ศูนย์วิจัยธุรกิจค้าปลีกชี้มูลค่าความเสียหายจากการโจรกรรมสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วโลกสูงแตะ 9.86 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ข่าวต่างประเทศ Thursday December 6, 2007 09:35 —Asianet Press Release

ฮ่องกง--6 ธ.ค.--ซินหัว-พีอาร์นิวสไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
มูลค่ามหาศาลของการโจรกรรมในร้านค้าปลีกเทียบเท่ากับอัตราการชำระ "ภาษี" ต่อปีของผู้บริโภคทั่วโลกที่ 283.61 ดอลลาร์สหรัฐต่อครัวเรือน และสำหรับประเทศไทยที่ 52.14 ดอลลาร์สหรัฐต่อครัวเรือน
การศึกษาระดับการโจรกรรมในธุรกิจค้าปลีกทั่วโลก
(The Global Retail Theft Barometer) ที่จัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกโดยศูนย์วิจัยธุรกิจค้าปลีกในเมืองนอตติ้งแฮม สหราชอาณาจักร ภายใต้การสนับสนุนของบริษัท เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ นับเป็นการริเริ่มความพยายามในการติดแถบป้องกันการขโมยสินค้า เพื่อป้องกันเหตุโจรกรรมในร้านค้าปลีกทั่วโลก โดยการศึกษาดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริง ใหม่ๆ เกี่ยวกับระดับความรุนแรงที่แท้จริงของการสูญหาย และการโจรกรรมสินค้าในร้านค้าปลีก 32 ประเทศทั่วโลก ซึ่งประกอบด้วย 25 ประเทศในยุโรปกลางและยุโรปตะวันตก รวมถึง สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ป่น สิงคโปร์ และประเทศไทย
ในประเทศไทย จำนวนสินค้าที่สูญหายในปี 2550 คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,055 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นอัตราการ สูญหายของสินค้าโดยเฉลี่ยที่ 1.65% ของยอดขายทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนอยู่ที่ -6.3% เมื่อเทียบกับ 1.76% ในปี 2549 ซึ่งการที่สินค้าในร้านค้าปลีกของไทยสูญหายนั้น 47.5% มีสาเหตุมาจากถูกลูกค้าขโมย และ 24.7% เกิดจากพนักงานในร้านเอง
ข้อมูลที่ใช้ในศึกษาครั้งนี้ได้มาจากบริษัท 820 แห่ง ซึ่งดำเนินกิจการร้านค้า 138,603 ร้าน มียอดขายคิดเป็นมูลค่ารวม 948 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยผู้ค้าปลีกที่ให้ข้อมูลในครั้งนี้ เป็นร้านค้าปลีกแถบยุโรป 16% จากอเมริกาเหนือ 13% และจากเอเชียแปซิฟิก 5%
ผลสำรวจจาก 32 ประเทศระบุว่า ยอดสินค้าที่สูญหายในร้านค้าปลีกทั่วโลก (เป็นสินค้าที่สูญหายจาก การโจรกรรมหรือเป็นสินค้าที่เสียหาย คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละของยอดขาย ในร้านค้าปลีก) มีมูลค่าความเสียหาย 9.86 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นอัตรา "ภาษี" ที่พลเมืองดีทั่วโลกจ่ายให้กับรัฐบาลปีละ 283.61 ดอลลาร์สหรัฐต่อครัวเรือน และคิดเป็น 195.05 ดอลลาร์สหรัฐต่อครัวเรือนสำหรับประชาชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ขณะเดียวกัน ค่าเสียหายจากการโจรกรรมสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วโลก (ความเสียหายจากการขโมยสินค้า โดยลูกค้าและพนักงานที่ทุจริต รวมถึงซัพพลายเออร์ และผู้ขาย รวมกับค่าใช้จ่ายของการใช้ระบบป้องกันการโจรกรรม) มีมูลค่าถึง 1.081 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับร้านค้าปลีกของไทย มูลค่าการสูญหายจากการโจรกรรมสินค้าอยู่ที่ 949 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สาเหตุสำคัญอันดับแรกทั่วโลกที่ทำให้สินค้าสูญหายมาจากลูกค้าที่เข้ามาลักขโมยสินค้าในร้าน คิดเป็นสัดส่วนความสูญเสียที่ 42.0% ของสินค้าที่สูญหายทั้งหมด เป็นเงิน 4.15 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่พนักงาน ในร้านเป็นผู้ขโมยสินค้าคิดเป็น 35.2%(3.46 หมื่นล้านดอลลาร์) และ อีก 16.5% (1.62 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ของมูลค่าความสูญเสียเป็นผลจากความผิดพลาดภายในองค์กรและความผิดพลาดด้านงานธุรการ (เช่น การกำหนดราคา หรือความผิดพลาดด้านบัญชี) ขณะที่การโจรกรรมสินค้าจากพวกซัพพลายเออร์ที่ยักยอกสินค้าอยู่ที่ 6.3% ( 6.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) บรรดาร้านค้าปลีกในสหรัฐ แคนาดา และออสเตรเลีย รายงานว่า สัดส่วนของพนักงาน ที่ขโมยสินค้ามีจำนวนสูงกว่ากลุ่มลูกค้า
