ดัชนีบ่งชี้ความสามารถพิเศษระดับโลกระบุจีนนำประเทศในเอเชียแปซิฟิคท้าสู้ในสงครามแย่งชิงความสามารถพิเศษเป็นครั้งแรก

ข่าวต่างประเทศ Monday October 1, 2007 09:39 —Asianet Press Release

ลอนดอน--1 ต.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
ประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิค เพิ่มความท้าทายต่อสหราชอาณาจักร และยุโรป เมื่อพิจารณาถึงการสร้างและอบรมคนที่มีความสามารถพิเศษ ครั้งแรกของการเปิดเผยถึงดัชนีบ่งชี้ความเก่งระดับโลก (Global Talent Index - GTI)
จีนจะเป็นผู้นำ บนพื้นฐานของการเป็นประเทศที่มีประชากรที่มากที่สุดในโลก ในการปรับปรุงระบบการศึกษา และตลาดแรงงานในห้าปีข้างหน้า ดัชนีนี้สร้างขึ้นโดยบริษัทที่ให้บริการด้านการค้นหาผู้บริหาร ไฮดริก แอนด์ สตรักเกิลส์ และ อีคอนอมิสท์ อินเทลลิเจนต์ ยูนิต (the Economist Intelligence Unit) โดยอันดับความเป็นผู้นำของจีนจะเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 8 จากประเทศที่มี GTI แข็งแกร่งที่สุด 30 แห่งในปีพ.ศ. 2550 ขึ้นไปเป็นอันดับที่ 6 ในปีพ.ศ. 2555 โดยเป็นผู้นำในประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก แทนประเทศออสเตรเลียที่จะตกลงจากอันดับ 7 ลงไปอยู่ที่อันดับ 8
ดัชนี GTI แสดงให้เห็นว่าความเชื่อเกี่ยวกับ 'BRIC' (บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย และ จีน) ควรจะเปลี่ยนให้ชัดเจนเหลือแค่ 'IC' เมื่อมาถึงคำว่าคนที่มีความสามารถพิเศษในขณะที่ จีน และอินเดีย จัดอยู่ใน 10 อับดับแรกของโลกที่มีความสามารถ รัสเซียจะตกจากอันดับ 6 ไปเป็นอันดับ 11 ภายในปีพ.ศ. 2555 ในขณะที่บราซิลจะตกลงจากที่ 18 ไปอยู่ที่ 19
ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีผลงานที่แข็งแกร่งโดยรวม ทั้ง มาเลเซีย, เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น รวมถึง จีน อินเดีย และ ออสเตรเลีย ที่จะเป็น15 อันดับแรกในปีพ.ศ. 2555 โดยอินเดียจะรักษาตำแหน่งที่10 ในดัชนี ตามมาด้วยมาเลเซีย ที่จะยังคงอยู่ในอันดับ 12 เกาหลีใต้ จะขึ้นจากอันดับ 15 เป็น 13 และ ญี่ปุ่น (จากอันดับที่ 16 เป็น 14) ไทยจะยังคงรักษาอันดับที่ 22 และ อินโดนีเซีย จะยังคงอยู่ในตำแหน่ง 29
ดัชนีระบุว่า เกาหลีใต้ มีมหาวิทยาลัย และโรงเรียนทางธุรกิจที่ดีที่สุดในเอเชียแปซิฟิค ขณะที่ญี่ปุ่นได้อันดับสูงสุดในประเทศแถบนี้สำหรับคุณภาพของการศึกษาภาคบังคับ และคุณภาพของสิ่งแวดล้อมในการอบรมคนเก่ง นอกจากการรักษาตำแหน่งโดยรวม อันดับของไทยเกี่ยวกับดัชนีความสามารถในการเคลื่อนย้าย และการเปิดของตลาดแรงงานจะตกลงอย่างมากจากที่ 13 เป็น 26 ซึ่งเป็นการตกลงบนดรรชนีเดียวที่มากที่สุดของประเทศต่างๆ ในการวัดระดับดังกล่าว
ดัชนี GTI เป็นการสำรวจครั้งแรกในเรื่องนี้โดยมีเป้าหมายที่จะจัดหาข้อมูลให้กับธุรกิจต่างๆ เกี่ยวกับสถานที่ที่คนมีความสามารถพิเศษอาศัยอยู่ทั่วทั้งโลก ซึ่งในปัจจุบันจะจัดทำทุกๆ ห้าปี โดยสามสิบประเทศถูกเลือกมาจัดอันดับนั้นจะได้รับการสำรวจบนพื้นฐานของภูมิศาสตร์ และคุณภาพของข้อมูลเปรียบเทียบ
เจอร์รี่ เดวิส หุ้นส่วนผู้จัดการของไฮดริก แอนด์ สตรักเกิลส์ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค กล่าวว่า "การเลื่อนอันดับขึ้นของจีน แสดงให้เห็นว่า เอเชียแปซิฟิค เริ่มที่จะเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาคนที่มีความสามารถพิเศษ และผลงานที่แข็งแกร่งของ ออสเตรเลีย, อินเดีย, มาเลเซีย, เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น พิสูจน์ ให้เห็นถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค"
