แผนงาน ICEF ได้มีการนำเสนอในงานกิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) อย่างเป็นทางการในการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ (UNFCCC) และได้มีการอภิปรายเรื่อง "หนทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593" ร่วมกับองค์กรต่าง ๆ ได้แก่ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการวิเคราะห์ระบบประยุกต์ (IIASA), สถาบันพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ (TERI) และสถาบันสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (RIVM)
https://www.youtube.com/watch?v=Wc5TrR6PI58
ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (COP26) ณ ศาลาญี่ปุ่น ได้มีการจัดงานเปิดตัวแผนงานดังกล่าวขึ้น โดยมีการอภิปรายกับวิทยากรจาก CEM CCUS Initiatives, มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และฮิตาชิ ในหัวข้อ "โครงการริเริ่มทางภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และภาควิชาการ เพื่อให้บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593"
https://www.youtube.com/watch?v=E1mkwmBL09o
-แผนงาน ICEF "การเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนเป็นแร่แข็ง"
ในแต่ละปี ICEF (*) มุ่งเน้นในเรื่องเทคโนโลยีที่คาดว่าจะมีส่วนช่วยสำคัญต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในระยะยาวและสร้างแผนงาน
(*) ICEF เป็นเวทีระหว่างประเทศที่นำโดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่น และองค์การพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานใหม่และอุตสาหกรรม (NEDO) ตั้งแต่ปี 2557 โดยมีภารกิจคือแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยมาตรการนวัตกรรม ซึ่งเซสชัน ICEF ในปีนี้จัดขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของ "สัปดาห์ 'Beyond-Zero' ของโตเกียว"
https://www.meti.go.jp/english/policy/energy_environment/global_warming/roadmap/tokyo_beyond-zero_week/index.html
แผนงานล่าสุดประกอบด้วยการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนเป็นแร่แข็ง ซึ่งเป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จับตัวกันเป็นหินแร่แข็ง เป็นการขจัด CO2 ออกจากชั้นบรรยากาศอย่างถาวร
ในกระบวนการทางธรรมชาตินี้ หินบางชนิดทำปฏิกิริยากับ CO2 และน้ำ เปลี่ยนให้ CO2 เป็นแร่ที่ไม่เป็นอันตรายโดยไม่ใช้พลังงาน การเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนเป็นแร่แข็งสามารถนำไปใช้ได้ในหลายสิบประเทศทั่วโลก เนื่องจากปูนซีเมนต์และของเสียจากอุตสาหกรรม เช่น ตะกรันเหล็ก ก็สามารถนำไปใช้ได้นอกเหนือจากแร่ธรรมชาติที่พบในประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้ แร่ดินที่โรยบนดินคาดว่าจะช่วยเร่งกระบวนการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนเป็นแร่แข็ง พร้อมให้ประโยชน์รองในฐานะปุ๋ยและสารปรับปรุงดินสำหรับพื้นที่เพาะปลูก ด้วยการปล่อย CO2 ทั่วโลกในปัจจุบันประมาณ 3.35 หมื่นล้านตัน (*) คาดว่าการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนเป็นแร่แข็งสามารถลด CO2 ได้หลายพันล้านตันภายในปี 2593
(*) คู่มือ EDMC ของสถิติพลังงานและเศรษฐกิจของญี่ปุ่นและของโลกปี 2564: การปล่อยมลพิษในปี 2561
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://kyodonewsprwire.jp/attach/202111123283-O1-50jW2OFl.pdf
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ: https://www.icef.go.jp/
ช่อง YouTube อย่างเป็นทางการ: https://www.youtube.com/channel/UC7ouNL9NbvDomDTfiubi8iw
ที่มา: ICEF Secretariat