เซินเจิ้น จีน--11 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
- หัวเว่ย จัดงาน Global FSI Summit 2020 ทางออนไลน์
หัวเว่ย จัดงาน Global FSI Summit 2020 (แบบออนไลน์สำหรับต่างประเทศ) ภายใต้แนวคิด “Thrive Digitally in a Mobile Future” โดยสถาบันและบริษัทในภาคอุตสาหกรรมการเงินได้รับเชิญให้มาแบ่งปันประสบการณ์และข้อมูลเชิงลึกในการรับมือกับ “ชีวิตวิถีใหม่” (New Normal) ในยุคหลังโรคระบาด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการผลักดันกลยุทธ์ Mobile First หรือการที่มือถือเป็นศูนย์กลางของโลกยุคดิจิทัล และใช้ฟินเทคเพื่อสร้างหลักประกันด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจและปรับรูปแบบบริการทางการเงิน หัวเว่ยเชื่อว่า ขีดความสามารถด้านมือถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับธนาคารในอนาคต ซึ่งการสนับสนุนธุรกิจที่ดำเนินงานและให้บริการผ่านมือถือเป็นหลักนั้น จะต้องอาศัยสถาปัตยกรรมไอทีใหม่ ตลอดจนใช้ขีดความสามารถหลัก ๆ ของคลาวด์, AI และ 5G ในฐานะบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ หัวเว่ยได้นำเสนอโซลูชั่น ICT ทางการเงินแก่ลูกค้าในภาคการเงินทั่วโลก และทำงานร่วมกับพันธมิตรชั้นนำของโลกเพื่อพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน
งานซัมมิตดังกล่าวมีสถาบันการเงินชั้นนำของโลกเข้าร่วม เช่น Shanghai Pudong Development (SPD) Bank, China Construction Bank, Singapore DBS Bank, Sberbank, BBVA, Isbank รวมไปถึงผู้ให้บริการโซลูชั่นทางการเงินระดับแนวหน้าอย่าง Temenos และสถาบันวิเคราะห์ เช่น IDC ตลอดจนผู้เล่นระดับโลกรายอื่น ๆ ในอุตสาหกรรม
สถาบันการเงินที่ยึดกลยุทธ์ Mobile First และก้าวไปสู่การเป็นดิจิทัลอย่างเต็มตัว จะประสบความสำเร็จมากกว่า
โรคระบาดโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้อุตสาหกรรมการเงินเดินหน้าผลักดันการดำเนินงานในรูปแบบดิจิทัลด้วยความเชื่อมั่นและความมุ่งมั่นที่มากขึ้น นอกจากนี้อุตสาหกรรมยังแสดงให้เห็นข้อได้เปรียบและคุณค่าของการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ในการดำเนินงานทางดิจิทัล
Peng Zhongyang สมาชิกคณะกรรมการบริหาร และประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย กล่าวว่า “อุตสาหกรรมฟินเทคจะมาพร้อมโอกาสใหม่ ๆ และการยกระดับบริการทางการเงิน ด้วยคลาวด์คอมพิวติง, บิ๊กดาต้า, AI, 5G และเทคโนโลยี ICT อื่น ๆ เรานำประสบการณ์ด้านเทคนิคที่สั่งสมมานาน 30 ปี รวมถึงความสามารถและความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในอุตสาหกรรม มาเชื่อมโยงเข้ากับความต้องการของลูกค้า เพื่อมอบผลิตภัณฑ์และโซลูชั่น ICT ทางการเงินที่ได้เปรียบในการแข่งขัน พร้อมขยายไปยังขอบข่ายอื่น ๆ นอกจากนี้ เรายังร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลายเพื่อพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน เราเชื่อว่าสถาบันการเงินที่พร้อมก้าวไปสู่การเป็นดิจิทัลอย่างเต็มตัวจะเห็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่า”
Jason Cao ประธาน Global Financial Services Business Unit กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย กล่าวว่า การยึดหลักการ “Mobile First” เพื่อสร้างประสบการณ์อัจฉริยะ นับเป็นรากฐานสำคัญสำหรับกลยุทธ์ของสถาบันการเงินที่ดำเนินธุรกิจโดยเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง “เราเชื่อว่าขีดความสามารถทางมือถือจะเป็นแกนหลักของอุตสาหกรรมธนาคารในอนาคต ไม่เพียงอินเทอร์เฟซที่ใช้เชื่อมต่อกับลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการดำเนินงานภายในและความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ การสนับสนุนธุรกิจที่ดำเนินงานและให้บริการผ่านมือถือเป็นหลักนั้น จำเป็นต้องอาศัยสถาปัตยกรรมไอทีใหม่ ตลอดจนใช้ขีดความสามารถของ 5G, AI และคลาวด์ ซึ่งในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเหล่านี้ หัวเว่ยจึงมีความได้เปรียบอย่างโดดเด่นในการสนับสนุนการใช้คลาวด์ของสถาบันการเงิน สร้างการเชื่อมต่อรูปแบบใหม่ ๆ และช่วยสถาบันการเงินยกระดับความคล่องตัวและขีดความสามารถด้านนวัตกรรม”
ประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงของธนาคารในจีน ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมบริการทางการเงินทั่วโลก
ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยสั่งสมประสบการณ์ที่กว้างขวางทั่วโลก โดยเฉพาะในตลาดจีน ซึ่งหัวเว่ยได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการช่วยให้ธนาคารชั้นนำเปลี่ยนแปลงและประสบความสำเร็จในยุคแห่งแอปมือถือ โดยภาคธุรกิจธนาคารได้ใช้ชุดมาตรการต่างๆ เพื่อรับประกันความต่อเนื่องของธุรกิจในแต่ละระยะของโรคระบาด และในยุคหลังโรคระบาดนี้ ธนาคารต่าง ๆ จำเป็นต้องดำเนินธุรกิจในเชิงรุกอย่างมั่นใจ และเตรียมพร้อมสำหรับความไม่แน่นอนต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจจะเดินหน้าต่อไปได้
Shanghai Pudong Development (SPD) ใช้เทคโนโลยี เช่น 5G, IoT, AI และคลาวด์คอมพิวติงมาตั้งแต่ปี 2561 โดยช่วงต้นปีนี้ ธนาคารได้จัดทำแผนปฏิบัติการระยะ 3 ปี เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบธนาคารแบบเปิด ส่งเสริมการปฏิรูปดิจิทัลอย่างเต็มตัว และสร้างตัวขับเคลื่อนการพัฒนาใหม่ ๆ ด้วยการมุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์ลูกค้าและเทคโนโลยีดิจิทัล จากมุมมองเชิงกลยุทธ์นี้ เราจะส่งเสริมการดำเนินงานด้วยดาต้า การอัปเกรดเทคโนโลยี และความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น SPD Bank ได้พัฒนา Xiaopu พนักงานเสมือนจริงที่ขับเคลื่อนด้วย AI และผ่านการฝึกอบรมอย่างมืออาชีพ ทำให้ Xiaopu สามารถประเมินความเสี่ยง ให้คำปรึกษาทางการเงิน แนะนำการลงทุน ตลอดจนบริการเผยแพร่ข่าวสารออนไลน์ โดยในสภาพแวดล้อม 5G นี้ Xiaopu สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบบนอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทวอทช์ และรถยนต์ ส่งผลให้บริการอัจฉริยะคุณภาพสูงที่ตอบโจทย์ความต้องการส่วนบุคคลมีความสะดวกสบายและทั่วถึงมากขึ้น
Pan Weidong ประธาน SPD Bank กล่าวว่า “SPD Bank ยึดนโยบายลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และด้วยเหตุนี้ เราจึงใช้ 5G และเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อยกระดับประสบการณ์ลูกค้า โมเดลธุรกิจ และอิโคซิสเต็มแบบเปิดอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนขยายขอบเขต ความลึกและความกว้างของบริการทางการเงิน เราจะเสริมสร้างความร่วมมือและนวัตกรรมข้ามอุตสาหกรรม เราต้องการสร้างความเป็นไปได้ที่ไม่สิ้นสุดผ่านทางการเชื่อมต่อ รวมทั้งกระตุ้นแรงผลักดันที่ไม่มีวันหมดด้วยระบบอัจฉริยะ ให้บริการระบบนิเวศอุตสาหกรรมด้วยฟินเทค และร่วมส่งเสริมการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพเพื่ออนาคตที่ดีกว่า”
ด้าน China Construction Bank (CCB) ได้ออกแผนกลยุทธ์ “TOP+” สำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลทางการเงินตั้งแต่ปี 2554 โดยใช้เทคโนโลยีและข้อมูลเป็นพวงมาลัยขับเคลื่อน พร้อมนำทางการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น AI, บล็อกเชน, คลาวด์คอมพิวติง และ 5G ตลอดจนวางบริการทางการเงินใน 4 กลุ่มธุรกิจสำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย และการขนส่ง โดยในช่วงที่เกิดโรคระบาด การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่วยให้ CCB สามารถให้บริการลูกค้าได้ 'โดยไม่ต้องสัมผัส’ ยกตัวอย่างเช่น ช่องทางสินเชื่อออนไลน์ที่มีการวางระบบทันท่วงทีเพื่อตอบสนองความต้องการทางการเงินของลูกค้า โดยในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ทางธนาคารได้เปิดตัวบริการที่ครบวงจรผ่านระบบโมบายแบงกิ้งและ WeChat Bank ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดแบบเรียลไทม์ การสมัครเพื่อขอชำระคืนเงินกู้ส่วนบุคคลล่าช้า การบริจาคเพื่อการกุศล และบริการอื่นๆ
Niu Wenchao วิศวกรอาวุโสของ China Construction Bank กล่าวในงานซัมมิตว่า “ในช่วงที่เกิดโรคระบาด ถึงแม้การทำธุรกรรมผ่านเคาน์เตอร์จะลดลงอย่างมาก แต่ธุรกรรมออนไลน์ของ CCB กลับเพิ่มขึ้น เนื่องด้วยกลยุทธ์ Dual Cloud ของ CCB ซึ่งประกอบด้วยคลาวด์ส่วนตัวที่ทำให้การดำเนินงานมีความมั่นคง และคลาวด์สาธารณะที่ช่วยในด้านนวัตกรรมและการพัฒนา แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่านั้นคือ เราพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานดาต้าเซ็นเตอร์อัจฉริยะและเครือข่ายระบบอัตโนมัติอัจฉริยะที่หัวเว่ยและ CCB ร่วมกันสร้างขึ้น การเปลี่ยนเป็นดิจิทัลได้วางรากฐานให้เราสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินได้รวดเร็ว และรักษาความต่อเนื่องของบริการลูกค้าไว้ได้”
