปี ทำให้ดร. Shah ก้าวเป็นประธานมูลนิธิที่อายุน้อยที่สุดและยังเป็นชาวอเมริกัน-อินเดียคนแรก Shah จะเริ่มปฏิบัติงานในตำแหน่งใหม่ในวันที่ 1 มี.ค. ต่อจาก ดร. Judith Rodin ผู้ดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิมาเป็นเวลาเกือบ 12 ปี
Dick Parsons ประธานคณะกรรมการบริหาร กล่าวว่า "คณะกรรมการบริหารตื่นเต้นอย่างยิ่งกับพลวัตและประสบการณ์ที่ Raj Shah จะนำมาใช้กับองค์กรเพื่อการกุศลแห่งนี้ Raj เป็นตัวเลือกที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารอย่างเป็นเอกฉันท์ หลังกระบวนการวิจัยที่มีการแข่งขันสูง ก่อนหน้านี้ Judith Rodin ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และกำหนดจุดยืนในการเป็นผู้นำระดับโลกขององค์กรการกุศลที่ทันสมัย ซึ่งเราไม่เห็นใครที่จะเหมาะสมไปกว่า Raj Shah ที่จะเข้ามาบริหารงานที่ล้ำหน้าของสถาบันแห่งนี้ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น"
ดร. Rajiv Shah กล่าวว่า "นับเป็นเวลากว่าศตวรรษที่มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์เป็นมูลนิธิชั้นแนวหน้าในการสรรหาวิธีแก้ปัญหาเพื่อรับมือความท้าทายที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุดของโลก ผมรู้สึกเป็นเกียรติและได้รับแรงบันดาลใจจากโอกาสในการใช้ประวัติศาสตร์ 103 ปีแห่งผลงานและผลพวงที่ยั่งยืนเป็นพื้นฐานเพื่อพัฒนาต่อ ผมตั้งตารอคอยที่จะกำหนดทิศทางให้แก่มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ เพื่อร่วมงานกับพันธมิตรในการส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ และรับมือกับความท้าทายต่างๆนานาทั้งในปัจจุบันและอนาคตทั้งในสหรัฐและประเทศอื่นๆทั่วโลก "
"ผมตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ส่งไม้ต่อให้กับ Raj Shah" ดร. Judith Rodin ประธานมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์คนปัจจุบัน กล่าว "ผมยินดีที่ได้ทำงานร่วมกับ Raj ตลอดระยะเวลาหลายปีขณะที่เขาทำงานอยู่ที่มูลนิธิบิล แอนด์ เมลินดา เกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation) ในฐานะผู้บริหาร USAID และคณะกรรมการของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ในการร่วมงานทุกครั้ง ผมเล็งเห็นความฉลาด แรงขับเคลื่อนเพื่อผลลัพธ์ระดับสูง และความมุ่งมั่นต่อมวลมนุษยชาติของเขามาโดยตลอด ผมเชื่อว่า บทถัดไปของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์จะสดใสเมื่อ Raj Shah ขึ้นมาทำหน้าที่ผู้นำ"
ดร.RAJIV SHAH
ดร.Shah นำประสบการณ์กว่า 20 ปีทั้งในด้านธุรกิจ การเมือง และองค์กรการกุศลมาใช้กับตำแหน่งใหม่ในมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ เมื่อปี 2552 เขาได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีโอบามา และยังได้รับการรับรองอย่างเป็นเอกฉันท์จากวุฒิสภา ให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารของ USAID ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงบประมาณมูลค่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการปฏิรูปการดำเนินงานและช่วยเหลือ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่มีความท้าทายทั่วโลกของ USAID การที่ ดร. Shah ได้รับการสนับสนุนจากทั้ง 2 สภานั้นทำให้ USAID สามารถทำงานเพื่อยุติปัญหาความยากจนที่รุนแรงได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ด้วยการยกระดับความสำคัญของนวัตกรรม ส่งเสริมความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน ทบทวนการดำเนินงานภายใน และปรับเปลี่ยนวิธีการใช้เงินเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มั่นคง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะมีประเด็นที่ติดขัดอยู่หลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็น อำนาจที่มีนัยสำคัญของประธานสภาทั้ง 2 แต่โครงการ Feed the Future and Power Africa ก็ผ่านความเห็นชอบจากทั้งรัฐสภาและวุฒิสภา และได้รับการลงนามเป็นกฎหมายโดยประธานาธิบดีโอบามา พระราชบัญญัติความมั่นคงทางอาหารทั่วโลก (Global Food Security Act) นี้ นับเป็นกฎหมายด้านการพัฒนาระดับโลกที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากแผนฉุกเฉินเพื่อบรรเทาปัญหาโรคเอดส์ ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (PEPFAR) การทำงานของดร.Shah ทำให้หลายประเทศหันมาตระหนักถึงการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย, สถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังความขัดแย้ง และวิกฤติด้านมนุษยธรรม ตลอดจนได้รับความไว้วางใจอย่างแพร่หลายในเรื่องการช่วยชีวิตเด็กๆหลายล้านคนทั่วโลกให้สามารถเข้าถึงอาหาร, น้ำ, และสุขอนามัย
