ปักกิ่ง--11 ก.พ.--พีอาร์นิวส์ไวร์/InfoQuest
สำหรับชาวจีนส่วนใหญ่แล้ว ปี 2563 เป็นปีที่ต้องจดจำตั้งแต่ต้นปี เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ขึ้นอย่างฉับพลัน โดยเกิดขึ้นในเมืองอู่ฮั่นเป็นที่แรก จากนั้นทุกเมืองต่างผนึกกำลังและร่วมแรงร่วมใจกันอย่างเต็มที่เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาด เช่นเดียวกับบริษัทไมโครมัลติคอปเตอร์ (MMC) จากเมืองเซินเจิ้น ที่ได้ร่วมนำเสนอมาตรการป้องกันด้วยอากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือโดรน โดยบริษัทได้ส่งทีมบริการที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่กว่า 200 คนพร้อมโดรนกว่า 100 ตัวไปประจำตามเมืองต่าง ๆ อาทิ เซี่ยงไฮ้ กว่างโจว จ้าวชิง และอีกหลายพื้นที่ เพื่อร่วมปฏิบัติการครั้งนี้ ด้วยวิธีนี้ ความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่ระบาดในกลุ่มเจ้าหน้าที่แนวหน้านั้นจึงลดลงอย่างมาก
I. การกระจายเสียงทางอากาศ
โดรนสามารถบินลาดตระเวนจริงได้แบบ 360 องศา เพื่อสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมบนภาคพื้นดินผ่านกล้องที่สามารถซูมได้ 40 เท่า ดังนั้น ประชาชนและผู้ที่ไม่สวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะจะถูกตรวจพบ จากนั้น หัวหน้าหรือผู้มีหน้าที่สั่งการจะประกาศผ่านโทรโข่งที่ติดบนตัวโดรนเพื่อแจ้งเตือนคนเหล่านั้น โดยโดรนจะบินกระจายเสียงเป็นประจำทุกวันในสถานที่ชุมชนต่าง ๆ
II. การฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ
โดรนของ MMC ยังถูกนำไปใช้เพื่อฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคตามสถานที่สาธารณะ ตั้งแต่สถานีขนส่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต ไปจนถึงสนามหญ้าเล็ก ๆ ตามที่ต้องการ เมื่อเทียบกับวิธีการแบบเดิม ๆ การใช้โดรนสามารถหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงได้ โดยเฉพาะในสถานที่ที่ต้องการการฆ่าเชื้อตามปกติ
III. การตรวจวัดอุณหภูมิทางอากาศ
โดรนที่ติดกล้องถ่ายภาพความร้อนจะวัดอุณหภูมิแต่ละคนโดยอัตโนมัติผ่านอินฟราเรดที่มีความแม่นยำสูง ซึ่งถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในพื้นที่ที่มีคนหนาแน่น เพื่อช่วยในการบริหารจัดการสถานที่และการอพยพประชาชน
IV. ควบคุมการจราจร
ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา ทีมงานของ MMC ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเพื่อสังเกตสภาพคล่องการจราจร เนื่องจากมีความครอบคลุมมากกว่ากล้องแบบติดตั้งประจำที่ โดรน MMC จึงสามารถช่วยผู้บัญชาการได้เป็นอย่างมากในการหาทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
"ไม่เหมือนกับปีก่อน ๆ ที่เราต้องขับรถเพื่อลาดตระเวนและรวบรวมข้อมูล ตอนนี้ เราสามารถตรวจพบทุกอย่างได้โดยใช้โดรน" เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรท้องถิ่นนายหนึ่งกล่าวชมพร้อมยกนิ้วโป้งให้
"ตอนแรก โดรนของเราถูกใช้ในการกระจายเสียงทางอากาศเพียงอย่างเดียว แต่จากนั้นได้ถูกนำไปใช้งานเชิงลึกมากขึ้นในแนวหน้า เพราะสถานการณ์รุนแรงมากขึ้น จึงจำเป็นต้องนำมาใช้งานในด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม และเราก็ได้จัดตั้งทีมวิจัยและพัฒนา (R&D) ออนไลน์ขึ้นทันที เพื่อร่วมปฏิบัติภารกิจ" ลู่ จื้อฮุย ประธาน MMC กล่าว
ในฐานะบริษัทที่มีห่วงโซ่อุปทาน UAV เชิงอุตสาหกรรมที่สมบูรณ์ MMC จึงไม่เพียงให้บริการโซลูชั่นต่าง ๆ ได้ครบถ้วนเท่านั้น แต่ยังให้บริการชิ้นส่วนที่สำคัญของ UAV รวมถึงความร่วมมือด้านการผลิต (OEM/ODM) ด้วย MMC มีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับโซลูชันให้เป็นระบบอัตโนมัติ เพื่อให้ประชาชนสามารถทำงานด้วยความปลอดภัยมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยต้นทุนที่ถูกลง
รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200209/2715232-1-a
คำบรรยายภาพ: โดรน MMC ติดโทรโข่ง ขณะบินกระจายเสียงทางอากาศ
รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200209/2715232-1-b
คำบรรยายภาพ: โดรน MMC เตรียมพร้อมปฏิบัติภารกิจ
รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200209/2715232-1-c
คำบรรยายภาพ: โดรน MMC สังเกตการณ์การจราจร
รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200209/2715232-1-d
คำบรรยายภาพ: ห่วงโซ่อุปทานเชิงอุตสาหกรรมของ MMC