แบรนด์และผู้ค้าปลีกชั้นนำระดับโลกผนึกกำลังเพื่อรับมือกับปัญหาขยะพลาสติกด้วยการให้คำมั่นเกี่ยวกับและนโยบายและบรรจุภัณฑ์

ข่าวทั่วไป Wednesday December 9, 2020 08:30 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

สมาชิกสามสิบหกรายของประชาคมสินค้าอุปโภคบริโภคได้ให้คำมั่นที่จะควบคุมปัญหามลพิษจากพลาสติกในแนวร่วมปฏิบัติด้านขยะพลาสติกใหม่ ที่นำโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO-led Plastic Waste Coalition of Action)

หลังจากมีการตั้ง "กฎทองคำสำหรับการออกแบบ" (Golden Design Rules) สองข้อแรกขึ้นมา บริษัทต่าง ๆ ที่รวมกันแล้วมีรายได้ประจำปีมากกว่า 1 ล้านล้านยูโร ก็มีเป้าหมายที่จะลดการใช้พลาสติก และปรับปรุงความสามารถในการรีไซเคิล โดยค่อย ๆ ลดละเลิกการใช้วัสดุ สี และฉลากที่เป็นปัญหาออกจากบรรจุภัณฑ์ของตนเอง

เอกสารแสดงจุดยืนฉบับใหม่เกี่ยวกับกรอบโครงการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility) ที่เหมาะสมที่สุด จะช่วยส่งเสริมวิธีแก้ไขปัญหาที่นำโดยอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับและขยายระบบรีไซเคิลทั่วโลก

และเพื่อเป็นการแสดงถึงความเป็นผู้นำระดับโลกในด้านความพยายามแก้ไขปัญหามลพิษจากพลาสติกของอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคและช่วยพัฒนาโลกที่ขยะพลาสติกจะไม่เล็ดรอดเข้าสู่ธรรมชาติ แนวร่วมปฏิบัติเรื่องขยะพลาสติกจากประชาคมสินค้าอุปโภคบริโภค (CGF) จึงประกาศความก้าวหน้าที่สำคัญก้าวแรกจากสมาชิกของแนวร่วมปฏิบัติ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะพลิกโฉมความสัมพันธ์ของอุตสาหกรรมกับบรรจุภัณฑ์พลาสติกเมื่อวันนี้

การดำเนินการที่มุ่งเน้นด้านการเปลี่ยนแปลงการออกแบบบรรจุภัณฑ์หลักและการพัฒนากรอบโครงการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (EPR) ที่เหมาะสมที่สุดเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงบทบาทระดับแนวหน้าของแนวร่วมปฏิบัติในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งต้องการที่จะลดปริมาณขยะพลาสติกโดยการผลักดันให้เกิดการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมและปรับขนาดได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพและความสามารถในการรีไซเคิลได้ของบรรจุภัณฑ์พลาสติก และสนับสนุนแผนการจัดการขยะทั่วโลก

การก่อตั้งแนวร่วมปฏิบัติใหม่เมื่อต้นปีนี้ได้ต่อยอดจากการสนับสนุนเจตนารมณ์ระดับโลกว่าด้วยระบบเศรษฐกิจพลาสติกแบบใหม่ (New Plastics Economy Global Commitment) ในปี 2018 ของมูลนิธิเอลเลน แม็กอาร์เธอร์ (Ellen MacArthur Foundation) ของ CGF วิสัยทัศน์ของแนวร่วมปฏิบัติในการผลักดันความคืบหน้าสู่ระบบเศรษฐกิจพลาสติกแบบใหม่มีข้อสำคัญหลัก ๆ สี่ประการด้วยกันได้แก่:

