เราจะเข้าใจช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์นี้ได้ ในวิดีโอที่จัดทำโดย Myanmar Chan You Film และบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญ U Naing Wynn
เมียนมาร์และจีนเชื่อมต่อกันด้วยภูเขาและแม่น้ำ ทั้ง 2 ประเทศเป็นเพื่อนบ้านที่แบ่งปันความสัมพันธ์ "ฉันพี่น้อง" (Pauk-phaw) มาช้านาน ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ดินแดนได้ผ่านบททดสอบของฝนฟ้าและพายุ และมีความแน่นแฟ้นมากขึ้น นับตั้งแต่การสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อ 71 ปีที่แล้ว
ความสัมพันธ์ระหว่างเมียนมาร์และจีนเริ่มต้นขึ้นในสมัยโบราณ คณะนักเต้นรำและนักดนตรีของราชวงศ์ปยูของเมียนมาร์ได้เดินทางเยือนลั่วหยาง เมืองหลวงของจีน ในยุครุ่งเรืองของราชวงศ์ถังช่วงต้นศตวรรษที่ 9
หลักฐานด้านการเมือง, เศรษฐกิจ, ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม, วัฒนธรรม, การศึกษา และการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้คน ล้วนบ่งบอกถึงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและการพัฒนาความสัมพันธ์ที่สำคัญมาโดยตลอด
ในด้านเศรษฐกิจ จีนได้ส่งออกเครื่องสังคโลก สิ่งทอ และชาไปยังเมียนมาร์ ส่วนสถานภาพทางพุทธศาสนาและผลิตภัณฑ์พิเศษอื่นๆ ของเมียนมาร์ก็สามารถพบเห็นได้ในวัดจีนเช่นเดียวกัน
ทั้งเมียนมาร์และจีนเป็นประเทศที่มีหลายเชื้อชาติ วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ของ 2 ประเทศมีความคล้ายคลึงกันในด้านอาหารและความเป็นอยู่ และผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนของทั้ง 2 ฝ่ายต่างมีมิตรภาพยาวนานมาเป็นเวลาหลายพันปี
ทั้ง 2 ประเทศมีการแลกเลี่ยนทางศาสนาค่อนข้างต่อเนื่อง พระเขี้ยวแก้วของจีน (Buddha tooth relic of China) ได้ถูกอัญเชิญไปเมียนมาร์ 4 ครั้ง มิตรภาพของ 2 ดินแดนนั้นนับว่ามีความลึกซึ้ง โดยมีการสร้างเจดีย์ลักษณะคล้ายกับเจดีย์ชเวดากองขึ้นเมื่อปี 2557 ในวัดม้าขาว (White Horse Temple) นอกจากนั้น เหล่านักวิชาการและพระภิกษุจาก 2 ประเทศยังได้ผลัดกันไปเยี่ยมเยียนอีกฝ่ายมาโดยตลอด
เมื่อ 7 ทศวรรษที่แล้ว ในปี 2493 ความสัมพันธ์ระหว่างเมียนมาร์และจีนบรรลุอีกระดับหนึ่ง โดยเป็นช่วงที่ทั้ง 2 ประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูต เมียนมาร์เป็นประเทศที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ประเทศแรกที่ยอมรับการก่อตั้งของจีน ขณะเดียวกัน ผู้นำของทั้ง 2 ประเทศมีประเพณีการเยี่ยมเยียนซึ่งกันและกันในระดับสูง
การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้คนและทางวัฒนธรรมก็มีความต่อเนื่องเช่นเดียวกัน มีชาวพม่าจำนวนหนึ่งเรียนภาษาจีนมาราวหนึ่งพันปี ในขณะที่จำนวนนักศึกษาต่างชาติในเมียนมาร์ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เมียนมาร์และจีนยังมีประวัติด้านกีฬาและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมมากมาย โดยทีมตะกร้อ Myanmar Speak ได้เดินทางไปยังปักกิ่งเพื่อแสดงกีฬาประจำชาติของเมียนมาร์อย่างเซปักตะกร้อในปี 2518 ทำให้คนจีนเริ่มรู้จักและเล่นเซปักตะกร้อนับแต่นั้นเป็นต้นมา
จีนให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสัมพันธ์จีน-เมียนมาร์ และยินดีจะสานต่อมิตรภาพ "ฉันพี่น้อง" ต่อไป
ดูวิดีโอสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม (https://en.prnasia.com/story/archive/3462824_AE62824_0?utm_source=cleartime-customer&utm_medium=email)
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1586900/iChongqing.jpg
คำบรรยายภาพ - เจดีย์ที่เมียนมาร์สร้างให้กับจีน