กุ้ยหยาง จีน--29 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
รายงานข่าวเรื่องบิ๊กดาต้ากับการปฏิวัติภาคการเกษตรของจีนโดยเว็บไซต์ Huanqiu.com
หลังจากสิ้นภารกิจของวันนี้ Luke Yang วิศวกรจากเซินเจิ้น ก็ได้เดินไปเปิดตู้เย็นและหยิบข้าวโพดหวานออกมาคลุกกับซอสครีมซีสแล้วนำไปเข้าเตาอบ ก่อนที่เขาจะเพลิดเพลินกับมื้ออาหารแสนอร่อยนี้พร้อมสนุกไปกับวิดีโอสั้น ๆ ที่ดูผ่านหน้าจอแท็บเล็ตของตัวเอง
ในเวลาเดียวกัน NadimTong เกษตรกรจากเทศมณฑลต้านจ้ายในมณฑลกุ้ยโจว ก็กำลังนั่งอยู่หน้าแท็บเล็ต เพื่อตรวจสอบยอดขายสินค้าออนไลน์ของตัวเอง โดยทั้ง Luke และ Nadim ต่างไม่เคยเจอหน้ากันมาก่อน แต่อีคอมเมิร์ซก็ทำให้พวกเขาทั้งคู่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันได้
องค์กรที่ Nadim ทำงานให้คือ Guizhou Yo Yo Green Agricultural Technology Co., Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซชั้นนำที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี โดยเฉพาะบิ๊กดาต้าเพื่อเพิ่มผลผลิตและกำไร และรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนนี้เองก็ได้ช่วยให้เกษตรกรท้องถิ่นจำนวนมากสามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้ในที่สุด
ตลอดหลายปีมานี้ มณฑลกุ้ยโจวได้ผสมผสานบิ๊กดาต้ากับเข้าอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งคล้ายคลึงกับที่ Yo Yo Green บริษัทซึ่งเป็นแหล่งรวมตัวขององค์กรชนบทจำนวนมากในกุ้ยโจวได้นำเอาโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมาใช้ในการทำธุรกิจด้านการเกษตร
ในเบื้องต้น บิ๊กดาต้าจะเข้ามาช่วยในการปรับห่วงโซ่อุปทานให้มีความเหมาะสม และอุดช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานให้น้อยลง เพราะในอุตสาหกรรมเกษตรแบบดั้งเดิมนั้น เกษตรกรจะส่งผลผลิตที่ได้จากการเก็บเกี่ยวไปยังพ่อค้าหรือห้างสรรพสินค้า โดยรูปแบบเช่นนี้อาจทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานขึ้น เนื่องจากเราจะไม่สามารถรับรู้ได้เสมอไปว่าควรเตรียมผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรชนิดใดไว้จำนวนเท่าใดเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ซื้อ
ด้วยเหตุนี้ องค์กรการเกษตรขนาดใหญ่ในมณฑลกุ้ยโจวจึงนำเอาบิ๊กดาต้ามาใช้เพื่อรับมือกับอุปสรรคดังกล่าว ตัวอย่างเช่น Meitan Qinyuanchun Tea Co. LTD. ที่ใช้บิ๊กดาต้ามาช่วยให้เกษตรกรสามารถตรวจสอบแนวโน้มของผู้บริโภคได้ดีขึ้น และเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในตลาดต่อไป
“สำหรับลูกค้าที่มีความเฉพาะเจาะจงสูงนั้นจะมีข้อกำหนดในการนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคด้วยความช่วยเหลือจากการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ของเรา ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสามารถปรับการผลิตให้ตรงตามความต้องการของตลาดได้ ยกตัวอย่างเช่น การลดความสูญเสียด้วยการปลูกชาให้น้อยลงเมื่อความต้องการชาลดลง และใช้พื้นที่ว่างนั้นในการปลูกพืชอย่างอื่นทดแทน” Jiwei Zhao ประธาน Meitan Qinyuanchun Tea Co. LTD กล่าวกับผู้สื่อข่าวของ Huanqiu.com
Zhao กล่าวว่า “เป็นเพราะฐานข้อมูลและอีคอมเมิร์ซ ทำให้ปัจจุบันไร่ชาขนาด 1 mu (666.67 ตารางเมตร) สามารถสร้างรายได้ถึง 5,000 หยวน (706 ดอลลาร์) โดยเพิ่มขึ้นจากเดิม 1,000 หยวน (141 ดอลลาร์สหรัฐ)”
นอกจากการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับห่วงโซ่มูลค่าแล้ว อุตสาหกรรมเกษตรท้องถิ่นยังสามารถนำบิ๊กดาต้ามาใช้ในการเพิ่มผลผลิตได้อีกด้วย เพราะการทำการเกษตรนั้นมักต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยงมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ หรือแม้แต่โรคในพืชที่คาดเดาไม่ได้ ซึ่งอาจทำลายผลผลิตทั้งหมดและก่อให้เกิดความเสียหายที่ไม่อาจย้อนกลับ
จากการทดลองใช้งานบิ๊กดาต้า พบว่า เกษตรกรอาจไม่จำเป็นที่จะต้องอดทนกับเหตุการณ์เหล่านี้อีกต่อไป องค์กรท้องถิ่นในชนบทจึงเริ่มหันมาใช้งานบิ๊กดาต้าเพื่อติดตามคุณภาพของผลผลิตและประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันกันมากขึ้น เช่น ที่แหล่งเพาะปลูกกีวีในเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการเพาะปลูกกีวีของอำเภอซิ่วเหวิน ซึ่งเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความสำเร็จในด้านนี้ได้เป็นอย่างดี
