กว่างโจว, จีน--6 พ.ย.--ซินหัว-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
"จีนกำลังผลักดันประเทศให้เปิดกว้างมากขึ้น" และ "กว่างโจวเป็นตัวอย่างของความสำเร็จในการปฏิรูปและเปิดกว้าง" ข้อความเหล่านี้เป็นความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการประชุม Huangpu International Business Media and Think Tank Forum ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน ณ นครกว่างโจว โดยสื่อธุรกิจชื่อดัง และบรรดา "คลังสมอง" ของชุมชนทางการเมือง แวดวงวิชาการ และภาคธุรกิจ ได้มารวมตัวกันที่งานนี้ ซึ่งจัดขึ้นโดยกรมประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ประจำนครกว่างโจว ซึ่งเป็นเมืองทางใต้ของจีน
คุณโดมินิก เดอ วิลเลอแปง อดีตนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส กล่าวว่า "ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เรากำลังอภิปรายถึงนโยบายปฎิรูปและเปิดกว้างของจีน ณ ที่นี่ ในวันนี้ โดยภายในระยะเวลาเพียง 40 ปี จีนได้แผ่อิทธิพลไปทั่วโลก ในขณะที่นครกว่างโจวเป็นดั่งภาพสะท้อนในหลายมิติที่แสดงให้เห็นว่า จีนได้พัฒนาไปเช่นไร
ตลอดช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา กว่างโจวมี GDP ขยายตัวขึ้นถึงราว 500 เท่า และ GDP ต่อหัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ความสำเร็จทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากนโยบายเปิดกว้าง ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ มีความครอบคลุม และปฏิบัติได้จริง โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมประเทศจีนกับทั่วโลก" คุณเดอ วิลเลอแปง กล่าว
"ในฐานะผู้บุกเบิกนโยบายปฏิรูปและเปิดกว้าง ทั่วโลกจึงสามารถมองกว่างโจวว่าเป็น หน้าต่างสู่ความสำเร็จของจีน" นายเวิน กั๋วฮุ่ย นายกเทศมนตรีของกว่างโจว กล่าว โดยมูลค่าการค้ารวมของกว่างโจวพุ่งขึ้นจาก 130 ล้านดอลลาร์ในปี 2521 เป็น 1.4323 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2560
"งานแคนตันแฟร์ ซึ่งจัดขึ้นมาแล้วกว่า 120 ครั้ง ได้มีบทบาทส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าอันแข็งแกร่งระหว่างจีนกับทั่วโลกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นการยกระดับสถานะของนครกว่างโจวในฐานะประตูทางภาคใต้ของจีน ในฐานะหน้าต่างสู่การเปิดกว้าง ความร่วมมือ และการเติบโตด้านการค้ากับต่างประเทศของจีน มหกรรมแสดงสินค้าดังกล่าวซึ่งจัดขึ้นปีละสองครั้ง ถือเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า จีนได้เชื่อมต่อกับโลกผ่านนโยบายปฏิรูปและเปิดกว้างอย่างไร" หลี่ จิ้นชี ผู้อำนวยการใหญ่ของศูนย์การค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์จีน กล่าว
บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมงานประชุมครั้งนี้ต่างกล่าวว่า ปัจจุบัน นครกว่างโจวถือเป็นแนวหน้าในการผลักดันเศรษฐกิจของภาคเอกชนและเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ความสำเร็จของกว่างโจวได้มาจากการสำรวจเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม การบริการที่ได้รับการยกระดับ และประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น