- การใช้แนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อลดจำนวนพลาสติกที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์ และเพิ่มมูลค่า คุณภาพ และความสามารถในการรีไซเคิล
- ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับกรอบโครงการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (EPR) เพื่อสนับสนุนการปรับปรุงและการพัฒนาระบบการจัดการขยะทั่วโลก
- สนับสนุนนวัตกรรมการรีไซเคิล และ
- นำร่องโครงการใหม่ในตลาดขั้นสูงและตลาดที่กำลังเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มอัตราการรีไซเคิล

และเพื่อเป็นการผลักดันสิ่งที่มีความสำคัญอันดับแรก สมาชิกของแนวร่วมปฏิบัติก็ได้กำหนด "กฎทองคำสำหรับการออกแบบ" สองข้อแรกขึ้นสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติก ซึ่งออกแบบมาเพื่อเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายของการใช้พลาสติกที่ดีขึ้นและน้อยลง กฎเหล่านี้มีเป้าหมายที่จะช่วยลดความซับซ้อนของกระบวนการรีไซเคิลสำหรับวัสดุประเภทต่าง ๆ และเป็นการเพิ่มอัตราการรีไซเคิลด้วย กฎสองข้อแรกนี้มุ่งเน้นที่การเพิ่มมูลค่าของการรีไซเคิลขวด PET และการขจัดองค์ประกอบที่เป็นปัญหาออกจากบรรจุภัณฑ์ เช่น คาร์บอนแบล็ก PVC (พอลิไวนิลคลอไรด์) และ EPS (โฟม) ซึ่งทำให้กระบวนการรีไซเคิลซับซ้อน ผู้บริโภคจะสามารถเห็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้เนื่องจากสินค้าในชีวิตประจำวัน เช่น ขวดใช้ครั้งเดียว เครื่องใช้ในห้องน้ำ อุปกรณ์ทำความสะอาดบ้าน แรปห่ออาหาร และภาชนะสำหรับใส่อาหารกลับบ้านจะใช้บรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้ง่ายขึ้น

สมาชิกของแนวร่วมปฏิบัติจากทั่วโลก ซึ่งมีรายได้รวมกันมากกว่า 1 ล้านล้านยูโร และใช้พลาสติกคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 ของตลาดบรรจุภัณฑ์พลาสติกระดับโลก ได้ให้คำมั่นว่าจะนำกฎเหล่านี้มาใช้ทุกครั้งที่ทำได้ภายในปี ค.ศ. 2025 เจตนารมณ์เหล่านี้กำหนดขึ้นหลังจากการระบุและจัดลำดับความสำคัญของโอกาสในกลุ่มบรรจุภัณฑ์ที่สมาชิกสามารถสร้างผลกระทบที่ตรงจุดและมีคุณค่าได้ สมาชิกยังให้คำมั่นที่จะรายงานผลการใช้กฎผ่านกระบวนการง่าย ๆ ควบคู่ไปกับการรายงานเจตนารมณ์ระดับโลกว่าด้วยระบบเศรษฐกิจพลาสติกแบบใหม่ของมูลนิธิเอลเลน แม็กอาร์เธอร์ รายละเอียดของกฎสองข้อนี้ และสมาชิกที่ได้นำกฎไปใช้แล้วอยู่ในเว็บไซต์ของแนวร่วมปฏิบัติ

นอกจากนี้ สมาชิกของแนวร่วมปฏิบัติยังได้เผยแพร่เอกสารแสดงจุดยืนใหม่ชื่อว่า "การสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับบรรจุภัณฑ์: มุมมองจากอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคเกี่ยวกับความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิตที่เหมาะสมที่สุด" ซึ่งกำหนดกรอบสำหรับการพัฒนาและการดำเนินโครงการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (EPR) ทั่วโลก ด้วยความตระหนักว่าอุตสาหกรรมมิอาจบรรลุเป้าหมายในการก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนขึ้นมาเองได้ แนวร่วมปฏิบัติจึงสนับสนุนการพัฒนาโครงการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (EPR) เพื่อเป็นวิธีที่จะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการประสานงานระหว่างอุตสาหกรรมและรัฐบาลเกี่ยวกับการจัดการขยะที่ดีขึ้น สมาชิกของแนวร่วมปฏิบัติจะสามารถใช้กรอบนี้เป็นแนวทางการมีส่วนร่วมในตลาดต่าง ๆ ทั่วโลก และช่วยให้มีการสนับสนุนแผนการรีไซเคิลในท้องถิ่นที่มีประสิทธิผล สามารถดาวน์โหลดเอกสารฉบับนี้ได้จากเว็บไซต์ของแนวร่วมปฏิบัติ

