ปารีส--4 ก.พ.--พีอาร์นิวสไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
คณะทำงานของตัวแทนจากองค์กรด้านการดูแลรักษาสุขภาพระดับสากล 7 แห่ง ได้เรียกร้องให้มีการรักษาระดับความดันเลือด (BP) ให้ดีขึ้นตามเป้าหมายในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งภาวะดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ คณะทำงานจึงได้กำหนดแผนการในเชิงปฏิบัติเพื่อให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม 5 ขั้นตอน ในวารสารผู้ป่วยความดันโลหิตสูง(1) ฉบับประจำเดือนมกราคม 2551 ซึ่งประกอบด้วย การตรวจวัดและป้องกันระดับความดันเลือดสูง การประเมินความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ รูปแบบการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย การรักษาภาวะความดันโลหิตสูงให้เป็นไปตามเป้าหมาย และการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อผู้ป่วย
จอร์จ บาคริส ผู้อำนวยการแผนกแพทย์ศาสตร์ประจำศูนย์ความดันโลหิตสูง แห่งมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ชิคาโก้ (University of Chicago School of Medicine) ในเมืองชิคาโก้ สหรัฐอเมริกา ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมาธิการขององค์กร Call to Action Working Group กล่าวว่า "หากบรรดาผู้ปฏิบัติและระบบดูแลสุขภาพทั่วโลกนำวิธีการเหล่านี้ไปใช้กันอย่างจริงจัง ก็จะช่วยให้ลดช่องว่างระหว่างความสามารถในการบำบัดรักษาและการดูแลสุขภาพร่างกาย ซึ่งจะสามารถช่วยชีวิตผู้ได้นับล้านคน"
โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยเงียบที่ยังคงคุกคามสุขภาพของประชาชนกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลก (2), (3) ซึ่งตัวเลขผู้ป่วยจำนวนนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแตะที่ระดับ 1.5 พันล้านคนในปีพ.ศ.2568 (3) ซึ่งทำให้ประชาชนนับล้านต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควร หรือได้รับความทรมานทางสุขภาพ ซึ่งรวมถึงการเกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน อาการกล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน หัวใจวาย หรือไตวาย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการที่พวกเขาไม่ได้รับการรักษาระดับความดันเลือดให้อยู่ในระดับที่กำหนด แม้ว่าขณะนี้จะมีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ แต่ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมด และผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาระดับความดันเลือดเพียงร้อยละ 50 มีระดับความดันเลือดไม่ตรงตามเป้าหมายที่แนะนำไว้ว่าควรจะอยู่ต่ำกว่าระดับ 140/90 mm Hg ลงไป (4),(5),(6). ผู้ป่วยที่ไม่ยอมให้ความร่วมมือตามคำแนะนำของแพทย์จะเผชิญปัญหาที่เรื้อรัง ซึ่ งมีเพียงร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่ได้รับคำแนะนำให้ใช้ยารักษา และประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยในสหรัฐได้รับคำแนะนำให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน
"ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพควรตระหนักอยู่เสมอว่า แม้ว่าผู้ป่วยจะรู้สึกดีแต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้พวกเขามีระดับความดันเลือดที่เป็นไปตามเป้าหมายหรือใกล้ระดับเป้าหมายได้" เออร์เนสโต้ ชิฟริน นายแพทย์และอธิการบดีแผนกแพทย์ศาสตร์ และ เซอร์ มอร์ทิเมอร์ บี. โรงพยาบาลเดวิส-จิววิช แห่งมหาวิทยาลัยแมคกิล มอนทรีอัล ประเทศแคนาดา และสมาชิกขององค์กร Call to Action Working กล่าว การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตไม่เพียงแต่จะมีความสำคัญเท่านั้น แต่เนื่องจากผลลัพท์ในเชิงบวกที่พวกเขาสามารถจัดการกับระดับความดันเลือดยังเป็นเหตุผลทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวโยงกับการช่วยลดค่าครองชีพที่อาจเพิ่มขึ้นในยามที่ผู้ป่วยเรียนรู้ถึงวิธีรับมือกับอาการดังกล่าวด้วยความรู้พื้นฐาน นอกจากนี้ วิธีการดังกล่าวยังช่วยทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น "จากการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยและครอบครัวของพวกเขา ทำให้เราพบว่า เราสามารถเสริมสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของการดูแลร่างกายและการปรับพฤติกรรมการกินที่ดีขึ้นต่อกระบวนการก่อตัวของเชื้อโรค พร้อมทั้งช่วยให้เคล็ดลับแก่ผู้ป่วยถึงวิธีที่พวกเขาจะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นในชีวิตประจำวัน" เอมี่ โคเนน เจ้าหน้าที่จากสภาพยาบาลสากล วิทยาลัยพยาบาล มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมืองมิลวอกี รัฐวิสคอนซิล ประเทศสหรัฐอเมริกากล่าว
