เซี่ยเหมิน ประเทศจีน--10 ก.ย.--ซินหัว-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
การประชุม Silk Road Maritime International Cooperation Forum (SRMF) ซึ่งจัดโดยรัฐบาลมณฑลฝูเจี้ยน ได้เปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 7 กันยายนที่ผ่านมา ณ เมืองเซี่ยเหมิน งานนี้จัดขึ้นภายใต้ธีม "แบ่งปันความเจริญรุ่งเรืองผ่านความร่วมมือและการเชื่อมต่อ" โดยมีผู้เข้าร่วมงานหลายร้อยรายจากหลายประเทศ เช่น จีน อียิปต์ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เซอร์เบีย และอีกมากมาย
งานประชุมจัดขึ้นเป็นเวลาสองวัน โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงการขนส่งทางทะเลตามเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 (the 21st Century Maritime Silk Road) อีกทั้งมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือภายในอุตสาหกรรมการขนส่งทางทะเลและท่าเรือ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 ตลอดจนเพื่อปรับปรุงการเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน
ในระหว่างการประชุม เจ้าหน้าที่รัฐบาลและตัวแทนจากองค์กรระหว่างประเทศได้มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ของตนในการพัฒนาเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21
การประชุมมุ่งเน้นไปที่การสร้างความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันผ่านทางการยกระดับความร่วมมือและการส่งเสริมการเชื่อมต่อ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรต่าง ๆ เชื่อว่า เส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 อาจนำโอกาสมาสู่ทุกประเทศและทุกเขตตามแนวเส้นทางสายไหมใหม่ (Belt and Road)
ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า พันธมิตรการขนส่งตามเส้นทางสายไหมทางทะเลได้รับการสนับสนุนจากบริษัทโลจิสติกส์มากกว่า 100 แห่ง ทั้งท่าเรือและสายการบิน โดย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2562 มีการดำเนินงานรวม 1,092 ครั้งบนเส้นทางขนส่ง Silk Road Maritime จำนวน 50 เส้นทาง
ขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญได้เรียกร้องให้ประเทศและภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น รวมถึงให้คำมั่นในเชิงลึกมากขึ้นเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน การพูดคุย และความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการดำเนินนโยบายให้สมบูรณ์
งานนี้ยังได้ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สำคัญ ได้แก่ Blue Paper on the Construction of Silk Road Maritime (2019) ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ความร่วมมือระหว่างประเทศในการสร้างเส้นทางสายไหมทางทะเล โดย China Economic Information Service ได้ออกรายงานดังกล่าวในระหว่างการประชุมครั้งนี้
งานประชุม Silk Road Maritime International Cooperation Forum (SRMF) จัดขึ้นโดยรัฐบาลมณฑลฝูเจี้ยน ในระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน โดยมีกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงคมนาคมของจีน รวมถึงกรมศุลกากรแห่งประเทศจีน เป็นที่ปรึกษาร่วม ขณะที่ผู้ร่วมสนับสนุนประกอบด้วย ศูนย์ความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งคณะกรรมการการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (NDRC) สถาบันวิจัยการขนส่งทางน้ำ บริษัทไชน่า คอสโก ชิปปิง จำกัด สมาคมท่าเรือจีน สมาคมท่าเรือระหว่างประเทศ (IAPH) และสมาคมผู้ประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้าฮ่องกง
ที่มา: รัฐบาลประชาชนแห่งมณฑลฝูเจี้ยน
AsiaNet 80424