โครงการ Digital Future Society และสภาเมืองบาร์เซโลนา ร่วมกันจัดงาน "Humanism in the digital age: the urban contribution" ครั้งที่ 15 ในเดือนพฤศจิกายนนี้ที่บาร์เซโลนา โดยมีผู้เชี่ยวชาญและผู้นำทางความคิดมาร่วมกันประเมินถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลในปัจจุบันในบริบทสังคมเมือง รวมถึงอภิปรายแนวทางสร้างการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลที่ยั่งยืน มีความเท่าเทียม และเปิดรับความหลากหลาย เพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในยุคดิจิทัล โดยคำนึงถึงมนุษย์ในฐานะศูนย์กลางของการปรับใช้เทคโนโลยี
ภายในงานยังประกอบด้วยกิจกรรมย่อยอีกมากมายซึ่งจะนำเสนอและวิเคราะห์ความท้าทายที่สำคัญอันเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลในเมืองต่าง ๆ โดยเน้นย้ำเป็นพิเศษในสองประเด็นหลัก ได้แก่ จริยธรรมและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) และสิทธิทางดิจิทัล ยิ่งไปกว่านั้น โครงการนี้ยังมีผู้บรรยายที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลมาร่วมด้วย
นอกจากนี้ ยังมีการอภิปรายถึงบทบาทการบริหารงานของภาครัฐท่ามกลางความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลที่เป็นไฮไลท์สำคัญของงานด้วย โดยมีไมเคิล โดนัลด์ซัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของสภาเมืองบาร์เซโลนา, จอห์น พอล ฟาร์เมอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของนิวยอร์ก และมอร์เทน เมเยอร์ฮอฟฟ์ ที่ปรึกษาของ UNU-EGOV มาร่วมพูดถึงการแก้ไขปัญหาการถูกกีดกันการเข้าถึงดิจิทัล ตลอดจนสำรวจโครงการ แผนการริเริ่ม และแนวทางต่าง ๆ ของชุมชน
การจัดงานในครั้งนี้ยังมีขึ้นเพื่อแสวงหาแนวทางต่าง ๆ ในการรับมือกับความท้าทายพื้นฐานของ AI เป็นต้นว่า ถึงแม้จะมีการใช้งานเทคโนโลยี AI เพิ่มขึ้นทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน แต่ก็ยังไม่ควรนำมาใช้โดยไม่คำนึงผลที่ตามมาจากการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมด้วยเหตุผลเพศหรือเชื้อชาติซึ่งเทคโนโลยีนี้อาจมีส่วนสนับสนุนให้คงอยู่ต่อไป ดังนั้นแวร์เนอร์ สเต็งก์ คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) และเรนาตา อาวิล่า ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิ Open Knowledge Foundation จึงจะตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อพิจารณาถึงการใช้ AI อย่างมีจริยธรรม รวมถึงแสวงหาแนวทางเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ในการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับประเด็นนี้ โซเนีย ฮอร์เฮ กรรมการบริหารของมูลนิธิ World Wide Web Foundation จะกล่าวในปาฐกถาด้วย
ในแง่ของสิทธิทางดิจิทัลนั้น กลุ่มเสวนาที่ดำเนินรายการโดยไลอา โบเนต รองนายกเทศมนตรีเมืองบาร์เซโลนา ร่วมด้วยตัวแทนจากคณะทำงานของเมืองอื่น ๆ ได้แก่ เดลฟีน ชาเมท์ จากบอร์โดซ์, รูส์ เฟอร์ไมย์ จากรอตเตอร์ดัม และอาร์โนด์ งัทชา จากปารีส จะร่วมกันแบ่งปันข้อมูลที่เชื่อมโยงกันระหว่างบทบาทของเมืองในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอย่างมีความรับผิดชอบ ปลอดภัย และยอมรับความแตกต่าง และสำหรับประเด็นสำคัญสุดท้ายที่จะมีการอภิปรายในกิจกรรมนี้ก็คือ เทคโนโลยีการจดจำใบหน้ากับความรับผิดชอบต่อการใช้งาน ซึ่งจะดำเนินการอภิปรายโดยเมลิสซา ฮิกกิล่า จาก Politico Europe พร้อมด้วยซาราห์ แชนเดอร์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายอาวุโสประจำโครงการ European Digital Rights Initiative, อามอส โทห์ นักวิจัยอาวุโสด้าน AI ประจำ Human Rights Watch และแบรนโด เบนิฟาย สมาชิกสภายุโรป (MEP) และผู้เสนอรายงานด้านกฎหมายว่าด้วย AI
ติดต่อ: Emily Henley - ehenley@tinkle.es - + 34 (0) 661 267 495
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1685982/Digital_Future_Society_Event.jpg