ขั้นตอนการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทต้องใช้เวลาเท่าไหร่จึงจะสำเร็จ? คำตอบคือ หนึ่งวันก็เพียงพอแล้วสำหรับเขตหวงผู่ และเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีกว่างโจว (GETDD) ซึ่งเป็นสถานที่จัดประชุมครั้งนี้ การปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการแก่ผู้ประกอบการที่ดีขึ้นดังกล่าว เป็นผลมาจากการปฏิรูปและนวัตกรรม
เอมมานูเอล แดเนียล ผู้ก่อตั้งและประธานของ The Asian Banker Journal กล่าวว่า "สิ่งที่ทำให้ผมประหลาดใจที่สุดเกี่ยวกับนวัตกรรมที่นี่ ก็คือการขับเคลื่อนด้วยระบบนิเวศที่แท้จริงและไม่หยุดนิ่ง พร้อมด้วยความสามารถในการบริหารที่แข็งแกร่ง ผู้ประกอบการสามารถมีความสุขได้มากกว่าในราคาที่ต่ำกว่า"
เสี่ยว เกิง ประธานของสถาบัน Hong Kong Institution for International Finance และอาจารย์ประจำภาควิชาการเงิน โรงเรียนธุรกิจ HSBC Business School แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง กล่าวว่า "กว่างโจวเปี่ยมไปด้วยประสบการณ์และอุดมไปด้วยมรดก ทั้งทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ทั้งนี้ การที่จะดึงดูดผู้มีความสามารถโดดเด่นจากทั่วโลก รวมถึงครอบครัวของพวกเขา เมืองนั้นๆ จำเป็นต้องมีสภาพแวดล้อมที่เป็นเลิศ และหลากหลายไปด้วยไลฟ์สไตล์และรูปแบบธุรกิจ ซึ่งนั่นคือสิ่งที่กว่างโจวมอบให้"
เพื่อผลักดันให้การปฏิรูปและเปิดกว้างเดินหน้าต่อไปได้นั้น การดำเนินการต่างๆ จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยในช่วงไม่กี่ปีมานี้ กว่างโจวได้เดินหน้าปรับโครงสร้างด้านอุปทาน ตลอดจนเปลี่ยนแปลงและยกระดับรูปแบบการผลิต โดยมุ่งเน้นไปที่การเติบโตของอุตสาหกรรมหลักๆ เช่น IAB (next-generation information technology, artificial technology และ biomedicine) และ NEM (new energy and materials) ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยให้เมืองขยับเข้าสู่ห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก
บริษัท Mino Automotive Equipment Company ที่ตั้งอยู่ใน GETDD ใช้เวลาเพียง 10 ปีเพื่อเติบโตจากสตาร์ทอัพมาเป็นผู้นำระดับโลกในด้านอุปกรณ์ขั้นสูง "เราเคยส่งมอบสายการผลิตภายในเวลา 128 วัน ซึ่งเร็วกว่าบริษัทคู่แข่งต่างชาติ 6 รายถึง 1 ปี ซึ่งนับเป็นเรื่องมหัศจรรย์ นวัตกรรมถูกนำมาใช้ในการผลิตอุปกรณ์ของเราในแง่ของความเชื่อถือได้ ต้นทุน และการบำรุงรักษา" เหยา เหว่ยปิง ประธานของ Mino กล่าว
งานประชุม Huangpu Forum ในปีนี้มองว่า หัวใจสำคัญของการพัฒนาอย่างมีคุณภาพคือ นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กว่างโจวเป็นผู้บุกเบิกมาก่อน และด้วยการแลกเปลี่ยนกับนานาประเทศผ่านช่องทางต่างๆ ทำให้กว่างโจวจะยังคงรับบทบาทในการเป็นนักสำรวจและผู้บุกเบิกการดำเนินงานตามแผนงานของจีน ในเรื่องการส่งเสริมสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเปิดกว้างรอบด้าน และสนับสนุนการพัฒนาที่มีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้ง
จาง จิน ผู้ก่อตั้งและประธานของ Cedar Holdings บริษัทในกว่างโจวที่ติดทำเนียบ Fortune Global 500 กล่าวว่า "ท่ามกลางสภาพแวดล้อมใหม่นั้น การก้าวออกไปสู่ภายนอกและการเปิดรับเข้ามา ถือเป็นสองมิติของการเปิดกว้าง อุตสาหกรรมที่เป็นเสาหลักบางอุตสาหกรรมมีความจำเป็นและต้องการที่จะขยายไปยังต่างประเทศ เพื่อเพิ่มความร่วมมือกับนานาชาติในด้านกำลังการผลิตและเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ นี่คือความสัมพันธ์การค้าพหุภาคี ที่หล่อหลอมขึ้นด้วยความเปิดกว้าง ความเท่าเทียม ผลประโยชน์ร่วมกัน และความร่วมมือแบบได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย"
