ลอนดอน--24 ต.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
QS Quacquarelli Symondsขอประกาศผลการจัดอันดับ 500 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชีย โดยNational University of Singaporeกลับมาครองอันดับหนึ่งอีกครั้งจากNanyang Technological Universityขณะที่University of Hong Kongไต่ขึ้นมา 3 อันดับมาอยู่ที่อันดับ 2 อย่างไรก็ดี จีนแผ่นดินใหญ่มีจำนวนมหาวิทยาลัยที่ทำอันดับได้น่าประทับใจที่สุด โดยมีจำนวนมหาวิทยาลัยที่ติด 20 อันดับแรกมากถึง 5 แห่ง เพิ่มขึ้น 2 แห่งจากปีที่ผ่านมา และทุกแห่งล้วนมีอันดับดีขึ้น ส่วนญี่ปุ่นมีจำนวนมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับมากเป็นอันดับ 2 ตามมาด้วยอินเดียและเกาหลีใต้
(โลโก้: https://mma.prnewswire.com/media/702459/QS_World_University_Rankings_Logo.jpg )
จำนวนมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับตามประเทศและดินแดน
จีนแผ่นดินใหญ่ 112
ญี่ปุ่น 89
อินเดีย 75
เกาหลี 57
ไต้หวัน 36
มาเลเซีย 26
ปากีสถาน 23
อินโดนีเซีย 22
ไทย 19
ฟิลิปปินส์ 8
เขตปกครองพิเศษฮ่องกง 7
เวียดนาม 7
บังกลาเทศ 6
ศรีลังกา 4
สิงคโปร์ 3
มาเก๊า 2
บรูไน 2
ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในเอเชียประจำปี2019ของQS (20อันดับแรก)
อันดับปี2019 อันดับปี2018 ประเทศ/ดินแดน
1 2 National University of Singapore สิงคโปร์
2 5 University of Hong Kong ฮ่องกง
3= 1 Nanyang Technological University สิงคโปร์
3= 6 Tsinghua University จีน
5 9 Peking University จีน
6 7 Fudan University จีน
7 3 Hong Kong University of Science and Technology ฮ่องกง
8 4 Korea Advanced Institute of Science and Technology เกาหลี
9 10 The Chinese University of Hong Kong ฮ่องกง
10 11 Seoul National University เกาหลี
11 13 The University of Tokyo ญี่ปุ่น
12 16 Korea University เกาหลี
13 21 Zhejiang University จีน
14 17 Kyoto University ญี่ปุ่น
15 18 Sungkyunkwan University เกาหลี
16 15 Osaka University ญี่ปุ่น
17 19 Yonsei University เกาหลี
18 14 Tokyo Institute of Technology ญี่ปุ่น
19= 24 Universiti Malaya มาเลเซีย
19= 22 Shanghai Jiao Tong University จีน
QSใช้เกณฑ์ชี้วัด 11 ประการในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย โดยได้ออกสำรวจความคิดเห็นของนักวิชาการทั้งสิ้น83,877ราย และผู้สรรหาพนักงานใหม่42,862รายทั่วโลก
เกณฑ์ชี้วัด ประเทศ/ดินแดนที่โดดเด่นที่สุด จำนวนมหาวิทยาลัยที่ติด100อันดับแรก
ชื่อเสียงทางวิชาการ จีน 25
ชื่อเสียงนายจ้าง ญี่ปุ่น 15
อัตราส่วนคณาจารย์ต่อนักศึกษา ญี่ปุ่น 31
บุคลากรที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก อินเดีย 20
จำนวนการอ้างอิงต่องานวิจัย จีน 42
จำนวนงานวิจัยต่อคณะ จีน 35
เครือข่ายวิจัยระดับสากล จีน 35
อัตราส่วนคณะที่เป็นสากล จีน 25
อัตราส่วนนักศึกษาต่างชาติ จีน 17
นักศึกษาแลกเปลี่ยนเข้า ไต้หวัน 22
นักศึกษาแลกเปลี่ยนไปต่างประเทศ จีน 33
*มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับทั้งหมดในประเทศ/ดินแดนเหล่านี้ มีอันดับติด 100 อันดับแรกในเกณฑ์บ่งชี้บางประการ
เกณฑ์ชี้วัด ประเทศ/ดินแดนที่โดดเด่นรองลงมา จำนวนมหาวิทยาลัยที่ติด100อันดับแรก ประเทศ/ดินแดนที่ติด 100 อันดับแรกทั้งหมด*
ชื่อเสียงทางวิชาการ ญี่ปุ่น 14
ชื่อเสียงนายจ้าง เกาหลี 13 สิงคโปร์
อัตราส่วนคณาจารย์ต่อนักศึกษา เกาหลี 20 บรูไน
บุคลากรที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก เกาหลี 17
จำนวนการอ้างอิงต่องานวิจัย เกาหลี 18 ฮ่องกง สิงคโปร์
จำนวนงานวิจัยต่อคณะ อินเดีย 26
เครือข่ายวิจัยระดับสากล ญี่ปุ่น 16
อัตราส่วนคณะที่เป็นสากล มาเลเซีย 18 บรูไน ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์
อัตราส่วนนักศึกษาต่างชาติ มาเลเซีย 16 บรูไน ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์
นักศึกษาแลกเปลี่ยนเข้า เกาหลี 21
นักศึกษาแลกเปลี่ยนไปต่างประเทศ เกาหลี 22 บรูไน ฮ่องกง สิงคโปร์
เบน โซวเทอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการวิจัยของQSกล่าวว่า"การที่จีนแผ่นดินใหญ่ได้ทุ่มลงทุนอย่างมหาศาลในการศึกษาและวิจัยนั้นเริ่มปรากฏให้เห็นผลลัพธ์แล้ว ความแข็งแกร่งของญี่ปุ่นก็เป็นที่ประจักษ์ เช่นเดียวกับบทบาทของอินเดียในระดับภูมิภาค ผลการจัดอันดับนี้ยังชูให้เห็นศักยภาพทางการแข่งขันของศูนย์กลางด้านการศึกษาที่มีประชากรและทรัพยากรน้อยกว่า โดยสิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ และมาเลเซีย มีความโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัด"
ดูรายงานการจัดอันดับฉบับเต็มได้ที่: https://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2019