ร้านค้าปลีกสามารถจับกุมตัวพวกที่ก่อคดีโจรกรรมสินค้าในร้านค้าปลีกได้เกือบ 6 ล้านรายในปีนี้และ 87.5% ของการโจรกรรมสินค้าเหล่านี้มาจากกลุ่มลูกค้า โดยร้านค้าปลีกในอเมริกาเหนือจับกุมพนักงาน ที่เป็นผู้ลักขโมย สินค้าได้มากที่สุด ขณะที่ร้านค้าปลีกในยุโรปสามารถจับกุมหัวขโมยที่เป็นลูกค้าได้เป็นส่วนใหญ่ (3,481,490 ราย) ส่วนร้านค้าปลีกในประเทศไทยจับกุมมิจฉาชีพที่โจรกรรมสินค้าได้ทั้งสิ้น 16,426 ราย และ 95.6% ในจำนวนนี้อยู่ในกลุ่มลูกค้า
"ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า ในทุกประเทศพบว่าผู้ประกอบการด้านธุรกิจค้าปลีกมีระบบบริหารจัดการเพื่อลดอัตราสินค้าสูญหาย" โจชัว แบมฟิล์ด ผู้อำนวยการประจำศูนย์วิจัยธุรกิจค้าปลีกกล่าว "วิธีดังกล่าวช่วยลดอัตราการสูญหาย ซึ่งเป็นผลมาจากการกำหนดกลยุทธ์ นโยบายและการลงทุน ไม่ใช่เพราะปัจจัยอื่นใด ที่เกี่ยวข้องกับสภาพสังคม ของแต่ละประเทศ"
ปรากฏการณ์สินค้าสูญหายถือเป็นเรื่องที่เสียหายร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก" จอร์จ ออฟ ซีอีโอของเช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ กล่าว " มูลค่าความเสียหายที่มีสาเหตุมาจากสินค้าสูญหายนั้น ส่งผลกระทบต่อรายได้ ในภาคอุตสาหกรรมค้าปลีกทั่วโลก ซึ่งเป็นภาคธุรกิจที่มีบทบาททางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้วหลายแห่งขึ้นอยู่กับการขยายตัว
และ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ดังนั้นร้านค้าปลีกทั่วโลกต่างมีบทสรุปเดียวกัน คือ ลงทุนด้านโซลูชั่นการป้องกันสินค้าสูญหายเป็นการจัดการควบคุมดูแลสินค้าที่เหนือกว่า และสามารถให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุน "
ประเภทสินค้าที่ถูกโจรกรรมมากที่สุดในร้านค้าปลีกทั่วโลก
5 อันดับแรก อเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชีย-แปซิฟิก
1. เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2. เครื่องแต่งกายสตรี เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
3. น้ำหอม เครื่องแต่งกายสตรี เครื่องแต่งกายสตรี
4. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำหอม น้ำหอม
5. เสื้อผ้าจากนักออกแบบมีชื่อ ใบมีดโกน สินค้าราคาแพงและอาหารพิเศษ(เช่น เนื้อ ชีส อาหารทะเล)
การโจรกรรมภายใน
กลุ่มผู้ค้าปลีกในอเมริกาเหนือสามารถจับกุมกลุ่มผู้ขโมยสินค้าที่เป็นพนักงานในร้านได้มากกว่าร้านค้าปลีกใน
ภูมิภาคอื่นๆ โดยตัวเลขของการก่อเหตุโจรกรรมสินค้าในร้านค้าปลีกในอเมริกาเหนืออยู่ที่ 2.3 ล้านราย (28.6% เป็นพนักงานที่คาดไม่ถึงว่าจะลงมือกระทำ) ขณะที่กลุ่มผู้ค้าปลีกในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จับผู้ทำการโจรกรรมสินค้าได้ 110,000 ราย (9.1% ในจำนวนนี้เป็นพนักงานที่ทุจริต) และกลุ่มผู้ค้าปลีกในยุโรปจับกุมได้ 3.55 ล้านราย (เพียง 1.9% เป็นพนักงานที่ทุจริต)
ขณะที่ในประเทศไทย ความเสียหายจากการโจรกรรมสินค้าในร้านค้าปลีกมาจากลูกค้าที่ประพฤติตัวเป็นหัวขโมย พนักงานที่ยักยอกสินค้า และซัพพลายเออร์ที่ฉ้อโกง คิดเป็นมูลค่า 501 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 261 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 97 ล้านดอลลาร์สหรัฐตามลำดับ