ดร.Shah ได้สร้างห้องปฏิบัติการ United States Global Development ขึ้นเมื่อปี 2557 เปิดทางให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมมือกันพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรมเพื่อรับมือกับความท้าทายที่หลากหลายของนานาประเทศ รวมทั้งปัญหาเรื่องน้ำ, สุขอนามัย, ความมั่นคงทางอาหาร,โภชนาการ พลังงาน และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้เขายังรับผิดชอบในเรื่องการปฏิรูปภายในอย่างครอบคลุม ซึ่งได้ส่งผลต่อทุกส่วนงาน ตลอดจนทบทวนนโยบายที่ผิดพลาดของกระทรวงต่างประเทศ และดึงงบประมาณกลับมาให้กับ USAID อีกทั้งยังสรรหาผู้ที่มีความสามารถระดับชั้นนำจากหลากหลายสาขาเข้ามาช่วยงานอีกด้วย ดร.Shah ได้พูดถึงประเด็นสำคัญนี้ในขณะเข้าร่วมกิจกรรม National Prayer Breakfast ซึ่งเขาได้รับเชิญจากผู้นำจากทั้ง 2 สภา เมื่อปี 2557
หลังจากที่ได้ลาออกจาก USAID เมื่อปี 2558 ดร.Shah ยังคงทำตามความปรารถนาของตนเองที่ต้องการสร้างโอกาสในการเติบโตให้กับชุมชนในประเทศกำลังพัฒนา ด้วยการจัดตั้งกองทุน Latitude Capital ซึ่งเป็นกองทุนนอกตลาดที่มุ่งลงทุนในโครงการด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานในทวีปแอฟริกาและเอเชีย
ดร. Shah สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนในเมืองแอนน์ อาร์เบอร์, มหาวิทยาลัยการแพทย์เพนซิลเวเนีย และโรงเรียนธุรกิจวาร์ตัน โดยที่เขาเติบโตและใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่นอกเมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน ก่อนหน้าที่เขาจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารของ USAID นั้น ดร. Shah เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์และปลัดกระทรวงเกษตรของสหรัฐในส่วนงานวิจัย การศึกษาและเศรษฐกิจ นอกจากนี้เขายังได้มีบทบาทเป็นผู้บริหารของ มูลนิธิบิล แอนด์ เมลินดา เกตส์ ซึ่งที่นี่เอง ดร. Shah ได้ช่วยจัดตั้ง Alliance for a Green Revolution in Africa (การลงทุนร่วมกันของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์กับมูลนิธิบิล แอนด์ เมลินดา เกตส์) และ International Financing Facility for Immunization (ซึ่งมีผลงานในการระดมทุนกว่า 5 พันล้านดอลลาร์เพื่อช่วยเหลือเด็กทั่วโลกในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน) ดร. Shah ได้สนับสนุนให้จัดตั้ง Global Development Program ปัจจุบันเขามีตำแหน่งเป็น Distinguished Fellow in Residence ที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ และอาศัยอยู่กับ Shivam Mallick ภรรยาของเขา พร้อมกับบุตร 3 คนในกรุงวอชิงตัน ดีซี
เกี่ยวกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ นับเป็นเวลากว่า 100 ปีมาแล้วที่มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้สืบสานพันธกิจในการส่งเสริมให้ผู้คนทั่วโลกมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปัจจุบัน มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ยังคงมุ่งมั่นที่จะก้าวไปสู่จุดหมาย 2 ประการ นั่นก็คือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในหลายมิติเพื่อเพิ่มโอกาสในการกระจายความมั่งคั่ง และการเสริมสร้างความเข้มแข็งโดยการช่วยเหลือผู้คน ชุมชน และสถาบันต่างๆให้สามารถรับมือ ยืนหยัด และแข็งแกร่งขึ้นจากภาวะผันผวนและความเครียดเรื้อรัง และเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้นั้น มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์จึงให้ความสำคัญไปกับการส่งเสริมเรื่องการมีสุขภาพที่ดี การประเมินค่าระบบนิเวศน์ใหม่ การสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิต และการเปลี่ยนแปลงสังคมเมือง ซึ่งทั้งหมดนี้มีเป้าหมายที่บ่งชี้ให้เห็นถึงรากฐานของปัญหาความท้าทาย และสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมีระบบ มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์พร้อมด้วยพันธมิตรและผู้รับทุนทั้งหลาย ได้พยายามส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรม และขยายขอบเขตความร่วมมือไปยังภาคส่วนต่างๆ นอกจากนี้ยังแบกรับความเสี่ยงที่ผู้คนทั่วไปไม่อาจทำได้หรือไม่ประสงค์ที่จะแบกรับ สามารถรับดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.rockefellerfoundation.org