ผู้เข้าร่วมการประชุม China-ASEAN AI Summit ครั้งที่สอง ระบุว่า ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ถือเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับความร่วมมือระหว่างจีนและอาเซียนในด้านต่างๆ เช่น การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจดิจิทัล และการพัฒนาด้วยนวัตกรรม ซึ่งช่วยสร้างโอกาสมากมายในตลาด โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายน ในเมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง
ประเทศสมาชิกอาเซียนต่างให้ความสนใจอย่างมากกับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและภูมิสารสนเทศศาสตร์ ขณะที่การทำแผนที่ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยเหตุนี้ ความร่วมมือในด้านภูมิสารสนเทศศาสตร์และการทำแผนที่จึงเป็นสิ่งที่จีนและอาเซียนให้คุณค่าอย่างมาก ผู้ที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่าระดับความร่วมมือระหว่างจีนและอาเซียนในด้านภูมิสารสนเทศศาสตร์และการทำแผนที่จะมีมูลค่าสูงกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในอีกห้าปีหลังจากนี้ ซึ่งในแง่นี้ คาดว่าเทคโนโลยี AI ซึ่งเป็นหนึ่งแนวโน้มที่สำคัญของภูมิสารสนเทศศาสตร์และการทำแผนที่ จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐานระหว่างจีนกับอาเซียน
เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นอีกเรื่องที่มีความสำคัญในความร่วมมือระหว่างจีนกับอาเซียน โดยคาดว่ามูลค่าเทคโนโลยีดิจิทัลในอาเซียนจะสูงถึง 6.25 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030 ตามแผนแม่บทการเชื่อมโยงอาเซียน (Master Plan on ASEAN Connectivity 2025)
จีนจะยกระดับความร่วมมือกับอาเซียนในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง AI และการพิมพ์ 3 มิติในด้านการป้องกันและควบคุมโรคระบาด การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรม และการส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ภายใต้แผนริเริ่มในการเป็นพันธมิตรด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีนและอาเซียน
บริษัทที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนสนับสนุนความร่วมมือระหว่างจีนและอาเซียนในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ยกตัวอย่างเช่น บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน Huawei จะช่วยประเทศไทยสร้างศูนย์กลางดิจิทัลของอาเซียน และส่งเสริมการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ด้วยการใช้เทคโนโลยีและโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ในประเทศ จากการเปิดเผยของ Abel Deng ซีอีโอบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด
นอกจากนี้ คาดว่า AI จะสร้างประโยชน์ให้กับการพัฒนาดิจิทัล การใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชั่นอินเทอร์เน็ตและแพลตฟอร์มนวัตกรรมของจีนกับอาเซียนในการร่วมกันก่อสร้างระบบ AI, ศูนย์บิ๊กดาต้า, ศูนย์ประมวลผลอัจฉริยะ ฯลฯ จะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการเกี่ยวกับ AI การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี การแบ่งปันสิทธิบัตร และการฝึกอบรมบุคลากร Lu Dongliang ประธานและประธานคณะกรรมการบริหาร China-ASEAN Information Harbor Co., Ltd กล่าว พร้อมเสริมว่ากองทุนความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขงก็เกิดขึ้นจากแนวคิดดังกล่าวเช่นกัน
จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของอาเซียนมาเป็นเวลาสิบปีติดต่อกัน บริษัทจีนลงทุนในอาเซียนเป็นมูลค่ากว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสร้างงานกว่า 100,000 ตำแหน่งให้แก่ประชากรในภูมิภาค
ลิงก์ข่าวต้นฉบับ: https://en.imsilkroad.com/p/317625.html
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1336082/Xinhua_Silk_Road.jpg