การทดลองทางการแพทย์เพื่อรักษาโรคเซลล์ผิวหนังเรียงตัวอย่างไร้ระเบียบด้วยการใช้เทคโนโลยี siRNA

ข่าวต่างประเทศ Thursday January 17, 2008 09:32 —Asianet Press Release

ซอล์ทเลค ซิตี้--17 ม.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
พีซี โปรเจ็ค ซึ่งเป็นโครงการเพื่อสาธารณะกุศล ประกาศในวันนี้ว่า การทดลองทางการแพทย์ในระยะ 1b เริ่มต้นแล้วในวันนี้ เพื่อบำบัดรักษาโรคเล็บมือเล็บเท้าหนาแต่กำเนิด (pachyonychia congenita หรือ PC) ซึ่งเป็นการรักษาด้วยกระบวนการ short interfering RNA (siRNA) โดยโรค PC เป็นการเรียงตัวที่ไร้ระเบียบของยีน เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่เป็นตัวกำหนดรหัสเคราติน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์ผิวหนังแข็งตัว
ดร.แซนซี ลีชแมน แห่งมหาวิทยาลัยโรคผิวหนังยูทาห์ เป็นผู้นำในการศึกษาครั้งนี้ โดยใช้ยา TD101 ซึ่งเป็นยาที่ตัวใหม่ที่พัฒนาขึ้นจาก siRNA โดยคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐระบุให้ยา TD101 เป็นยากำพร้า (Orphan drug) หรือยาที่ใช้เฉพาะโรค ภายใต้พระราชบัญญัติยากำพร้า (Orphan Drug Act) และได้รับการพัฒนาโดยบริษัททรานส์เดิร์ม (TransDerm) ในเมืองซานตาครูซ รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยได้รับความร่วมมือจาก International PC Consotium (IPCC) ซึ่งเป็นกลุ่มแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่ตกลงเห็นพ้องกันในปีพ.ศ.2547 ว่าจะทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาการบำบัดรักษาโรคเซลล์ผิวหนังที่เรียงตัวกันอย่างไร้ระเบียบและไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก
ดร.ลีชแมน ซึ่งเป็นผู้นำในกลุ่ม IPCC กล่าวว่า "เรากำหนดสูตร siRNA ขึ้นเพื่อยับยั้งการสร้างเคราตินที่กลายพันธุ์ เพื่อให้ยีนปกติสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง" การบำบัดรักษาบนพื้นฐานของเทคโนโลยีใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงนี้กำลังเกิดขึ้นในแวดวงการแพทย์ โดยเมื่อไม่นานมานี้มีการทดลอง siRNA ทางการแพทย์ ซึ่งครอบคลุมถึงการรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-Related Macular Degeneration หรือ AMD) และ ไวรัสทางเดินหายใจ (RSV) ยา TD101 บ่งชี้ถึงการใช้เทคโนโลยี siRNA ในผิวหนังเป็นครั้งแรก และเป็นการใช้ siRNA ในยีนกลายพันธุ์เป็นครั้งแรกด้วย
"เรารู้สึกยินดีที่มีส่วนร่วมในความพยายามที่จะพัฒนาการรักษาโรค PC ซึ่งเป็นการรักษาที่เราค้นพบในปีพ.ศ.2538 แม้กรณีที่การกลายพันธุ์ของยีนที่ทำให้เซลล์ผิวหนังเรียงตัวกันอย่างไร้ระเบียบนั้นเกิดขึ้นมากมาย แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการค้นพบวิธีการบำบัดรักษาที่มีประสิทธิภาพเหมือนกับที่เราและคนอื่นๆได้ทำเอาไว้" ศาสตราจารย์เออร์วิน แมคลีน (แห่งมหาวิทยาลัยดันดี ประเทศสก็อตแลนด์)
ดร.โรเจอร์ แคสปาร์ ซีอีโอของบริษัททรานส์เดิร์ม กล่าวว่า "เรารู้สึกโชคดีที่มีส่วนในความพยายามของกลุ่มซึ่งประกอบไปด้วยแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ ผู้ให้คำปรึกษา ทนายความ และผู้ป่วย ซึ่งมีเป้าหมายเดียวกัน เราหวังว่ายาตัวนี้จะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรค PC ที่มีเซลล์ผิวหนังกลายพันธุ์ และหวังว่าเราจะสามารถส่งผ่านสิ่งที่เราเรียนรู้มานั้น ให้กับผู้ป่วยจำนวนมากที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคเซลล์ผิวหนังเรียงตัวอย่างไร้ระเบียบซึ่งยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้"
พีซี โปรเจ็ค เป็นโครงการสาธารณะกุศลที่อุทิศตัวเพื่อช่วยผู้ป่วยที่ทนทุกข์ทรมานจากโรคเล็บมือเล็บเท้าหนาแต่กำเนิด โดยน.ส.แมรี ชวาร์ซกล่าวว่า "โครงการนี้เป็นความร่วมมือที่ดีเยี่ยมระหว่างองค์กรการกุศลเพื่อสาธารณะ อุตสาหกรรม และนักวิชาการ ซึ่งทำงานร่วมกันอย่างเต็มกำลัง" ผู้สนับสนุนโครงการประกอบไปด้วยมหาวิทยาลัยยูทาห์ (แซนซี ลีชแมน) มหาวิทยาลัยดันดี (ศาสตราจารย์เออร์วิน แมคลีน และฟรานเซส สมิธ) มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (คริสโตเฟอร์ คอนแท็ก) มหาวิทยาลัยเยล (ลีโอนาร์ด มิลสโตน) วิทยาลัยการแพทย์เบเลอร์ (เดนนิส รู้ป ซึ่งปัจจุบันทำงานที่มหาวิทยาลัยโคโลราโด) มหาวิทยาลัยซาสคาเชวัน (ปีเตอร์ ฮัลล์) ไบโอโพลิส/สิงคโปร์ (อี.เบอร์กิตต์ เลน) และมหาวิทยาลัยไอโอวา (โรลแลนด์ พอสท์) ส่วนพันธมิตรในแวดวงอุตสาหกรรมประกอบไปด้วย บริษัททรานส์เดิร์ม (โรเจอร์ แคสปาร์ และ โรบิน ฮิคเคอร์สัน) บริษัทเธอร์โม ฟิสเชอร์ ไซแอนติก/ฟาร์มาคอน (เดวิน ลีค) บริษัทเอลิซิน คอร์ปอเรชั่น (สตีฟ ฮัทเชอร์สัน) บริษัทอาเรนา ฟาร์มาซูติคอลส์ (อาจิท ซิมห์) อาจิเลนท์ อินดัสทรีส์ นูคลิอิก เอซิด โซลูชั่น ดิวิชั่น (เจมส์ โพเวลล์) บริษัทแอคคิวเจนท์ (หมิง พ่าย จาง) และบริษัทจีนดีเอ็กซ์ (เชอร์รี เบล)
ติดต่อ: แมรี ชวาร์ซ ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการโรคเล็บมือเล็บเท้าหนา
+1-877-628-7300
mary.schwartz@pachyonychia.org
แหล่งข่าว : Pachyonychia Project
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