ความเสียหายโดยเฉลี่ยจากปัญหาสินค้าสูญหายที่มาจากการโจรกรรมของบรรดาหัวขโมยในอเมริกาเหนืออยู่ที่ 622 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในยุโรปและเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ 112 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ อย่างไรก็ตามพนักงานที่ยักยอกทรัพย์โดยเฉลี่ยในยุโรปสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมค้าปลีกที่ 5,145 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (สะท้อนให้เห็นถึงการทุจริตด้านการเงินอย่างมหาศาล) เมื่อเทียบกับมูลค่าความเสียหาย 206 ดอลลาร์สหรัฐจากพนักงานที่เป็นหัวขโมย ซึ่งจับกุมได้ในเอเชีย-แปซิฟิก โดยในช่วงเวลาที่ทำการสำรวจนี้อยู่ ปรากฏว่าการโจรกรรมและยักยอกสินค้าจากพนักงานสร้างความเสียหายต่อร้านค้าปลีกในสหรัฐเป็นมูลค่า 1.833 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และแคนาดาเป็นเงิน 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ผลสำรวจจากผู้ค้าปลีกในประเทศไทยบ่งชี้ว่า 29.4% ของการโจรกรรมสินค้าในประเทศมักเกิดขึ้น ณ จุดชำระเงินภายในร้านค้า ขณะที่ 19.4% เกิดขึ้นบริเวณชั้นวางสินค้า และ 51.2% เกิดขึ้นในสำนักงาน บริเวณห้องลำเลียงสินค้า และห้องเก็บสินค้า
ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาความปลอดภัย
ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบป้องกันสินค้าสูญหายในร้านค้าปลีกทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 2.56 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 0.35% ของยอดขายสินค้า อัตราการใช้จ่ายด้านการป้องกันสินค้าสูญหายในอเมริกาเหนืออยู่ที่ 12.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 29.3% ของมูลค่าสินค้าที่สูญหายทั้งหมด ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงานในสหรัฐที่ใช้ในการป้องกันสินค้าสูญหาย (LP) อยู่ที่ 8.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนสินค้าอยู่ที่ 3.67 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในแคนาดาตัวเลขดังกล่าวอยู่ที่ 7 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 2.7 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐตามลำดับ ทั้งนี้ ร้านค้าปลีกในสหรัฐใช้จ่ายเงินเพื่อติดตั้งระบบป้องกันสินค้าสูญหาย คิดเป็น 0.45% ของยอดค้าปลีกทั้งหมด และ 0.40% ในแคนาดา ตัวเลขดังกล่าวสูงเกินกว่าอัตราการใช้จ่ายด้าน LP ในประเทศอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ยอดการใช้จ่าย เพื่อการป้องกันการสูญหายในยุโรปคิดเป็น 0.34% ของยอดขายทั้งหมด
กลุ่มผู้ค้าปลีกในเอเชียแปซิฟิกใช้จ่ายเงิน 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับภาษี (ค่าจ้างพนักงานและค่าบริการ) และแบ่งสันปันส่วนงบประมาณด้านการรักษาความปลอดภัยมูลค่า 877 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปเป็นค่าใช้จ่ายด้านทุน (อุปกรณ์รักษาความปลอกภัย อุปกรณ์ไอที และสินทรัพย์ระยะยาวประเภทอื่นๆ) นอกจากนี้ร้านค้าปลีกเสียภาษีที่ 0.11% ของยอดขายทั้งหมด โดยค่าใช้จ่ายด้านทุนคิดเป็น 0.07% ทั้งนี้ ผู้ค้าปลีกในไทยจ่าย 0.14% ของยอดขายสินค้า (90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) นอกเหนือจากงบประมาณด้านการป้องกันสินค้าสูญหาย และชำระภาษี 58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจ่ายค่าใช้จ่ายด้านต้นทุน 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การป้องกันสินค้า
