บาร์เซโลนา, สเปน--16 พ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
- เมืองเซินเจิ้นชนะรางวัลสาขาเมืองปลอดภัย ขณะที่เมืองยานบูคว้ารางวัลชนะเลิศสาขาข้อมูลและเทคโนโลยี
ลูกค้าของหัวเว่ย 4 รายได้รับการเชิดชูผลงานด้านเมืองอัจฉริยะที่มีความโดดเด่น โดยมีทั้งผู้ที่ชนะรางวัลและเข้ารอบสุดท้ายของเวที Smart City Expo World Congress 2017 (SCEWC) ทั้งนี้ เมืองเซินเจิ้นของจีนชนะรางวัลสาขาเมืองปลอดภัย (Safe City Award) จากโครงการระบบขนส่งอัจฉริยะ ขณะที่เมืองยานบูของซาอุดีอาระเบียสามารถคว้ารางวัลสาขาข้อมูลและเทคโนโลยี (Data and Technology Award) จากโครงการเมืองอัจฉริยะมาได้สำเร็จ นอกจากนี้ เมืองเหวยฟางของจีนยังเป็นหนึ่งในผู้ที่เข้ารอบสุดท้ายในการชิงรางวัลสาขาเมืองยอดเยี่ยม (City Award) จากโครงการเมืองอัจฉริยะ 3.0 ในขณะที่แคเมอรูนได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม (Innovation Idea Award) จากโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งทั้ง 4 เมืองต่างก็ใช้ประโยชน์จากโซลูชั่นเมืองอัจฉริยะของหัวเว่ยซึ่งถูกปรับแต่งมาให้ตอบโจทย์การบริหารจัดการเมืองต่างๆอย่างเหมาะสมในทุกภูมิภาคและทุกระดับชั้นของการพัฒนา ทั้งนี้ โซลูชั่นของหัวเว่ยได้ขับเคลื่อนการพลิกโฉมสู่โลกยุคดิจิทัลให้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาการบริหารจัดการเมือง พร้อมสร้างเศรษฐกิจที่มีความยั่งยืน ควบคู่ไปกับการปูทางสู่บริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ
ด้วยจำนวนผู้เข้าแข่งขัน 309 รายจาก 58 ประเทศที่มาร่วมชิงรางวัล World Smart City Awards 2017 การแข่งขันในปีนี้จึงมีความเข้มข้นมากกว่าทุกๆปี สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายและนวัตกรรมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั่วโลก
หยาน หลี่ต้า ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย กล่าวว่า "เป้าหมายสูงสุดของโครงการเมืองอัจฉริยะคือการปูทางสู่ระบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรม อันจะนำมาซึ่งประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไป ด้วยความร่วมมือกับลูกค้าและพันธมิตรของเรา หัวเว่ยจึงมุ่งมั่นเดินไปข้างหน้าเพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ โดยอาศัยการพัฒนาระบบบริหารจัดการเมืองและคุณภาพการให้บริการ ซึ่งช่วยพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ส่งผลให้เมืองน่าอยู่มากขึ้น และด้วยผลลัพธ์จากแนวปฏิบัติด้านเมืองอัจฉริยะที่ดีที่สุดในโลก เราจึงค้นพบว่า ความสำเร็จที่เราได้รับนั้นมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะมาเป็นลำดับต้นๆ, การมีทีมโปรเจคเมืองอัจฉริยะที่แข็งแกร่งและมีความสามารถ, การลงทุนในระยะยาวและมีความมั่นคง รวมถึงการทำงานร่วมกับพันธมิตรดิจิทัลชั้นนำที่ช่วยวางแผนการรับมือกับความต้องการของภาครัฐซึ่งมีระบบนิเวศแบบเปิดที่แข็งแกร่ง หัวเว่ยรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าของเรา และได้ก้าวขึ้นเป็นพันธมิตรที่ได้รับเลือกให้ร่วมโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเหล่านี้ นอกจากนี้ ด้วยการใช้ประโยชน์จากระบบ ICT ชั้นนำรูปแบบใหม่ๆ อย่าง คลาวด์คอมพิวติ้ง, อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) และปัญญาประดิษฐ์ในการสร้างแพลตฟอร์ม IoT, แพลตฟอร์มการสื่อสาร, ศูนย์ข้อมูลคลาวด์ และศูนย์สั่งการอัจฉริยะ หัวเว่ยจึงสามารถสร้างสรรค์ระบบประสาทให้กับเมืองอัจฉริยะ ซึ่งได้ช่วยยกระดับให้เมืองอัจฉริยะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่เติบโตอย่างยั่งยืนและมีพัฒนาการที่ดี เราขอแสดงความยินดีกับเซินเจิ้นและซาอุดีอาระเบีย ที่ได้รับรางวัล World Smart City Awards 2017 และเรารอคอยที่จะร่วมงานกับเมืองอื่นๆเพื่อช่วยให้เมืองเหล่านั้นยกระดับเป็นเมืองอัจฉริยะได้ตามที่ฝันไว้"
