ลอนดอน--27 พ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
ผลการจัดอันดับ QS World University Rankings: Asia 2020 ยกให้ National University of Singapore เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของเอเชียเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ส่วนมหาวิทยาลัยร่วมชาติอีกแห่งอย่าง Nanyang Technological University ได้ขยับขึ้นมาเป็นอันดับสอง เบียด University of Hong Kong ลงเป็นอันดับสาม QS ได้ทำการจัดอันดับสถาบันการศึกษายอดเยี่ยม 550 อันดับแรกของเอเชียจาก 18 สถานที่ตั้งด้วยกัน โดยมีระเบียบวิธีที่อาศัยหลักเกณฑ์ 11 ประการ ชุดข้อมูลดังกล่าวครอบคลุมการสำรวจความคิดเห็นของนักวิชาการและนายจ้างเป็นจำนวนมากที่สุดในโลกในแง่ของคุณภาพมหาวิทยาลัย แบ่งเป็นคณะอาจารย์และผู้นำแวดวงวิชาการกว่า 90,000 ราย และผู้จัดการที่เป็นผู้ว่าจ้างงานกว่า 44,000 ราย
ผลการจัดอันดับQS World University Rankings 10 อันดับแรกของเอเชีย
2020 2019
1 1 National University of Singapore
2 3 Nanyang Technological University
3 2 University of Hong Kong
4 3 Tsinghua University
5 5 Peking University
6 13 Zhejiang University
7 6 Fudan University
8 7 The Hong Kong University of Science and Technology
9 8 KAIST - Korea Advanced Institute of Science and Technology
10 9 The Chinese University of Hong Kong
(C) www.TopUniversities.com
- สิงคโปร์ตักตวงผลประโยชน์จากการลงทุนและความเป็นสากล ขณะที่ระบบอื่น ๆ ทั่วเอเชียยังคงเอาอย่างได้ยาก สิงคโปร์จึงยังคงมีอิทธิพลแข็งแกร่ง
- จีนแผ่นดินใหญ่ยังคงครองกระดานมหาวิทยาลัยชั้นนำ โดยมีมหาวิทยาลัยติดอันดับรวม 118 แห่ง และติด 10 อันดับแรกถึง 4 แห่ง ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าสำคัญ เพราะเมื่อย้อนกลับไปก่อนถึงปี 2015 จีนแผ่นดินใหญ่มีมหาวิทยาลัยติด 10 อันดับแรกของเอเชียเพียง 1 แห่ง
- มหาวิทยาลัย 3 อันดับแรกของฮ่องกง ต่างมีอันดับลดลงแห่งละหนึ่งอันดับ ส่วนอีก 4 แห่งถัดมามีอันดับดีขึ้น และมีมหาวิทยาลัยหน้าใหม่ด้วย โดยศักยภาพของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงในการจัดอันดับนี้(ยัง)ไม่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมืองที่ยืดเยื้อ
- อินเดียมีมหาวิทยาลัยติดอันดับ 96 แห่ง โดยติดอันดับครั้งแรก 20 แห่ง แต่ไม่มีแห่งใดติด 30 อันดับแรก โดย Indian Institute of Technology Bombay เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของอินเดีย อยู่ที่อันดับ 34 ของเอเชีย
- ญี่ปุ่นค่อนข้างนิ่งในปีนี้ แม้มีมหาวิทยาลัยติด 30 อันดับแรกถึง 8 แห่ง และติดอันดับรวมถึง 87 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีอันดับลดลง ขณะที่การถดถอยของตัวชี้วัดด้านการวิจัยนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้ญี่ปุ่นค่อนข้างซบเซา
- เกาหลีใต้มีมหาวิทยาลัยติดอันดับรวม 71 แห่ง โดยปรากฏให้เห็นรูปแบบการปรับตัวลดลงเล็กน้อย ขณะที่ Seoul National University หลุด 10 อันดับแรก อย่างไรก็ดี เกาหลีใต้ยังคงมีมหาวิทยาลัยติด 100 อันดับแรกถึง 7 แห่ง
- มาเลเซียยังคงมีความก้าวหน้าที่น่าประทับใจ ซึ่งปรากฏให้เห็นความเป็นเลิศในแง่ของชื่อเสียง เครือข่ายวิจัยนานาชาติ และความเป็นสากล โดยมีสถาบันที่ติดอันดับรวม 29 แห่ง ในจำนวนนี้มีอันดับดีขึ้น 21 แห่ง
- ไทยมีมหาวิทยาลัยติด 50 อันดับแรก 2 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 1 แห่ง
- การจัดอันดับนี้ยังรวมถึงมหาวิทยาลัยในสถานที่ตั้งอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ บังกลาเทศ บรูไน อินโดนีเซีย มาเก๊า มองโกเลีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไต้หวัน และเวียดนาม