โครงสร้างพื้นฐานข้อมูลของหัวเว่ย ช่วยกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในภาคการเงินเพื่อรับมือความท้าทายในโลกมือถือ
การเชื่อมต่อแบบเรียลไทม์ที่เสถียรและทรงพลังเป็นสิ่งสำคัญในยามที่ภาคธนาคารเข้าสู่โลกดิจิทัล ขณะที่ 5G, IoT และเครือข่ายที่ยืดหยุ่นเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญ
Joy Huang ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ กลุ่มธุรกิจ Cloud & AI ของหัวเว่ย แสดงความเห็นว่า โครงสร้างพื้นฐานข้อมูลเป็นขุมพลังให้กับระบบธนาคารในอนาคต การที่ธนาคารบางแห่งเติบโตอย่างมั่นคงได้นั้น เป็นเพราะมีเทคโนโลยีดิจิทัล บริษัทที่เติบโตเหล่านี้มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ขีดความสามารถด้านบริการออนไลน์ที่ดีบนคลาวด์ ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงมีความคล่องตัวสูงในด้านนวัตกรรม หัวเว่ยเรียนรู้จากลูกค้าว่าวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือการใช้มัลติคลาวด์ ด้วยการแบ่งคลาวด์สำหรับผู้ใช้ที่ต่างกัน ขณะเดียวกันก็ใส่ใจกับประสบการณ์ปลายทางของลูกค้าสำหรับบริการบนมือถือและอุปกรณ์อัจริยะต่าง ๆ
แอปการเงินที่ยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้ถือเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ซึ่ง Siri Borsum รองประธานฝ่าย Finance Vertical, Global Partnerships & Eco-Development กลุ่มธุรกิจคอนซูมเมอร์ของหัวเว่ย กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ฐานผู้ใช้อุปกรณ์ของหัวเว่ยที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก บวกกับขีดความสามารถด้าน HMS ที่เข้มแข็ง ทรัพยากรตลาดมากมาย รวมถึงทรัพยากรค้าปลีกออฟไลน์ และทรัพยากรมนุษย์ทั่วโลก จะช่วยให้พาร์ทเนอร์ของเราสามารถให้บริการผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้แอปมือถือ”
การเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลทางการเงิน โดย Daniel Tang ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี กลุ่มผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย กล่าวว่า “หัวเว่ยอัปเกรดโซลูชั่นเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์ CloudFabric 2.0 อย่างครอบคลุม ผ่านทางการเชื่อมต่ออัจฉริยะ 400GE ที่มีความหนาแน่นสูงและกว้างเป็นพิเศษ รวมถึงสนับสนุนศักยภาพที่ต่างกัน เช่น การดำเนินงานอัจฉริยะ และการบำรุงรักษาเครือข่ายการขับขี่อัตโนมัติ นำเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์เข้าสู่ยุคอัจฉริยะ ช่วยสถาบันการเงินสร้างบริการทางการเงินเต็มรูปแบบ และยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้มือถือ”
หัวเว่ยช่วยให้สถาบันการเงินเปลี่ยนเป็นดิจิทัลในแง่ของการขยายบริการทางการเงินอย่างทั่วถึ่ง การสร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ระบบธนาคารแบบเปิด ตลอดจนมอบบริการทางการเงินที่สะดวกสบาย ครบวงจร เสถียร และปลอดภัยแก่ลูกค้า นับจนถึงปัจจุบัน หัวเว่ยให้บริการสถาบันการเงินกว่า 1,600 แห่งทั่วโลก ซึ่งรวมถึงธนาคาร 100 อันดับแรกของโลก 45 แห่ง นอกจากนี้ ยังได้สร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ที่ครอบคลุมกับธนาคาร บริษัทประกันภัย และบริษัทหลักทรัพย์ขนาดใหญ่รวม 20 แห่งทั่วโลก และเป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ที่ไว้ใจได้สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของลูกค้า
Global FSI Summit เป็นอีเวนต์ด้าน ICT ระดับโลกที่หัวเว่ยจัดขึ้นเพื่ออุตสาหกรรมบริการทางการเงิน โดยจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2556 และผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดล้วนเป็นผู้นำระดับสูงจากสถาบันการเงินต่าง ๆ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei Global FSI Summit ประจำปี 2563 ได้ที่ https://e.huawei.com/topic/finance2020/en/