ผู้ชนะรางวัลเมืองปลอดภัย: สำนักงานตำรวจจราจรเซินเจิ้น จากโซลูชั่นการคมนาคมอัจฉริยะแบบ All-Scenario ระบบแรกของโลก ที่ช่วยสร้าง "สมองจราจร" ให้กับเมือง
สำนักงานตำรวจจราจรเซินเจิ้นทำงานร่วมกับหัวเว่ย เพื่อสร้างระบบจราจรและรับรองความปลอดภัยในเมืองเซินเจิ้น หัวเว่ยให้ความช่วยเหลือสำนักงานตำรวจจราจรเซินเจิ้นด้วยการจัดทำแผนอันครอบคลุมและออกแบบอย่างดีเยี่ยม เพื่อยกระดับขีดความสามารถด้านการคมนาคมของเมือง ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน และรับประกันความปลอดภัยของผู้ขับขี่
สำนักงานตำรวจจราจรเซินเจิ้นใช้แพลตฟอร์มบิ๊กดาต้าที่ประกอบด้วยทรัพยากรข้อมูลและระบบการเรียนรู้เชิงลึก เพื่อสร้าง "สมองจราจร" ในเมืองที่ได้พัฒนาทัศนวิสัยการไหลเวียนของการจราจรและการควบคุมสัญญาณไฟจราจรที่ปรับตั้งค่าได้ พร้อมเพิ่มความจุบนท้องถนนขึ้น 8% แพลตฟอร์มบิ๊กดาต้าแบบศูนย์รวมได้ดำเนินการข้อมูลจราจรจากส่วนกลางเพื่อพัฒนาการใช้ข้อมูลขึ้น 200% ขณะที่การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะช่วยด้านการบังคับใช้กฎหมาย โดยอัตราการจดจำภาพที่เพิ่มขึ้น 10 เท่าจะช่วยในการประมวลผลข้อมูลการฝ่าฝืนกฎจราจรได้ดียิ่งขึ้น แพลตฟอร์มดังกล่าวได้ลดความแออัดบนท้องถนนในเซินเจิ้นอย่างมาก นำไปสู่ประสบการณ์เดินทางที่ดีขึ้นของผู้ขับขี่
https://photos.prnasia.com/prnvar/20171116/1994656-1-a
ผู้ชนะรางวัลข้อมูลและเทคโนโลยี: โครงการเมืองอัจฉริยะโดยคณะราชกรรมาธิการเมืองยานบู
ในปี 2016 ซาอุดีอาระเบียได้เปิดตัววิสัยทัศน์ Vision 2030 ที่สร้างขึ้นจากแนวคิดสามประการ ได้แก่ สังคมมีชีวิตชีวา เศรษฐกิจเฟื่องฟู และประเทศก้าวไกล โดยเฉพาะการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนที่เป็นหนึ่งในเป้าหมายหลัก และด้วยการสนับสนุนของเมืองยานบูในการพลิกโฉมเมืองสู่ดิจิทัล จนไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะแห่งแรกของประเทศภายใต้วิสัยทัศน์ดังกล่าว หัวเว่ยจึงได้ดำเนินการติดตั้งเครือข่ายออพติกที่ครอบคลุมชุมชนที่พักอาศัยทั้งหมด ตลอดจนพื้นที่องค์กรธุรกิจ และพื้นที่สาธารณะหลักๆในเมือง นอกจากนี้ หัวเว่ยได้ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อให้บริการแอพพลิเคชั่นอัจฉริยะมากมาย อาทิ ที่จอดรถอัจฉริยะ การชั่งน้ำหนักอัจริยะ ถังขยะอัจฉริยะ การจัดการพลังงานอัจฉริยะ ไฟถนนอัจฉริยะ การวิเคราะห์ฝูงชนในสนามกีฬา และการปิดท่อระบายน้ำอัจฉริยะ แอพพลิเคชั่นเหล่านี้เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเมืองได้อย่างมาก ตัวอย่างเช่น การลดค่าบำรุงรักษาถนนลง 20%, การลดค่าไฟสาธารณะลง 30% และการเพิ่มประสิทธิภาพการทิ้งขยะขึ้น 30% เป็นต้น นอกจากนั้น คณะราชกรรมาธิการของเมืองยานบูได้ร่วมมือกับหัวเว่ย เพื่อสร้างแพลตฟอร์มการสื่อสารแบบบูรณาการ (ICP) ซึ่งเป็นระบบจัดการเมืองที่ประกอบด้วยแพลตฟอร์มข้อมูล IoT, แพลตฟอร์มบิ๊กดาต้า, แพลตฟอร์มการผสานข้อมูล และศูนย์สั่งการแบบองค์รวม ระบบ ICP ได้ช่วยเมืองยานบูในด้านการจัดการโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะอัจฉริยะ การตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน การบังคับใช้กฎหมายอัจฉริยะ ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเมือง
https://photos.prnasia.com/prnvar/20171116/1994656-1-b