ขั้นตอนสำคัญประการแรกที่กำหนดขึ้นนั้น มีเป้าหมายที่จะตรวจหาและรักษาผู้ป่วยจำนวนมากที่มีความดันเลือดอยู่ในระดับที่เป็นอันตราย แต่ยังไม่ได้รับการรักษา หรือมีระดับความดันเลือดไม่ตรงตามที่กำหนด (140/90 mm Hg หรือ 130/80 สำหรับผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง) ทั้งนี้ ระดับความดันเลือดที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 20/10mm Hg นี้ จะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากปัญหาด้านหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า(8) ผู้ป่วยเหล่านี้มีความเสี่ยงรุนแรงที่สุดที่จะเสียชีวิต ซึ่งรวมถึงผู้ป่วยในวัยกลางคนและวัยสูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักมาก หรือผู้ป่วยโรคเบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจที่เพิ่มขึ้นนี้ควรจะได้รับการประเมินอย่างรวดเร็วในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนสำคัญประการที่สองในการป้องกันมิให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่ออวัยวะสำคัญ เช่นอาการไตวายระยะรุนแรง และระยะสุดท้าย ส่วนในขั้นตอนที่สามนั้น คณะทำงานได้แนะนำให้มีการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ป่วย โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะกระตุ้นให้ผู้ป่วยเพิ่มบทบาทในการจัดการกับเชื้อโรคที่พวกเขาเป็น และช่วยให้พวกเขาติดตามกระบวนการรักษาร่างกายได้มากขึ้น เนื่องจากขณะนี้มีผู้ป่วยจำนวนมากมีระดับความดันเลือดที่ไม่ตรงตามเป้าหมาย ขั้นตอนสำคัญประการที่สี่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายของการรักษา ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่ยากลำบากมากที่สุด แต่ขณะเดียวกันก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดเช่นกัน โดยคณะแพทย์และผู้ให้การดูแลรักษาสุขภาพต่างได้รับการเรียกร้องให้อธิบายถึงความสำคัญของการกำหนดรูปแบบการใช้ชีวิตในระยะยาวให้กับผู้ป่วย แต่หากวิธีการดังกล่าวยังไม่เห็นผลที่ดีพอ พวกเขาก็ต้องเพิ่มการรักษาด้วยยาที่เหมาะสม และถูกต้องเพื่อปรับระดับความดันเลือดของผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 140/90 mm Hg ให้ได้โดยเร็ว สำหรับผู้ป่วยที่เลือกใช้วิธีการรักษาให้ได้ระดับความดันเลือดเป็นไปตามเป้าหมายนั้นมีผลการศึกษาหลายฉบับยืนยันว่าการประยุกต์ใช้วิธีการรักษาด้วยยาที่เหมาะสมก็เป็นอีกวิธีการเริ่มต้นรักษาที่ถูกต้อง
"นอกเหนือไปจากการให้ความรู้ที่เหมาะสมด้านการงดบริโภคอาหารและการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตแล้ว การรักษาสุขภาพตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดจะสามารถช่วยปูทางให้แพทย์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาระดับความดันเลือดได้" เทรฟอร์ มอร์แกน ผู้อำนวยการสาขาวิชาสรีระศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น มลรัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย และสมาชิกขององค์กร Call to Action Working Group ในฐานะสมาคมความดันโลหิตสูงภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกกล่าว
ขั้นตอนที่ห้า ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการเรียกร้องให้มีการดำเนินการในครั้งนี้ คือ การจัดหาสภาพแวดล้อมที่ดีต่อผู้ป่วย เช่น การจัดตั้งองค์กรทางสังคม หรือสถาบันในท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างยุทธศาสตร์การป้องกันที่จำเป็น
"ถ้าพยายามอยู่ฝ่ายเดียวก็ไม่มีทางประสบความสำเร็จได้ และคุณก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ หากผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ" จูเซปเป้ มันชา ผู้อำนวยการแผนกการป้องกันและการแพทย์ทางคลินิค แห่งมหาวิทยาลัยมิลาโน-ไบคอคคา เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี และสมาชิกคณะกรรมาธิการของ Call to Action Working Group กล่าว
ลูอิส มิเกล รุยโลป ประธานสมาคมโรคความดันโลหิตสูงของสเปน และสมาชิกองค์กร Call to Action Working Group เปิดเผยว่า "ด้วยการกระตุ้นให้ผู้ให้บริการด้านการรักษาสุขภาพตระหนักถึงการยื่นมือเข้าช่วยเหลือและปฏิบัติตามขั้นตอนสำคัญทั้ง 5 ประการซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่มีผลโดยตรงต่อการรับมือกับระดับความดันโลหิตสูง เราอาจช่วยให้ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแก่ผู้ป่วยนับล้านคนทั่วโลก และให้การป้องกันอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ให้ดีขึ้นได้"
