ดาร์มสตัดท์, เยอรมนี--13 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
- ผลงานเขียนร่วมกัน เรื่อง "Ethical Considerations in the Manufacture, Sale and Distribution of Genome-Editing Technologies" ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำด้านชีวจริยธรรม
- ชูความสำคัญของชีวจริยธรรมในการปรับแต่งจีโนมและการสร้างจีโนมใหม่ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีของเมอร์คได้มาตรฐานสูงสุด
เมอร์ค ( Merck ) บริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ และผู้นำด้านการปรับแต่งจีโนม ประกาศว่า บทความเกี่ยวกับประเด็นจริยธรรมในการปรับแต่งจีโนมที่ยังไม่เคยมีการเผยแพร่มาก่อน ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสาร The American Journal of Bioethics ฉบับเดือนกรกฎาคมนี้ นอกจากนี้ ยังได้มีการเผยแพร่บทความฉบับย่อใน บล็อก ของ The American Journal of Bioethics ด้วย
"การตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า เมอร์คเป็นผู้บุกเบิกตัวจริงในด้านจริยธรรม" อูดิท บาทรา สมาชิกคณะกรรมการบริหารของเมอร์ค และซีอีโอกลุ่มธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ (Life Science) กล่าว "เมอร์คได้จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านชีวจริยธรรม (Bioethics Advisory Panel) ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านชีวการแพทย์จากทั่วโลก เพื่อชี้แนะแนวทางการวิจัยในสาขาที่ธุรกิจของเมอร์คได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการค้นคว้าวิจัยและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการตัดแต่งจีโนม เราให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับงานเขียนชิ้นนี้"
ผู้เชี่ยวชาญจากคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านชีวจริยธรรมของเมอร์ค จากส่วนธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ ( Life Science ) และธุรกิจบริการสุขภาพ ( Healthcare ) ของเมอร์ค รวมถึงส่วนงานองค์กรสัมพันธ์ (Corporate Affairs) ของบริษัท ได้ร่วมกันเขียนบทความชิ้นนี้ขึ้น เพื่ออภิปรายเกี่ยวกับประเด็นจริยธรรมที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับกระบวนการค้นคว้า การพัฒนา การผลิต การขายและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีตัดแต่งจีโนม อาทิ Clustered Regularly Interspaced Short Palindromic Repeat (CRISPR)
"เราได้รวมความรับผิดชอบที่สำคัญของผู้จัดจำหน่ายอย่างเช่น เมอร์ค ไว้ในผลงานตีพิมพ์ฉบับนี้" ดร. โจเชิน ทอพิตซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจริยธรรมที่มีชื่อเสียง และศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมันน์ไฮม์ ซึ่งเป็นผู้ร่วมเขียนบทความ กล่าว นอกจากนี้ ทอพิตซ์ยังเป็นสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านชีวจริยธรรมของเมอร์คด้วย
"ในฐานะบริษัทที่เป็นผู้ริเริ่มการพัฒนานวัตกรรมการปรับแต่งจีโนม เมอร์คตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาและปฏิบัติตามกรอบชีวจริยธรรมบนพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์" สตีเวน ฮิลเดอร์มันน์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการแพทย์ ส่วนธุรกิจบริการสุขภาพของเมอร์ค ซึ่งเป็นผู้เขียนอาวุโสของบทความชิ้นนี้ กล่าว "ผลงานตีพิมพ์ชิ้นนี้อธิบายถึงแนวทางใหม่ในการรับรองว่าผลิตภัณฑ์ปรับแต่งจีโนมของเรานั้นได้มาตรฐานสูงสุดทั้งในแง่ของการพัฒนาและจัดจำหน่าย โดยเป็นไปตามแนวปฏิบัติด้านชีวจริยธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว"
คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านชีวจริยธรรม (Bioethics Advisory Panel) ของเมอร์ค กำหนด จุดยืน การดำเนินงานที่ชัดเจน โดยพิจารณาถึงประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม เพื่อรายงานแนวทางการรักษาที่มีความหวังว่าจะสามารถนำไปใช้ในการวิจัยและการประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ
CRISPR เป็นวิธีการปรับแต่งจีโนมที่ได้รับความนิยม โดยทำหน้าที่เสมือนกรรไกรทางพันธุกรรม เพื่อนำยีนที่มีอยู่เดิมออกหรือแทนที่ด้วยยีนใหม่ สลับสับเปลี่ยนยีน หรือแทรกยีนใหม่ได้แม่นยำอย่างที่คาดไม่ถึง ผลงานตีพิมพ์ชิ้นนี้เกิดขึ้นจากประสบการณ์ด้านการพัฒนาและขายเทคโนโลยีปรับแต่งจีโนม CRISPR ที่ธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ของบริษัทได้สั่งสมมาตลอดระยะเวลา 13 ปี
ธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ของเมอร์คได้รับสิทธิบัตรในออสเตรเลีย แคนาดา จีน ยุโรป อิสราเอล สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ โดยครอบคลุมเทคโนโลยี CRISPR ที่เป็นพื้นฐาน สิทธิบัตร CRISPR ของบริษัท มุ่งไปที่การรวมโครโมโซม หรือการตัดลำดับของเซลล์ยูคาริโอต และการแทรกลำดับดีเอ็นที่สังเคราะห์จากภายนอกร่างกาย เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางจีโนม นักวิทยาศาสตร์สามารถแทนที่การกลายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับโรค ด้วยลำดับยีนที่เป็นประโยชน์หรือสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งเป็นกลวิธีที่มีความสำคัญต่อการสร้างแบบจำลองโรค และนำไปสู่แนวทางการรักษาด้วยยีนในรูปแบบใหม่ ๆ
เมอร์คได้สร้างผลงานที่มีความสำคัญต่อแวดวงการปรับแต่งจีโนม โดยเมอร์คเป็นบริษัทแรกที่นำเสนอบริการชีวโมเลกุลตามสั่งสำหรับการปรับแต่งจีโนม (TargeTron(TM) RNA-guided group II introns and CompoZr(TM) zinc finger nucleases) ซึ่งขับเคลื่อนการใช้เทคนิคเหล่านี้ในแวดวงการวิจัยทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นบริษัทแรกที่สร้างไลบรารี CRISPR ครอบคลุมจีโนมมนุษย์ทั้งหมด ทำให้นักวิจัยสามารถสำรวจต้นตอของปัญหาได้มากขึ้นและพัฒนาวิธีการรักษาได้เร็วขึ้น
อ่านบทความเรื่องชีวจริยธรรมในการปรับแต่งจีโนมได้ในวารสาร The American Journal of Bioethics ฉบับออนไลน์:
http://www.bioethics.net/2018/05/ethical-considerations-in-the-manufacture-sale-and-distribution-of-genome-editing-technologies/
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลงานของเมอร์คในด้านการปรับแต่งจีโนม สามารถดูได้ที่ https://www.merckgroup.com/en/stories/350-anniversary-its-all-in-the-genes.html และ
http://ar.merckgroup.com/2017/magazine/new-ways-of-identifying-disease .
ติดตามเมอร์คได้ทาง Twitter @Merckgroup, Facebook @merckgroup และ LinkedIn
ข่าวประชาสัมพันธ์ทั้งหมดของเมอร์คได้รับการเผยแพร่ผ่านทางอีเมลในเวลาเดียวกับที่มีการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของเมอร์ค กรุณาเข้าไปที่ www.merckgroup.com/subscribe เพื่อลงทะเบียนออนไลน์ เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกบริการนี้
เกี่ยวกับ เมอร์ค
เมอร์ค คือบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำในด้านการดูแลสุขภาพ ชีววิทยาศาสตร์ และเพอร์ฟอร์แม้นซ์ แมททิเรียล พนักงานเกือบ 53,000 คนของบริษัทได้ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่ช่วยปรับปรุงและยกระดับคุณภาพชีวิต ตั้งแต่ยาชีวภาพเพื่อรักษาโรคมะเร็งหรือโรคปลอกประสาทอักเสบ ระบบที่ทันสมัยสำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการผลิต ไปจนถึงผลึกเหลวที่ใช้กับจอแสดงผลสมาร์ทโฟนและโทรทัศน์ LCD ทั้งนี้ ในปี 2560 เมอร์คทำยอดขายได้ 1.53 หมื่นล้านยูโร ใน 66 ประเทศ
เมอร์ค เป็นบริษัทเภสัชภัณฑ์และเคมีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2211 และปัจจุบันครอบครัวผู้ก่อตั้งยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของกลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมอร์คครอบครองสิทธิ์ในชื่อและแบรนด์ "เมอร์ค" ทั่วโลก ยกเว้นในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งบริษัทดำเนินธุรกิจในชื่อ อีเอ็มดี เซโรโน, มิลลิพอร์ซิกมา และอีเอ็มดี เพอร์ฟอร์แมนซ์ แมททีเรียลส์
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/703938/Ethicalgeneediting.jpg