ขณะที่ผลสำรวจบ่งชี้ว่า สหรัฐอเมริกาจะยังคงรักษาตำแหน่งในฐานะประเทศผู้นำของโลกสำหรับการอบรม และพัฒนาคนเก่งในห้าปีข้างหน้า ส่วนสหราชอาณาจักรจะเลื่อนขึ้นจากที่สี่เป็นที่สองในปี พ.ศ. 2555 ตามด้วย แคนาดา, เนเธอร์แลนด์ และ สวีเดน
นอกจากผลงานที่แข็งแกร่งโดยรวมของสหรัฐอเมริกาแล้ว ตลาดแรงงานจะแคบลง และยืดหยุ่นน้อยลงในห้าปีข้างหน้า ท่ามกลางความกลัวของการก่อการร้ายซึ่งจะอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลก ในการวัดนี้อันดับเดียวเหนือจีน
เควิน เคลลี่ ซีอีโอ ของ ไฮดริก แอนด์ สตรักเกิลส์ กล่าวว่า "จนถึงปัจจุบัน บริษัทอาจจะรับรู้ว่าประเทศใดดึงดูดและพัฒนาคนที่มีความสามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด แต่วัตถุประสงค์ของข้อมูลนี้มีขึ้นเพื่อสนับสนุนการรับรู้นั้นๆ
"ถ้าคนที่มีความสามารถพิเศษคือ ทรัพยากรที่ขับเคลื่อนอนาคต เราต้องการที่จะชี้จุดฮ๊อตสปอต เพื่อระบุการสำรองและ รู้ถึงการเติบโตของมัน ซึ่งดัชนีบ่งชี้ความเก่งระดับโลกจะทำให้เราสามารถดำเนินการต่อไปได้"
ดัชนีนี้เป็นผลมาจากการทำงานร่วมกันระหว่าง ไฮดริก แอนด์ สตรักเกิลส์ และ อีคอนอมิสท์ อินเทลลิเจนต์ ยูนิต ซึ่งเป็นเป็นเครื่องชี้วัดโอกาสของแต่ละประเทศในการผลิตคนที่มีความสามารถพิเศษ และเงื่อนไขจำเป็นในการรับรู้ถึงโอกาสนั้นๆ ทั้งนี้ การวัดระดับต่างๆ กันเจ็ดประเภท ถูกใช้ในการประเมินประเทศต่างๆ ได้แก่ ประชากรศาสตร์, คุณภาพของระบบการศึกษาภาคบังคับ, คุณภาพของมหาวิทยาลัย และโรงเรียนทางธุรกิจ, คุณภาพของสิ่งแวดล้อมในการอบรมคนที่มีความสามารถ, ความสามารถในการเคลื่อนย้าย และการเปิดตลาดแรงงาน, แนวโน้มของการลงทุนโดยตรงของต่างชาติ และ แนวโน้มในการดึงดูดผู้ที่มีความสามารถพิเศษ
เกี่ยวกับ ไฮดริก แอนด์ สตรักเกิลส์
ไฮดริก แอนด์ สตรักเกิลส์ (Nasdaq: HSII) ก่อตั้งในปีพ.ศ. 2496 และเป็นที่รู้จักกันในนามของบริษัทผู้นำในการให้บริการด้านการค้นหาผู้บริหารในระดับโลก ที่มีสำนักงาน 61 แห่งในเมืองสำคัญๆ ของ 32 ประเทศ โดยบริษัทช่วยให้ลูกค้าเห็นถึงปัญหาด้านกลยุทธ์ โดยการให้บริการโซลูชั่นที่เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ ในเวลาของการเติบโต, การเปลี่ยนแปลง, การเข้าถือครอง, การควบรวมกิจการ, การขยายเข้าสู่ตลาดใหม่ และ ตอบสนองต่อความแปลี่ยนแปลงทางเศรษฐศาสตร์
ด้วยประสิทธิภาพด้านการค้นหาผู้บริหารในระดับโลก, การบริการความเป็นผู้นำ และความสามารถในการจัดการชั่วคราว ทำให้ไฮดริก แอนด์ สตรักเกิลส์ สามารถรวมเอาโปรแกรมตามความต้องการของลูกค้ากับความท้าทายกับความเป็นผู้นำในแบบต่างๆ ที่เป็นปัญหาของลูกค้า องค์กรนี้มีความภูมิใจในตนเองในความสัมพันธ์ และการเข้าถึงคนเก่งๆ มากมายทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
http://www.heidrick.com
แหล่งข่าว ไฮดริก แอนด์ สตรักเกิลส์
บันทึกถึงบรรณาธิการ: รูปภาพต่างๆ มีอยู่ที่ http://www.heidrickone.com/mediakits/gti /
ติดต่อ: สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือนัดสัมภาษณ์ กรุณาติดต่อ กอง คอมมูนิเคชั่นส์ +44-(0)207-935-4800, narda@gongcommunications.com/
เว็บไซต์: http://www.heidrick.com /
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