วันนี้ นักวิทยาศาสตร์กว่า 3,000 คนจากกว่า 100 ประเทศ รวมถึงเจ้าของรางวัลโนเบล 5 คน ได้มาร่วมลงนามใน "ปฏิญญาวิทยาศาสตร์โกรนิงเกน" (Groningen Science Declaration) เพื่อเรียกร้องให้เหล่าบรรดาผู้นำ ผู้มีอำนาจตัดสินใจ และนักลงทุนทั่วโลก มาช่วยกันเปลี่ยนวิธีทำความเข้าใจ วางแผน และลงทุนในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถจำกัดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยพิธีลงนามได้ถูกจัดขึ้นก่อนจะมีการจัดประชุม Climate Adaptation Summit (CAS 2021) ในวันที่ 25-26 มกราคมนี้
แถลงการณ์ของผู้มาร่วมลงนามซึ่งเริ่มจาก Patrick Verkooijen ซีอีโอของ Global Center on Adaptation (GCA) ได้มีการเปิดเผยตัวเลขจากรายงาน "GCA State and Trends in Adaptation 2020" ฉบับแรกที่แสดงให้เห็นว่า การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศดูเหมือนจะลดลงเป็นตัวเลขหลักเดียวในปี 2563 ขณะที่เงินทุนสำหรับการปรับตัวต่อสภาพอากาศก็จำเป็นที่จะต้องเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าเพื่อให้แตะระดับ 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะสอดคล้องความต้องการที่คาดไว้ในการตอบสนองต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศที่กำลังทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ในปฏิญญาวิทยาศาสตร์โกรนิงเกน เหล่านักวิทยาศาสตร์ระบุว่า "ความล้มเหลวในการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 นั้นมีความคล้ายคลึงกับการหยุดชะงักที่จะเกิดขึ้นหากเราไม่มีการดำเนินการในทันทีเพื่อปรับเปลี่ยนและทำให้โลกของเราใบนี้มีความพร้อมในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ [?.] ยกเว้นว่า เราจะยกระดับและปรับตัวกันตั้งแต่ตอนนี้ เพราะผลที่เกิดขึ้นจะทำให้อัตราความยากจนเพิ่มสูงขึ้น เกิดการขาดแคลนน้ำ ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย และผู้คนจะมีการอพยพย้ายถิ่นฐานกันมากขึ้นพร้อมกับค่าใช้จ่ายมหาศาลที่จำเป็นต้องเสียเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้
Ban Ki-moon เลขาธิการคนที่ 8 ขององค์การสหประชาชาติและประธานของ Global Center on Adaptation กล่าวในงานเปิดตัวปฏิญญานี้ว่า: "แม้จะสามารถบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามที่ระบุไว้ในความตกลงปารีสได้แล้ว แต่นั่นก็ยังคงไม่เพียงพอ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศนั้นเป็นสิ่งที่เกิดมาแล้ว เราจึงจำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากมัน และปฏิญญาวิทยาศาสตร์โกรนิงเกนก็ได้เข้ามาทำให้เห็นชัดเจนขึ้นว่าเรา ในฐานะมนุษย์ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ดังนั้นเราจึงต้องเร่งมือปรับตัวเพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนจะสามารถอยู่รอดบนโลกที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นใบนี้ได้โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง"
Patrick Verkooijen ซีอีโอของ Global Center on Adaptation กล่าวว่า:
"ผลจากการแพร่ระบาดทำให้เราต้องเผชิญกับวิกฤตในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสภาพอากาศ เราต้องเข้าไปแทรกแซงเรื่องเหล่านี้เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวอย่างยืดหยุ่น และที่สำคัญคือต้องดำเนินการตั้งแต่ตอนนี้ ก่อนที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะรุนแรงขึ้นเกินกว่าที่ธรรมชาติและมนุษย์จะปรับตัวได้ ด้วยเหตุนี้ ชุมชนนักวิทยาศาสตร์จึงได้ตัดสินใจมาร่วมลงนามในปฏิญญาฉบับนี้ เพราะรู้ว่าเราจะไม่สามารถเดิมพันกับเรื่องที่สูงกว่านี้ได้อีกแล้ว"
Dr. Tawakkol Karman เจ้าของรางวัลโนเบลปี 2554 กล่าวว่า:
"ภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศของเราเป็นภัยคุกคามที่รุนแรงที่สุดต่อสันติภาพและความมั่นคง เนื่องจากเหตุการณ์สภาพอากาศยังคงทวีความรุนแรงอย่างรวดเร็วและระดับน้ำทะเลก็กำลังสูงขึ้นเรื่อย ๆ ผู้คนจึงต้องแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงทรัพยากรที่หายาก และจัดการกับความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่กำลังเร่งความเร็วขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเราไม่มีการดำเนินการและปรับตัวกันให้เร็วที่สุด เราจะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน ความขัดแย้ง และการอพยพย้ายถิ่นเพิ่มมากขึ้น
Professor Sir Christopher Pissarides ผู้ได้รับรางวัลเพื่อระลึกถึงอัลเฟรด โนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า:
"วิกฤตการณ์โควิด-19 ซึ่งได้เข้ามาทำลายล้างเศรษฐกิจของเรา กำลังจะกลายมาเป็นประวัติศาสตร์ในไม่ช้า แต่ภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศซึ่งกำลังเกิดขึ้นในอัตราความถี่ที่มากขึ้นนั้นมีแต่จะเลวร้ายลงไปเรื่อย ๆ เศรษฐกิจของเรากำลังเผชิญกับความเสี่ยงเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นมาจากโควิด-19 เราจึงจำเป็นต้องหาทางจัดการกับภัยพิบัติดังกล่าวและดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้ลงให้ได้ การลงทุนในด้านความยั่งยืนเป็นเรื่องที่ต้องถูกวางลำดับความสำคัญไว้เป็นอันดับแรก นี่เป็นเรื่องที่ควรทำและต้องทำอยู่เสมอ และจะมอบผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะยาว เราต้องให้ความสำคัญกับการสร้างงานสีเขียวอย่างครอบคลุมเพื่อให้ความช่วยเหลือครอบครัวที่ขาดแคลน และเตรียมตัวเองให้พร้อมสำหรับอนาคต ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ควรคำนึงถึงการลงทุนเพื่อปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและรองรับแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้น ในขณะที่พวกเขาตัดสินใจเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างงานสีเขียวและการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว
Professor Brian Schmidt เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2554 กล่าวว่า:
"โควิด-19 ได้แสดงให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมของเรามีความเปราะบางเพียงใด - โลกและวิถีชีวิตของเราสามารถเปลี่ยนแปลงไปอย่างง่ายดายและรวดเร็วมาก อย่างไรก็ตาม การระบาดของโรคก็ได้แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลทั่วโลกยังคงรับฟังคำแนะนำจากนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญเพื่อปกป้องชุมชนและประชาชนของพวกเขา และพวกเขาก็กำลังทำแบบเดียวกันนี้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องผลักดันและทุ่มทุนให้กับแนวทางรับมือกับปัญหาสภาพอากาศที่เรามีอยู่ เพื่อสร้างงาน กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตลอดจนพัฒนาอุตสากรรมและผลิตภัณฑ์ของวันพรุ่งนี้ ควบคู่ไปกับการสร้างความยืดหยุ่นและความชาญฉลาดเพื่อมารับมือกับสภาพอากาศในอนาคต"
Professor Donna Strickland เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2018 กล่าวว่า:
"ดิฉันเชื่อว่าการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเชิงลึกและกว้างขวางครอบคลุมที่สุดผ่านความร่วมมือแบบสหวิทยาการและการมีส่วนร่วมกับผู้กำหนดนโยบาย เราได้สื่อสารกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับมาตรวัดที่เป็นรูปธรรมซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และประสิทธิภาพของความพยายามในการแก้ไขปัญหา หากนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรสามารถร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ที่ทันสมัยภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลได้ ผลลัพธ์ที่ออกมาอาจจะกลายมาเป็นหมุดหมายที่สำคัญในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศต่อไป"
นอกจากนี้ Prof Hoesung Lee ประธานคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ยังมาร่วมแสดงความคิดเห็นในงานเปิดตัวแบบเสมือนจริงนี้ด้วย โดยเขากล่าวว่า:
"สภาพอากาศได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นแล้ว และเราก็จะต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อนที่กำลังจะเกิดขึ้นตามมาอันเนื่องมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอดีต ในขณะเดียวกันเราเองก็ต้องเข้าใจด้วยว่าภารกิจยังมีข้อจำกัดอยู่มาก และยิ่งเราสามารถจำกัดการเกิดโลกร้อนในอนาคตได้มากเท่าใดก็จะยิ่งทำให้ภารกิจในการปรับตัวของเราประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น
Professor Jouke de Vries ประธานมหาวิทยาลัยโกรนิงเกน กล่าวว่า:
"มหาวิทยาลัยของเราและเมืองโกรนิงเกนภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าภาพจัดการลงนามและงานเปิดตัวปฏิญญาวิทยาศาสตร์นี้ ร่วมกับผู้ได้รับรางวัลโนเบลและแขกผู้มีเกียรติท่านอื่น ๆ อาจารย์ นักวิจัย นักการศึกษา และนักศึกษาของเราทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยร่วมกับพันธมิตรทั้งในประเทศและนานาชาติเกี่ยวการเปลี่ยนผ่านสู่สภาพแวดล้อมสีเขียวในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับโลก เป็นที่ชัดเจนว่าการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนั่นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการปรับตัว ซึ่งในงานวิจัยและหลักสูตรปริญญาโทของเราก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งนี้โดยมุ่งเน้นไปที่ประเด็นเรื่องสุขภาพของมนุษย์ พฤติกรรมศาสตร์ กฎหมายสภาพภูมิอากาศ และพลังงานสะอาด"
นอกจากนี้ Prof. Joseph Stiglitz ผู้ได้รับรางวัลเพื่อระลึกถึงอัลเฟรด โนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ปนระจำปี 2544 ก็ได้ร่วมลงนามในปฏิญญาวิทยาศาสตร์โกรนิงเกนระหว่างงานเปิดตัวที่จัดในรูปแบบเสมือนจริงในครั้งนี้ด้วย
ติดต่อ
Alexandra Gee
Global Center on Adaptation
Alex.gee@gca.org
+447887 804594
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1044191/GCA_Logo.jpg