การดำเนินการเหล่านี้ ซึ่งเกี่ยวกับทั้งการออกแบบและความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (EPR) อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้นำของแนวร่วมปฏิบัติ แนวร่วมปฏิบัติได้รับการสนับสนุนในระดับคณะกรรมของ CGF โดย Alan Jope ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Unilever และ Galen Weston ประธานกรรมการบริหารของ Loblaw Companies Limited คณะกรรมการอำนวยการมีประธานสองคน ซึ่งก็คือ Barry Parkin ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อและความยั่งยืนของ Mars, Incorporated และ Robert Nicol รองประธานฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ของ Walmart Canada

Alan Jope ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Unilever กล่าวว่า "เราต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนทำเพื่อหยุดยั้งขยะพลาสติกและเดินหน้าเข้าสู่แบบจำลองเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งก็คือสิ่งสำคัญอันดับหนึ่งของเรา ในฐานะสมาชิกของแนวร่วมปฏิบัติ ไม่มีใครในธุรกิจจะบรรลุเป้าหมายนี้ได้ด้วยตัวเอง นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราต้องร่วมมือกันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วอุตสาหกรรมของเรา และหวังว่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับภาคส่วนอื่น ๆ"

Galen Weston ประธานกรรมการบริหารแห่ง Loblaw Companies Limited กล่าวว่า "อุตสาหกรรมของเราสร้างขยะพลาสติกเป็นจำนวนมาก ในฐานะบริษัทที่ออกแบบ บรรจุ และขายสินค้า เราต้องเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหา ในฐานะแนวร่วมปฏิบัติ เราสนับสนุนการตัดสินใจที่สร้างผลกระทบ และนโยบายลดขยะพลาสติกที่คิดทบทวนมาเป็นอย่างดีอย่างแข็งขัน"

Ramon Laguarta ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ PepsiCo กล่าวว่า "อุตสาหกรรมของเราได้ดำเนินการที่สำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหามลพิษจากพลาสติกและขยะบรรจุภัณฑ์ รวมถึงนวัตกรรมของวัสดุและการออกแบบ รูปแบบและระบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ และสร้างโปรแกรมการรีไซเคิลที่ดีขึ้น เรารู้ว่าภาครัฐมีบทบาทสำคัญ จิตวิญญาณของความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนเป็นหัวใจสำคัญของแนวทางใหม่ของเราเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด"

Doug McMillon ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Walmart กล่าวว่า "การใช้พลาสติกอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องในอุตสาหกรรมของเราทำให้เราเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องรีบลงมือหักล้างผลกระทบเชิงลบต่อโลกและประชากรของเรา อุตสาหกรรมลงมือทำไปบ้างแล้ว แต่ถึงตอนนี้ ผลงานของเราก็ยังไม่เพียงพอ แนวร่วมปฏิบัติด้านขยะพลาสติกของ CGF กำลังลงมือดำเนินการอย่างกล้าหาญในทิศทางที่ถูกต้องเพื่อกำหนดกฎระเบียบด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่จำเป็นอย่างมากในการส่งเสริมการร่วมกันลงมือทำ งานนี้สำคัญอย่างยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมายของเราในการเป็นบริษัทที่ชุบชีวิตใหม่ ซึ่งหมายถึงบริษัทที่ฟื้นฟู เริ่มใหม่ และเติมเต็ม และเรากระตือรือร้นที่จะมีพัฒนาการไปด้วยกัน"