เจ้าหน้าที่รายหนึ่งจากบริษัท Xiuwen County State-Owned Assets Investment and Management Co. LTD เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า “เขตของเราได้นำอุปกรณ์ IoT มาติดตั้งไว้ในฟาร์มเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิ ความชื้น และค่า pH ซึ่งช่วยให้เราสามารถตรวจสอบสภาพของพื้นที่จะตอบสนองต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที และลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิตลงให้น้อยที่สุด”
การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องนี้ ทำให้เกษตรกรท้องถิ่นสามารถคาดคะเนสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน ทุกวันนี้เกษตรกรสามารถสร้าง “ผลผลิตได้เฉลี่ย 1,500 1 mu (666.67 ตารางเมตร) และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการลงได้ถึง mu ละ 2,000 หยวน (283 ดอลลาร์สหรัฐ) ส่งผลให้กีวีทั้งหมดที่ปลูกเขตนี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นราว 360 ล้านหยวน (51 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)!" เจ้าหน้าที่รายเดิมระบุ
เป็นที่น่าสังเกตว่า เกษตรกรในเขตนี้สามารถนำเอาข้อมูลเชิงลึกจากการวิเคราะห์บิ๊กดาต้าในแบบเรียลไทม์มาใช้ในการเพิ่มผลผลิตให้ได้ปริมาณมากที่สุด โดยเกษตรกรที่อยู่ในพื้นเพาะปลูกหลักของเขตเพาะปลูกกีวีแห่งนี้ซึ่งมีอยู่ราว 57,400 ราย มีรายได้ต่อหัวเฉลี่ยอยู่ที่ 26,000 หยวน (3,676ดอลลาร์สหรัฐ) มากกว่าเกษตรกรผู้เพาะปลูกกีวีในพื้นที่อื่น ๆ ถึง 52% จึงอาจกล่าวได้ว่านี่เป็นวิธีการที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตในชนบทและขับเคลื่อนโครงการลดความยากจนให้สัมฤทธิ์ผลได้อย่างแท้จริง
อันที่จริงแล้ว ความสำเร็จจากการใช้งานบิ๊กดาต้าในทุกแง่มุมของอุตสาหกรรมการเกษตรในมณฑลกุ้ยโจวนั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้เลยหากขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลที่ช่วยผลักดันให้กุ้ยโจวเร่งความเร็วในการพัฒนาการเกษตรอัจฉริยะตลอดระยะเวลาหลายปีมานี้
ในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของมณฑล เมืองกุ้ยหยางมีความมุ่งมั่นอย่างเต็มเปี่ยมที่จะสนับสนุนให้มีการใช้งานบิ๊กดานี้ในภาคการเกษตร รวมถึงการจัดให้มีโครงการนำร่องการใช้งาน IoT ขึ้นในเมืองแห่งนี้ โดยรัฐบาลของเมืองกุ้ยโจวได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดในการพัฒนาแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ พร้อมขยายขีดความสามารถของเมืองเพื่อปูทางสู่การเป็นเมืองแห่งการเกษตรอัจฉริยะต่อไป
จากข้อมูลของคณะกรรมการบริหารกิจการทางไซเบอร์ของจีน พบว่า ในปี 2562 มณฑลกุ้ยโจวมีศูนย์ดำเนินการอีคอมเมิร์ซระดับเทศมณฑลตั้งอยู่ 49 แห่ง และสถานีให้บริการด้านอีคอมเมิร์ซในท้องถิ่นอีก 8,601 สถานี จึงช่วยประหยัดต้นทุนด้านการขนส่งลงได้มากกว่า 20% นอกจากนี้ 90% ของหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตชนบทของมณฑลซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่รวมกันกว่า 30 ครัวเรือนยังสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 4G กันได้อย่างทั่วถึง ขณะเดียวกัน มณฑลแห่งนี้ก็ได้แสดงผลงานการพัฒนาออกมาให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ด้วยการเติบโตของวิทยาลัยอาลีบาบาแห่งสถาบันเทคโนโลยีกุ้ยโจวในช่วงไม่กี่ปีมานี้
“บิ๊กดาต้าได้เข้ามาผลิกโฉมเศรษฐกิจการเกษตรให้เปลี่ยนไปจากที่เคยเป็น ตั้งแต่ที่มณฑลกุ้ยหยางได้ให้ความสำคัญกับการผนวกรวมเทคโนโลยีบิ๊กดาต้าเข้ากับอุตสาหกรรมการเกษตร จนกลายมาเป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพในการนำพาประชาชนให้หลุดพ้นจากความยากจน เราต้องขอขอบคุณมหกรรม China International Big Data Industry Expo ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้รูปแบบการเกษตรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลถูกนำไปใช้งานในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นวงกว้าง” Jun Wang รองเลขาธิการมูลนิธิบรรเทาความยากจนของจีนกล่าวกับ Huanqiu.com
รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200629/2843218-1
คำบรรยายภาพ: เขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการเพาะปลูกกีวีในอำเภอซิ่วเหวินเป็นตัวอย่างสำคัญของการใช้งานบิ๊กดาต้าเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร