Asia Plantation Capital บริจาคต้นกฤษณาให้กับสถาบันการศึกษา UWCSEA ในสิงคโปร์

ข่าวต่างประเทศ Thursday March 9, 2017 08:14 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

สิงคโปร์--9 มี.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ เมื่อไม่นานมานี้ Asia Plantation Capital (APC) ผู้นำด้านการบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกและผลิตไม้กฤษณาอย่างยั่งยืน ได้บริจาคต้นกล้าของต้นกฤษณาพันธุ์เอควิลาเรียไซเนนซิส จำนวน 15 ต้นให้กับสถาบันการศึกษา United World College South East Asia (UWCSEA) เพื่อเชิดชูความมุ่งมั่นทุ่มเทของ UWCSEA ในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและสงบสุขกว่าเดิม รวมถึงความพยายามในการรณรงค์ให้คนในชุมชนช่วยกันอนุรักษ์และปกป้องสิ่งแวดล้อม http://photos.prnasia.com/prnvar/20170308/8521701511 คำบรรยายภาพ - นาธาน ฮันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืนของ UWCSEA พร้อมด้วยนักเรียนจาก UWCSEA และทีมงานของ APC ถ่ายภาพร่วมกันหลังปลูกต้นกฤษณาพันธุ์เอควิลาเรีย ไซเนนซิส ในสนามของทางสถาบัน นาธาน ฮันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืนของ UWCSEA กล่าวว่า "เราตั้งใจพัฒนาทักษะและคุณภาพของนักเรียนซึ่งจำเป็นต่อการสร้างอนาคตอันยั่งยืน อนาคตที่การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเชิงปฏิบัติกลายเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาของเด็กๆทุกคน" ด้วยเจตจำนงดังกล่าว ประกอบกับสถานการณ์หมอกควันที่ปกคลุมภูมิภาคอันเนื่องมาจากไฟป่าในเวลานั้น ส่งผลให้ Asia Plantation Capital ได้รับโอกาสในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนราว 300 ชีวิต ณ UWCSEA วิทยาเขตโดเวอร์ เมื่อเดือนมีนาคม 2558 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการศึกษาระยะเวลา 1 สัปดาห์ว่าด้วยเรื่องของความยั่งยืน รวมถึงผลพวงที่มีต่อมนุษย์และธุรกิจต่างๆ จอห์น เบอร์รี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Asia Plantation Capital รับหน้าที่เป็นผู้ให้ความรู้แก่นักเรียน โดยเน้นไปที่การทำป่าไม้ พร้อมกับแสดงวิธีการปลูกต้นไม้ของ APC เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นๆ และยังแนะนำวิธีที่องค์กรต่างๆควรนำไปใช้เพื่อป้องกันการเกิดไฟป่า ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม นอกจากนั้นยังมีการพูดถึงผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ และพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมต่างๆ จอห์น เบอร์รี กล่าวว่า "เราได้ไอเดียในการสนับสนุนมูลนิธิ Forestry Foundation ของ UWCSEA ด้วยการบริจาคต้นกฤษณา หรือพูดให้เจาะจงคือต้นกล้าพันธุ์เอควิลาเรีย ไซเนนซิส หลังจากที่ผมได้พูดคุยกับนาธาน ฮันท์ ถึงแนวทางของมูลนิธิที่ให้ความรู้เรื่องพืชและสัตว์แก่เด็กๆ ผมจึงคิดบริจาคต้นกล้าเพื่อให้นักเรียนที่ UWCSEA ได้มีโอกาสศึกษาต้นกฤษณาสายพันธุ์นี้ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์" เอควิลาเรีย ไซเนนซิส คือ 1 ใน 15 สายพันธุ์ของวงศ์กฤษณา ซึ่งมีแหล่งกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสามารถพบต้นที่สูง 6-20 เมตรได้ในป่าฝนของประเทศจีน และเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ APC ปลูกในพื้นที่เพาะปลูกของบริษัทเอง Asia Plantation Capital ได้พิสูจน์ตัวเองถึงการเป็นผู้บุกเบิกและริเริ่มการเพาะปลูกอย่างยั่งยืน โดยคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของบริษัทได้ทำงานร่วมกับทีมนักวิจัยในการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าต้นกฤษณาพันธุ์เอควิลาเรียซึ่งเป็นไม้ใกล้สูญพันธุ์ จะเจริญเติบโตในป่าและผลิตน้ำมันกฤษณาอันทรงคุณค่าต่อไป โดยหลายๆเทคโนโลยีของบริษัทได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผลิตภัณฑ์จากต้นกฤษณาในพื้นที่เพาะปลูกของ Asia Plantation Capital ผ่านการเห็นชอบและได้รับการรับรองอย่างเต็มรูปแบบจาก CITES (อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์) ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า นอกจากจะสร้างความมั่นใจว่าจะมีไม้กฤษณาเพียงพอสำหรับคนรุ่นต่อๆไปแล้ว บริษัทยังให้ความสำคัญกับการรังสรรค์ผลิตภัณฑ์โดยใช้วัตถุดิบจากแหล่งที่ยั่งยืนและถูกต้องตามหลักจริยธรรม หมายเหตุถึงบรรณาธิการ: สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: ซาอาฮิรา มูฮัมหมัด ผู้บริหารอาวุโสฝ่ายประชาสัมพันธ์และการตลาด อีเมล:zaahira@asiaplantationcapital.com โทร. +60-12-203-5344 เกี่ยวกับ Asia Plantation Capital Asia Plantation Capital Group เป็นผู้ดำเนินธุรกิจและบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกอย่างยั่งยืนที่ได้รับรางวัลมาแล้วมากมาย บริษัทมีโครงการเพาะปลูกใน 4 ทวีป และมีพนักงานกว่า 2,000 คนทั่วโลก สำหรับคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของเราซึ่งเป็นผู้นำในวงการนั้น ประกอบด้วยนักวิชาการระดับแนวหน้าจากนานาประเทศ (จีน ไทย มาเลเซีย อินเดีย สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ที่ร่วมกันพัฒนา รวมทั้งจดสิทธิบัตรระบบและเทคโนโลยีชั้นนำของอุตสาหกรรม Asia Plantation Capital ให้ความสำคัญกับโครงการเพาะปลูกเชิงพาณิชย์และธุรกิจแบบบูรณาการแนวดิ่ง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการค้า จึงก้าวขึ้นเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จและไม่หยุดนิ่งตามหลักการสร้างความสมดุล 3 ด้าน Photo - http://photos.prnasia.com/prnh/20170308/8521701511

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