ในช่วงปลายทศวรรษนี้ เป็นที่คาดกันว่า ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ในยุโรป 69.3% ในอเมริกาเหนือ 68.7% และในเอเชีย-แปซิฟิก 47.3% จะติดซ่อนแถบป้องกันการขโมยสินค้า ซึ่งการใช้วิธีนี้ได้ทวีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งจากสัดส่วนของผู้ค้าปลีกที่ใช้เทคนิกการติดแถบป้องกันการขโมยสินค้าในปัจจุบัน คิดเป็นร้านค้าปลีกในอเมริกาเหนือ 45.2% ยุโรป 39.7% และเอเชีย- แปซิฟิก 27.4% (รวมถึง ออสเตรเลีย 40%)
จำนวนเฉลี่ยของสินค้าที่ติดแถบป้องกันการขโมยสินค้ามีทั้งสิ้น 396 รายการในอเมริกาเหนือ (คิดเป็น 21.3% ของสินค้าที่วางจำหน่าย) 219 รายการในยุโรป (5.9% ของสินค้าที่จำหน่าย) และ 97 รายการในเอเชีย-แปซิฟิก ( 6.1% ของสินค้าที่วางจำหน่าย)
ศูนย์วิจัยด้านธุรกิจค้าปลีก
ศาสตราจารย์โจชัว แบมฟิล์ด ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยด้านธุรกิจค้าปลีก(www.retailresearch.org) เป็นผู้อำนวยการจัดทำผลการศึกษาระดับการโจรกรรมในธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกชิ้นแรกนี้ โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัท เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ โดยศูนย์วิจัยดังกล่าวเป็นองค์กรอิสระที่ดำเนินการวิจัยและเป็นที่ปรึกษาแก่ภาคธุรกิจค้าปลีกที่ต้องรับมือกับบทบาทที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาของธุรกิจค้าปลีกและมุ่งเน้นที่การโจรกรรมและยักยอกสินค้า โดยขยายผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันการโจรกรรม การใช้ประโยชน์จากระบบ
อิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันการโจรกรรมและการยักยอกสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วโลก
เกี่ยวกับเช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์
เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ เป็นผู้นำด้านการจัดหาโซลูชั่นระบบป้องกันสินค้าสูญหายสำหรับอุตสาหกรรมค้าปลีก ทีมงานระดับโลกของเช็คพอยท์จะไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกและซัพพลายเออร์ของผู้ค้าปลีกลดอัตราการสูญหายของสินค้า แต่ยังจะเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการคลังสินค้า และช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าต่อสินค้าที่มีวางจำหน่ายโดยไม่ขาดสต็อกผ่านการใช้เทคโนโลยี RF ที่เพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดเก็บสินค้าความเร็วสูงขยายผลถึงการป้องกันสินค้าสูญหาย และโซลูชั่นด้านการติดแถบป้องกันการขโมยด้วยระบบการจัดการ Check-Net เช็คพอยท์ได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ระบบ RF ในร้านค้ากว่าหนึ่งล้านแห่ง และป้องกันการโจรกรรมสินค้าได้กว่าแสนล้านรายการ
โซลูชั่นของเช็คพอยท์ช่วยเพิ่มผลประกอบการและผลกำไรให้กับกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกให้มีการขยายตัวรวดเร็วและให้ประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมแก่ลูกค้า โดยบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก (NYSE: CKP) และดำเนินงานในตลาดทั่วทุกทวีป บริษัทมีพนักงาน 3,200 คนทั่วโลก หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ http://www.checkpointasiapac.com
หมายเหตุบรรณาธิการ
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม รายงานผลการศึกษาในรูปแบบไฟล์ PDF ภาพการโจรกรรมเพื่อเผยแพร่ทางโทรทัศน์ รูปภาพ และบทสัมภาษณ์ กรุณาติดต่อแผนกประชาสัมพันธ์ของเช็คพอยท์
ติดต่อ:
บริษัทเช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์
นาตาลี ชาน
โทร: +852-2995-8350
อีเมล์: Natalie.chan@checkpt.com
แหล่งข่าว เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