ปักกิ่ง--24 พ.ค.--ซินหัว-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
China Economic Information Service (CEIS) ในเครือสำนักข่าวซินหัว ร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่นของอำเภอเฉิงไม่ มณฑลไห่หนาน เผยแพร่รายงานการพัฒนาของอุตสาหกรรมกล้วยในประเทศจีน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา
รายงานดังกล่าวคาดการณ์ว่า พื้นที่เพาะปลูกกล้วยและผลผลิตในประเทศจีนจะลดลงในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
รายงานระบุว่า แม้จีนจะเป็นผู้เพาะปลูกกล้วยรายใหญ่ แต่กลับไม่มีอำนาจมากนักในแง่ของการค้า ซึ่งความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติของอุตสาหกรรมกล้วยจีนนั้นยังเป็นไปอย่างจำกัด และยังมีโอกาสที่จะพัฒนาได้อีก โดยในปี 2559 ส่วนแบ่งการตลาด (MS) ดัชนีความสามารถในการแข่งขันทางการค้า (TC) และดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (RCA) ของอุตสาหกรรมกล้วยจีน อยู่ในลำดับที่ 43, 73 และ 77 ของโลก ตามลำดับ
รายงานชี้ให้เห็นว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมการแปรรูปกล้วยในเชิงลึกของจีนยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ และยังไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัยที่จะมาช่วยผลักดันการผลิตกล้วยในระดับอุตสาหกรรม หากเทียบกับผลิตภัณฑ์กล้วยของประเทศอื่น ๆ เช่น แป้งกล้วย และ ซอสกล้วย อาจกล่าวได้ว่าบริษัทแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยของจีนนั้น เป็นผู้เล่นน้องใหม่ ที่ยังอ่อนด้อยในเรื่องความหลากหลายของผลิตภัณฑ์
เค่อ โหย่วเผิง หัวหน้าสถาบันวิจัยเกษตรกรรมเขตร้อนและเศรษฐกิจชนบทแห่งมณฑลไห่หนาน กล่าวว่า ในปี 2561 อุปทานกล้วยทั่วประเทศคาดว่าจะลดลง และอาจจะส่งผลให้ราคากล้วยในตลาดปรับตัวขึ้นสูงกว่าช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ส่วนพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกกล้วยโดยเฉพาะนั้น คาดว่าจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น และแบรนด์ต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมกล้วยจีนจะเป็นที่รู้จักมากขึ้น
ไห่หนานเป็น 1 ใน 5 ของพื้นที่เพาะปลูกกล้วยขนาดใหญ่ที่สุดในจีน รายงานระบุว่า ในปี 2559 พื้นที่เพาะปลูกกล้วยในมณฑลไห่หนานอยู่ที่ราว 35,300 เฮกเตอร์ โดยสามารถผลิตกล้วยได้ประมาณ 1.26 ล้านตัน และมีมูลค่าของผลผลิตสูงถึง 3.896 พันล้านหยวน ขณะที่ในปี 2560 อัตราส่วนต้นทุนต่อกำไรของผู้เพาะปลูกกล้วยในมณฑลไห่หนานอยู่ที่ 13.2% ลดลง 46.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี
ที่มา: China Economic Information Service (CEIS)
ลิงค์ภาพประกอบข่าว:
http://asianetnews.net/view-attachment?attach-id=312871
AsiaNet 73668