LID ต่ำและกระแสจากเซลล์ทั้งสองหน้าสูง
ยอดการส่งมอบโมดูลแบบสองหน้าที่มีสมรรถนะสูงของ LONGi ได้แตะหลัก 10GW แล้ว โดยคาดว่าจะมีการผลิตแตะหลัก 12GW ภายในปลายปี 2563
โมดูลแบบสองหน้าเป็นความก้าวหน้าที่ล้ำสมัยยิ่งขึ้นในแวดวงเทคโนโลยีแผงพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีค่า LID ต่ำและมีประสิทธิภาพสูง ทำให้โมดูลประเภทนี้เตรียมกลายเป็นเทรนด์ใหม่เพื่อพลิกวงการพลังงานแสงอาทิตย์ จนกลายเป็นมาตรฐานใหม่ในเร็ววันนี้ โดยเมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา LONGi ได้กลายเป็นซัพพลายเออร์เจ้าแรก ๆ ที่ส่งเสริมเทคโนโลยีดังกล่าวด้วยโมดูลแบบสองหน้ารุ่น Hi-MO2 ต่อมาในปี 2561 ก็ได้เปิดตัวโมดูล Hi-MO 3 ซึ่งใช้เทคโนโลยีแบบครึ่งเซลล์และเซลล์แบบสองหน้า และในปี 2562 โมดูลแบบสองหน้าที่ว่านี้ก็ได้รับความนิยมในวงกว้าง โดยมีโมดูล Hi-MO 4 (แรงดันสูง) แบบ 166mm เป็นตัวพลิกตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ และเมื่อยุค Grid Parity ได้เริ่มขึ้น บริษัทก็ได้เปิดตัวโมดูลแบบสองหน้ารุ่นใหม่อย่าง Hi-MO 5 ในปีนี้ เพื่อส่งมอบให้นักลงทุนตามโรงงานพลังงานแสงอาทิตย์ระดับสาธารณูปโภคทั่วโลก
การใช้งานทั่วโลกสะท้อนคุณประโยชน์ที่แท้จริง
LONGi ยึดมั่นอย่างเหนียวแน่นในเรื่องนวัตกรรม และได้ผลิตโมดูลแบบสองหน้าเป็นจำนวนมากเมื่อปี 2560 โดยใช้เทคโนโลยี PERC และได้เข้ามามีส่วนในโครงการระดับ "Top Runner" ของจีน
นับตั้งแต่นั้น โมดูลแบบสองหน้าของบริษัทก็มีการนำไปติดตั้งทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นโครงการระดับ 390MW ในเมืองอัสวันของอียิปต์ ไปจนถึงโรงงานระดับ 224MW ในรัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา
ผลการวิจัยที่ LONGi ทำขึ้นภายในบ่งชี้ว่า โมดูลแบบสองหน้าจะมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น โดยเมื่อมีการผลิตเพิ่มขึ้น (หมายถึงมีข้อมูลมากขึ้นและดีไซน์ดีขึ้น) ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมาอันเป็นผลจากการผลิตด้านข้างของโมดูลแบบสองหน้า จะถูกชดเชยด้วยค่า LCOE ที่ลดลงและศักยภาพการทำกำไรที่เพิ่มขึ้น
สร้างอนาคตใหม่ด้วย Hi-MO 5 ใหม่ล่าสุด
โมดูล Hi-MO 5 (เวเฟอร์มาตรฐาน M10) ถือกำเนิดจากศักยภาพในการผลิตเซลล์และโมดูลที่สร้างขึ้นมาใหม่ โดยได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2563 โมดูลแรงสูงรุ่นใหม่เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับสถานีไฟฟ้าขนาดใหญ่มาก ซึ่งให้พลังงานสูงสุด 540W และประสิทธิภาพ 21.1% เพื่อมอบทั้งสมรรถนะและความน่าเชื่อถือระยะยาว
ด้วยยอดการส่งมอบแผงแบบสองหน้าที่แตะหลัก 10GW แล้ว LONGi จะเดินหน้าลดค่า LCOE ต่อไปให้แก่ลูกค้า และสร้างอนาคตที่สดใสยิ่งกว่าสำหรับอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์