ผู้เข้ารอบสุดท้ายชิงรางวัลเมืองยอดเยี่ยม: โครงการนวัตกรรมอัจฉริยะของเมืองเหวยฟาง ช่วยยกระดับความอยู่ดีมีสุขในสังคม
บนพื้นฐานของหลักการในการ "ให้มนุษย์เป็นศูนย์กลางและให้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน" เมืองเหวยฟางได้นำบิ๊กดาต้า คลาวด์คอมพิวติ้ง โมบายล์อินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ เพื่อเปิดตัวโครงการ Smart Weifang 3.0 โครงการนี้เป็นการสร้าง "ลูกตา" เพื่อสอดส่องดูแลความเคลื่อนไหวในเมืองได้ตลอดเวลา และได้สร้าง "สมอง" เพื่อการส่งข้อมูลอย่างอัจฉริยะ นวัตกรรมมมากมายเช่น แอพ "WeiV", บัตรสมาร์ทพาส VPai สำหรับเดินทางในเมือง และศูนย์ปฏิบัติการเมืองอัจฉริยะนั้น ทำให้บริการสาธารณะและการจัดการเมืองมีความเป็นอัจฉริยะแบบนาทีต่อนาที เมืองเหวยฟางร่วมมือกับหัวเว่ยในการสร้างเครือข่ายแจ้งเตือนภายในเมืองด้วยเทคโนโลยี NB-IoT เครือข่าย IoT นี้ใช้โมเดลการพัฒนาในรูปแบบ "One Network, One Platform, and N Applications" เพื่อให้บริการในระดับนวัตกรรมแก่ประชาชนและภาคธุรกิจ เช่น ระบบการพยาบาลอัจฉริยะ ระบบไฟถนนอัจฉริยะ และเกษตรกรรมอัจฉริยะ โดยใช้ประโยชน์จากการผสานข้อมูล IoT ขั้นสูงทั่วทั้งเมืองในแบบเรียลไทม์ ทั้งยังทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลบิ๊กดาต้าของเมือง
ผู้เข้ารอบสุดท้ายชิงรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม: โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ระบบไมโครกริด ช่วยแคเมอรูนพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
แคเมอรูนได้นำโซลูชั่นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ระบบไมโครกริดมาใช้แทนโซลูชั่นการผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบเดิมๆ ด้วยการพัฒนาสายส่งไฟฟ้าแรงดันกลางและแรงดันสูง รวมถึงสถานีพลังงานน้ำ โดยโซลูชั่นโรงไฟฟ้าพลังงานแบบใหม่นี้สามารถติดตั้งได้เร็ว ใช้เงินลงทุนน้อย และช่วยรัฐบาลท้องถิ่นในการจ่ายไฟฟ้าไปยังพื้นที่ชนบท โครงการนี้ได้ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมและท้องถิ่นในหลายด้าน เช่น การศึกษา การรักษาพยาบาล การสื่อสาร และการผลิต จนถึงปัจจุบัน โครงการนี้ได้ช่วยพัฒนาสังคมท้องถิ่นเป็นอย่างมาก โดยช่วยให้หมู่บ้านในชนบทกว่า 166 แห่งซึ่งมีประชากรรวม 120,000 คนมีไฟฟ้าใช้ เพิ่มอัตราการเข้าเรียนของเด็ก และยังช่วยสร้างงานกว่า 1,000 อัตรา นอกจากนี้ ระบบมิเตอร์ไฟฟ้าแบบออฟ-กริดของหัวเว่ยยังช่วยให้ผู้ประกอบการไฟฟ้าแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับวิธีการเก็บค่าไฟฟ้า ซึ่งทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างยั่งยืน
ในฐานะผู้จัดหาโซลูชั่น ICT เพียงรายเดียวในอุตสาหกรรมที่สามารถนำเสนอโซลูชั่น cloud-pipe-device ได้อย่างครบวงจร หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะเชื่อมโยงโลกดิจิทัลและโลกกายภาพในเมืองต่างๆ ตลอดจนสร้างระบบสมองของเมืองอัจฉริยะ หัวเว่ยมีความตื่นตัวต่อการร่วมสร้างแพลตฟอร์มและระบบนิเวศแบบเปิด เพื่อขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรม เติบโตไปกับพันธมิตรและลูกค้า มอบการออกแบบเมืองอัจฉริยะระดับสูงให้แก่ลูกค้า และช่วยเหลือลูกค้าในการใช้งานโซลูชั่นเมืองอัจฉริยะ ปัจจุบันโซลูชั่นเมืองอัจฉริยะของหัวเว่ยได้ช่วยสนับสนุนเมืองต่างๆมากกว่า 40 เมือง ใน 120 ประเทศทั่วโลก
รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20171116/1994656-1-a
รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20171116/1994656-1-b