นายเผิง เหว่ย ประธานบริษัท Carl Zeiss (China) จำกัด ระบุว่า "กว่างโจวถือเป็นแนวหน้าของการปฏิรูปและเปิดกว้าง และมีหลายแง่มุมที่สอดคล้องตรงกันกับเรา ไม่ว่าจะเป็น ปรัชญา แนวคิด นโยบาย และทรัพยากรคนเก่ง" ปัจจุบัน กลุ่มบริษัทมีธุรกิจจดทะเบียนในเขตหวงผู่อยู่หกแห่ง
ในอีกเพียงสามสัปดาห์ เมืองกว่างโจวจะเป็นสถานที่จัดการประชุม Fortune Brainstorm TECH International Conference โดยเป็นสถานที่จัดการประชุมถาวร ซึ่ง คลิฟตัน ลีฟ บรรณาธิการบริหารนิตยสาร Fortune ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่การประชุม Huangpu Forum ว่า ยอดการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของบริษัทจีน เติบโตขึ้น 34% ในช่วงตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับบริษัทของอเมริกาเหนือที่มียอดเติบโตเพียง 8% สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า บริษัทของจีนมีศักยภาพการพัฒนาสูงและสามารถปรับตัวเข้ากับสภาวะต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
โครงการเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Greater Bay Area) ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนา ได้ดึงดูดความสนใจจากทั่วโลก คุณเดอ วิลเลอแปง กล่าวว่า สะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า ที่เริ่มเปิดใช้งานเมื่อเร็ว ๆ นี้ จะเพิ่มการรวมกลุ่ม และยกระดับความร่วมมือที่เป็นประโยชน์สำหรับเมืองต่าง ๆ ภายในเขตอ่าว Greater Bay Area ซึ่งรวมถึงกว่างโจว
กว่างโจวถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า ให้ก้าวไปข้างหน้า ด้วยการสนับสนุนการพัฒนาอย่างมีคุณภาพผ่านนวัตกรรม และเปิดรับโลกภายนอกในมุมมองที่กว้างขึ้น ท่ามกลางยุคแห่งการปฏิวัตินวัตกรรมเทคโนโลยีทั่วโลก ธุรกิจรูปแบบใหม่กำลังขยายตัวอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และก่อเกิดเป็นระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ด้วยปัจจัยดังกล่านี้ กว่างโจวจะมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้น ผ่านการพัฒนาจากเมืองธุรกิจที่เก่าแก่กว่าหนึ่งพันปี สู่การเป็นมหานครแห่งนวัตกรรม
ฮาร์ลีย์ เซเยดิน ประธานสภาหอการค้าอเมริกันในภูมิภาคจีนใต้ และประธานบริษัท Allelon Energy Partners กล่าวว่า "ในบริบทของโลกาภิวัตน์ จีนจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำแถวหน้าด้วยการพึ่งพาอาศัยนวัตกรรม" เขาเชื่อว่า "ปัจจุบัน เราสามารถพบเห็นเทคโนโลยีปฏิวัติวงการมากมายในประเทศจีน ซึ่งอาจมาจากมหาวิทยาลัย อุตสาหกรรมยา และอื่น ๆ นวัตกรรมเทคโนโลยีเหล่านี้ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตในสังคมจีนอย่างรวดเร็ว โดยจีนถือเป็นผู้นำแห่งโลกไร้เงินสดอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการธุรกรรมประเภทใด ก็สามารถทำได้ ด้วยสมาร์ทโฟนและระบบจ่ายเงินผ่านมือถือ ที่ถือกำเนิดขึ้นในเมืองกว่างโจว"
ที่มา: The Publicity Department of the CPC Guangzhou Municipal Committee
AsiaNet 76112