องค์กร Call to Action Working Group
ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่างๆดังต่อไปนี้ จี บาคริส จากสมาคมโรคไตนานาชาติ แผนกแพทย์ศาสตร์ ศูนย์ความดันโลหิตสูง วิทยาลัยแพทย์พริทซเกอร์ มหาวิทยาลัยชิคาโก้ ในชิคาโก รัฐอิลินอยส์ สหรัฐอเมริกา, เอ็ม ฮิลล์ จากมหาวิทยาลัยพยาบาลจอห์น ฮอปกิ้นส์ เมืองบัลติมอร์ รัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา, จี มันชา จากแผนกวิชาการรักษาและการป้องกันทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยมิลาโน-ไบคอคคา เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี, เค สตีน จากแผนกเชื้อโรค สภาวิจัยทางการแพทย์ เคปทาวน์ แอฟริกาใต้, ที พิกเคอร์ริง จากโครงการสุภาพด้านหลอดเลือดหัวใจและความดันโลหิตสูง ศูนย์การแพทย์โคลัมเบีย นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา, เอส เดอ กีสต์ จากสถาบันการพยาบาล มหาวิทยาลัยบาเซิล สวิสเซอร์แลนด์, แอล รุยโลป จากสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งสเปน แผนกเพทย์ศาสตร์ฝ่ายความดันโลหิตสูง, โรงพยาบาล 12 de Octubre Hospital กรุงมาดริด สเปน, ที มอร์แกน จากสมาคมความดันโลหิตสูงภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แผนกวิชาสรีระศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น รัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย, เอส คเจลสัน จากแผนกหัวใจวิทยา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอัลเลวาล กรุงออสโล นอร์เวย์, เอล ชิฟริน จากแผนกแพทย์ศาสตร์, เซอร์มอร์ติเมอร์ บี โรงพยาบาลเดวิส-จิววิช, มหาวิทยาลัยแมคกิล มอนทรีอัล แคนาดา, เอ โคเนน จากสภาพยาบาลสากล มหาวิทยาลัยพยาบาลวิสคอนซิน เมืองมิลวอลกี รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา, พี มัลโรล จากแผนกแพทย์ศาสตร์ ศูนย์สุขภาพรัพเพิร์ท มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์โอไฮโอ เมืองโทเลโด รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา, เอ โลห์ จาก WONCA แผนกแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัววิทยาลัยการแพทย์ ประเทศสิงคโปร์, จีเอ เมนซาห์ จากสหภาพหัวใจโลก กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
สมาชิกท่านอื่นๆขององค์กร Call to Action Working Group ประกอบด้วย เอชอาร์ แบล็ก จากแผนกบำบัดโรคไต มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์นิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา, ทีดี ไจล์ส จากสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งสหรัฐอเมริกา แผนกการแพทย์โรคหลอดเลือดหัวใจ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ทูเลน เมืองนิวออร์ลีน รัฐหลุยเซียน่า สหรัฐอเมริกา
โครงการขององค์กรนี้ได้รับการสนับสนุนจากทุนการศึกษาจากบริสโทล เมเยอร์-สควิบบ์ และซาโนฟี-อาเวนติส
ข้อมูลอ้างอิง:
---------------------------------
(1) Bakris G et al. Achieving blood pressure goals globally: five core
actions for health-care professionals. A worldwide call to action.
J Human Hypertens, 2008; 22: 63-70
(2) Hajjar I et al. Hypertension: trends in prevalence, incidence, and
control. Annu Rev Public Health 2006; 27: 465-90
(3) Kearney PM et al. Global burden of hypertension: analysis of worldwide
data. Lancet 2005; 365: 217-23
(4) Pavlik VN, Hyman DJ. How well are we managing and monitoring high
blood pressure? Curr Opin Nephrol Hypertens 2003; 12: 299-304
(5) Waeber B et al. Compliance with antihypertensive therapy. Clin Exp
Hypertens 1999; 21: 973-85
(6) Berlowitz DR et al. Inadequate management of blood pressure in a
hypertensive population. N Engl J Med 1998; 339: 1957-63
(7) Haynes RB et al. Helping patients follow prescribed treatment:
clinical applications. JAMA 2002; 288: 2880-3
(8) Lewington S, et al. Age-specific relevance of usual blood pressure to
vascular mortality. Lancet 2002; 360: 1903-13
แหล่งข่าว: Call to Action Working Group
ติดต่อ: ตัวแทนขององค์กร Call to Action Working Group ที่
เบอร์ซัน-มาร์สเตลเลอร์
ลินดา พาวี
อีเมล์ Linda.Pavy@bm.com,
โทรศัพท์: +33-1-4-1 86-76-26
มือถือ: +33-6-07-59-43-95
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--