บริษัทสมาชิก 36 รายของแนวร่วมปฏิบัติด้านขยะพลาสติกได้แก่: Amcor, Barilla, Bel Group, Beijing Hualian Group, Carrefour, บริษัท Coca-Cola, Colgate-Palmolive, Danone, Dairy Farm, Essity, Grupo Bimbo, GSK, Henkel, ICA, Jer?nimo Martins, Johnson & Johnson Consumer Health, Kao Corporation, Land O'Lakes, L'Oreal, Loblaw Companies Limited, Mars, Incorporated, Merck Animal Health, Mondel?z International, Nestle, NTUC Fairprice, PepsiCo, Procter & Gamble, Reckitt Benckiser, Rewe Group, Sainsbury's, SC Johnson, SIG Combibloc Group, Tetra Pak, Unilever PLC, Walgreens Boots Alliance และ Walmart

ข้อมูลเกี่ยวกับแนวร่วมปฏิบัติด้านขยะพลาสติกของประชาคมสินค้าอุปโภคบริโภค

แนวร่วมปฏิบัติด้านขยะพลาสติกของประชาคมสินค้าอุปโภคบริโภค ("CGF") ก่อตั้งในปี ค.ศ. 2020 โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาแนวทางพัฒนาและแปรรูปบรรจุภัณฑ์พลาสติกเชิงหมุนเวียนมากขึ้นในอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค การก่อตั้งแนวร่วมปฏิบัติใหม่เมื่อต้นปีนี้ได้ต่อยอดจากการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจพลาสติกแบบใหม่ในปี 2018 ของมูลนิธิเอลเลน แม็กอาร์เธอร์ (Ellen MacArthur Foundation) ของ CGF  ในฐานะกลุ่มผู้ค้าปลีกและผู้ผลิตนวัตกรรม ที่นำโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารที่มุ่งมั่น 36 ราย วิสัยทัศน์ของแนวร่วมปฏิบัติในการเร่งการก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจพลาสติกใหม่นี้ แสดงออกให้เห็นจากเป้าหมายหลักที่สมาชิกจะเดินหน้าใช้มาตรการที่สร้างผลกระทบผ่านความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายรายซึ่งจะช่วยให้ระบบหมุนเวียนเป็นบรรทัดฐานในอุตสาหกรรม โปรดเข้าไปที่ www.tcgfplasticwaste.com เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานของ CGF ในการลดขยะพลาสติก

ข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods Forum)

ประชาคมสินค้าอุปโภคบริโภค ("CGF") คือเครือข่ายอุตสาหกรรมระดับโลกที่มีความเสมอภาค ซึ่งผลักดันโดยสมาชิก เพื่อส่งเสริมการนำหลักปฏิบัติและมาตรฐานระดับโลกมาใช้เพื่อให้บริการแก่อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วโลก ประชาคมนี้ประกอบด้วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและคณะผู้บริหารระดับสูงของผู้ค้าปลีก ผู้ผลิต ผู้จัดหาบริการ และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ 400 รายใน 70 ประเทศและสะท้อนให้เห็นุถึงความหลากหลายของอุตสาหกรรม ทั้งในแง่ภูมิศาสตร์ ขนาด หมวดหมู่ และรูปแบบของผลิตภัณฑ์ บริษัทสมาชิกมียอดขายรวม 3.5 ล้านล้านยูโร และว่าจ้างพนักงานเกือบ 10 ล้านคนโดยตรง โดยคาดการณ์ว่ามีตำแหน่งงานเกี่ยวข้องภายในห่วงโซ่คุณค่า 90 ล้านตำแหน่ง ประชาคมนี้กำกับดูแลโดยคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารของผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก 58 คน หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม www.theconsumergoodsforum.com

โลโก้: https://mma.prnewswire.com/media/1279200/The_Consumer_Goods_Forum_Logo.jpg


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