เซินเจิ้น, จีน--1 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
Groupe BPCE กลุ่มธนาคารรายใหญ่อันดับ 2 ของฝรั่งเศส และติดอันดับที่ 104 บนทำเนียบ Fortune Global 500 ปี 2017 มีฐานการดำเนินงานที่หยั่งรากลึกในตลาดท้องถิ่น ด้วยจำนวนพนักงาน 108,000 คน และสำนักงานสาขาราว 8,000 แห่งที่คอยให้บริการลูกค้าจำนวน 31.2 ล้านราย เครือบริษัทดำเนินธุรกิจในแวดวงธนาคารและประกันภัย ด้วยบริการที่รังสรรค์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าและภูมิภาคต่างๆให้มากที่สุด กลุ่ม BPCE ประกอบด้วยธนาคาร Banque Populaire ทั้งสิ้น 15 สาขา ธนาคาร Caisses d'Epargne 16 สาขา นอกจากนี้ยังมี Natixis, Credit Foncier, Banque Palatine และอื่นๆ
Groupe BPCE นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ครอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นโซลูชั่นออมทรัพย์และการลงทุน บริการบริหารจัดการเงินสด โซลูชั่นการระดมทุน ประกันภัย และบริการการเงินสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ Groupe BPCE ดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นการเป็นสถาบันการเงินแบบสหกรณ์ เพื่อช่วยสานฝันลูกค้าในการทำโครงการต่างๆให้เป็นจริง ขณะเดียวกันก็สานความสัมพันธ์อันยาวนานกับลูกค้าด้วย ด้วยเหตุนี้ทางกลุ่มธนาคารจึงช่วยขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของฝรั่งเศสคิดเป็นสัดส่วนถึง 20%
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆมีความหลากหลายมากขึ้น ส่งผลให้โครงสร้างเครือข่ายพื้นฐานมีข้อกำหนดที่จำเป็นใหม่ๆมากมาย ดังนั้น BPCE จึงจำเป็นต้องเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ระบบดิจิทัล และการที่ BPCE ได้ตัดสินใจยกเครื่องเครือข่ายสาขาครั้งนี้ จะทำให้ BPCE ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆอะไรบ้าง?
ความท้าทาย
การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลเป็นกุญแจสำคัญสำหรับธนาคารทั้งหลายที่ทุ่มเทให้กับการคิดค้นบริการใหม่ๆแก่ลูกค้าด้วยสถาปัตยกรรมยุคใหม่ เช่น แพลตฟอร์มบริการผ่านระบบคลาวด์ หรือบริการรูปแบบใหม่ๆ เช่น บริการธุรกรรมเสมือนจริง Virtual Teller Machine (VTM) ปัจจุบันเครือข่าย Wi-Fi ศักยภาพสูงยังคงถูกนำไปใช้อย่างต่อเนื่อง โดยเครือข่ายเหล่านี้จำเป็นต้องปรับขนาดได้ และมีสมรรถนะสูงพอที่จะรองรับความต้องการได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า
ธุรกิจสำคัญเริ่มหันไปทำบนระบบออนไลน์กันมากขึ้น แต่หากเกิดความล้มเหลวแม้เพียงครั้งเดียว ก็อาจทำให้องค์กรต้องสูญเงินมหาศาล รวมทั้งเสียชื่อเสียงด้วย ดังนั้น โปรโตคอลป้องกันความซ้ำซ้อนและฟังก์ชั่นแบบครบวงจรที่ฉับไวจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเครือข่ายต่างๆ
ธุรกิจการเงินมีความแตกต่างจากธุรกิจทั่วๆไปตรงที่ธุรกิจการเงินต้องการความปลอดภัยที่มากกว่า ดังนั้น BPCE จึงให้ความสำคัญกับการออกแบบเครือข่ายให้มีความปลอดภัย ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแค่ความปลอดภัยของอุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงความปลอดภัยของเครือข่ายและผู้ใช้งานด้วย
ผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายนี้ช่วยให้ BPCE มีธุรกิจ ลูกค้า และรายได้ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น ยังสร้างความท้าทายใหม่ๆให้กับเครือข่ายต่างๆ ทั้งการเพิ่มนโยบายรักษาความปลอดภัยและความถี่ในการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ ซึ่งความท้าทายเหล่านี้ต้องการเครือข่ายที่เข้ามาช่วยสนับสนุนให้การบริหารจัดการและการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างราบรื่น มิเช่นนั้นแล้วโครงสร้างก็อาจไม่สามารถรับมือกับการพัฒนาบริการทางการเงินได้
โซลูชั่นหัวเว่ย
หัวเว่ยนำเสนอโซลูชั่น Agile Network ซึ่งประกอบไปด้วยสวิทช์ตระกูล S5700-LI ประสิทธิภาพสูง ซึ่งมีความสามารถในการเข้าถึงได้ทั้งสวิทช์, eSight และระบบบริการจัดการเครือข่าย (NMS) โดย S5700-LI จะช่วยสนับสนุนพอร์ตอัปลิงค์ 10GE SFP+ และพอร์ต PoE/PoE+ ซึ่งทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับโทรศัพท์ IP, กล้องถ่ายรูป และอุปกรณ์กระจายสัญญาณ Wi-Fi โดย eSight นี้ช่วยให้ BPCE สามารถจัดการกับเครือข่ายได้อย่างง่ายดาย
ประโยชน์
S5700-LI รองรับการส่งสัญญาณจากสายสัญญาณดาวน์ลิงค์ GE มายังสายสัญญาณอัปลิงค์ 10GE ซึ่งรองรับความหลากหลายของแอปพลิเคชั่นต่างๆอย่างวีดีโอความคมชัดสูง (HD) และระบบ Wi-Fi ประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ S5700-LI ยังสามารถจ่ายกระแสไฟ PoE+ 30 W ให้กับอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงที่ต้องใช้ไฟมากอย่างอุปกรณ์กระจายสัญญาณ Wi-Fi รุ่นใหม่อีกด้วย
S5700-LI ช่วยให้เทคโนโลยี Huawei Intelligent Stack (iStack) สามารถปรับขนาดได้มากขึ้น โดย iStack เป็นเทคโนโลยีที่หัวเว่ยพัฒนาขึ้นเพื่อปรับเปลี่ยน S5700-LI ไปเป็นฟังก์ชั่นการทำงานแบบอุปกรณ์สวิทช์ลอจิกเดียว เพื่อลดความยุ่งยากในการจัดการและอำนวยความสะดวกให้กับเครือข่าย
ในฐานะกลุ่มธนาคารรายใหญ่อันดับ 2 ของฝรั่งเศส BPCE จึงต้องการความปลอดภัยที่สูงมาก ซึ่ง S5700-LI ก็ได้เข้ามาช่วยยกระดับการป้องกันภัยคุกคามบนระบบคอมพิวเตอร์เพื่อปกป้องอุปกรณ์, รักษาความปลอดภัยของพอร์ต และควบคุมการส่ง broadcast เพื่อปกป้องเครือข่าย รวมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของผู้ใช้งาน และยืนยันตัวตนของ MAC และ Portal เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโจมตีจากช่องทางที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ
นอกจากนี้ S5700-LI ยังรองรับเทคโนโลยี Advanced Hibernation Management (AHM) โดยออกแบบมาพร้อมเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดพลังงาน อาทิ Energy Efficient Ethernet (EEE), ตัววัดกำลังไฟที่พอร์ต การปรับความถี่ CPU และโหมดพักการทำงานของอุปกรณ์ เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยลดการใช้ไฟโดยสามารถปรับกำลังไฟได้ ขึ้นอยู่กับสภาพอัปลิงค์และดาวน์ลิงค์ การมีหรือไม่มีโมดูลแบบออปติคอล พอร์ตปิดและเปิดการทำงาน และช่วงเวลาที่ใช้ไฟมากหรือน้อย โดย AHM ช่วยให้ BPCE สามารถลดต้นทุนได้มากขึ้น
ในที่สุด Huawei eSight ก็ช่วยให้ BPCE สามารถบริหารจัดการเครือข่ายได้ง่ายขึ้น โดยระบบรองรับการจัดการแบบรวมศูนย์ของเครือข่ายพื้นฐานระดับองค์กร การจัดการอุปกรณ์เครือข่ายของหัวเว่ย การดูแล WLAN และระบบ ตลอดจนการควบคุมและวิเคราะห์คุณภาพเครือข่าย นอกจากนี้ eSight ยังมอบแพลตฟอร์มแบบเปิดที่มีความยืดหยุ่น ซึ่งเปิดทางให้องค์กรต่างๆสามารถปรับปรุงระบบการจัดการเครือข่ายอัจฉริยะได้ตามต้องการ โดย BPCE สามารถใช้ฟังก์ชั่นการจัดการระบบของ eSight เพื่อปรับนโยบายได้อย่างยืดหยุ่นตามความต้องการ
ด้วยความช่วยเหลือของหัวเว่ย BPCE จึงประสบความสำเร็จในการปรับปรุงเครือข่ายสาขาของพวกเขา ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งหลักชัยใหม่ของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลของพวกเขา
ปัจจุบันมีบริษัท 197 แห่งที่ติดทำเนียบ Fortune Global 500 และองค์กรชั้นนำระดับโลก 45 จาก 100 แห่ง ที่วางใจเลือกหัวเว่ยเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์เพื่อช่วยในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่ http://e.huawei.com/topic/leading-new-ict-en/index.html?utm_campaign=lni17-minisiteen&utm_medium=hwdc&utm_source=ebghome-en&source=eebghq175155l