ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่งนำพามวลมนุษยชาติไปสู่ผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นในราคาย่อมเยา
การใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพลดลงอย่างมากในช่วงการระบาดของโควิด-19 สืบเนื่องมาจากการบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ มาตรการจำกัด และการเลื่อนการรักษาโรคทั่วไป อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่ากระแสดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงในระยะสั้น ๆ เท่านั้น เพราะวัคซีนป้องกันโควิด-19 และการตรวจหาเชื้อเริ่มแพร่หลายในวงกว้าง รวมถึงการเข้ารับการดูแลด้านสุขภาพเริ่มกลับมากระเตื้องขึ้นอีกครั้ง
นีลส์ บาเรนเดรคท์ ซีอีโอบริษัท Agility Risk Solutions ซึ่งเป็นผู้คว้ารางวัลชนะเลิศ Singapore Technology Excellence Awards สาขา AI - การดูแลสุขภาพประจำปี 2564 เปิดเผยว่า "โดยปกติในเกือบจะทุกปีและแทบไม่มีข้อยกเว้น การใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพจะเติบโตเร็วกว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั่วโลก ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา การเติบโตโดยเฉลี่ยของการใช้จ่ายด้านสุขภาพอยู่เหนือระดับ 2% อย่างต่อเนื่อง[1] โดยปัจจัยขับเคลื่อนต้นทุนสำคัญยังคงเป็นเช่นเดิม นั่นคือการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมถึงความต้องการด้านการดูแล การรักษาและเทคโนโลยีล้ำสมัยเพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนการขยายตัวของระบบสาธารณสุข"
ลดความเสี่ยงด้านการรักษาเพื่อขยายทรัพยากรด้านสุขภาพ
เพื่อเป็นการรับประกันความยั่งยืนและราคาย่อมเยาในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ หลายฝ่ายจึงหันมาใช้โซลูชัน AI โดยหนึ่งในวิธีการใช้งาน AI ก็คือการตรวจหาโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่ง AI สามารถทำนายความเสี่ยงด้านสุขภาพของแต่ละบุคคล และความเป็นไปได้ที่จะเกิดปัญหาด้านสุขภาพรุนแรง เช่น หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการมีข้อมูลเปี่ยมคุณประโยชน์นี้เป็นขุมพลัง ก็สามารถใช้กลยุทธ์บริหารความเสี่ยงเพื่อดูแลสุขภาพของผู้ป่วยได้ และช่วยให้พวกเขาสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาด้านสุขภาพรุนแรงในอนาคตอันใกล้
ตัวอย่างหนึ่งคือการวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะของผู้ป่วยด้วยเทคโนโลยีของ Agility Risk Solutions ที่สามารถส่งสัญญาณเตือนได้แบบทันทีทันใด นายแพทย์ฌัก สไนแมน ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ของบริษัท Agility Risk Solutions ระบุว่า "จากจุดนี้ เราสามารถใช้กลยุทธ์แบบกำหนดเป้าหมายในระดับสูง โดยมุ่งเน้นไปที่การบริหารความเสี่ยงแบบเฉพาะเจาะจง ยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมที่ให้ความสำคัญกับผู้ป่วยเป็นหลักของเราช่วยให้ผู้ป่วยจัดการสุขภาพของพวกเขาเองได้อย่างมั่นใจ และผลลัพธ์โดยตรงก็คือการลดการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลซ้ำได้อย่างชัดเจน สำหรับบริษัทสุขภาพในสิงคโปร์ งานวิจัยอิสระฉบับหนึ่งแสดงให้เห็นว่า การเข้ามาแทรกแซงในลักษณะนี้สามารถประหยัดต้นทุนการเคลมเงินประกันได้ประมาณ 20%"
การเข้ามาดูแลของ Agility นั้นช่วยลดการเข้ารับการรักษาอาการป่วยในโรงพยาบาลซ้ำได้มากถึง 50% เมื่อเทียบกับบริษัทประกันต่าง ๆ ที่ใช้ระบบและโปรแกรมดั้งเดิม ซึ่งเป็นการอธิบายว่าเทคโนโลยีสามารถมอบผลลัพธ์ด้านการรักษาที่ดีขึ้นได้อย่างไร
นายแพทย์สไนแมนอธิบายว่า "ด้วยการบูรณาการซอฟต์แวร์ ผู้ป่วยของ Agility จะได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่ Personal Healthcare Coordinator (PHC) เพียงหนึ่งเดียวซึ่งจะคอยแนะนำพวกเขาในทุกย่างก้าวของเส้นทางด้านการดูแลสุขภาพ แทนที่จะปล่อยให้เอเย่นต์มากหน้าหลายตาเข้ามาแทรกแซงกระบวนการรักษา จากมุมมองของผู้ป่วยแล้ว นี่ถือได้ว่าเป็นการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเหตุร้ายด้านสุขภาพในอนาคตอันใกล้ ซึ่งเป็นข่าวดีสำหรับคุณภาพชีวิตของตัวผู้ป่วยเองและครอบครัวของพวกเขา ในขณะเดียวกันยังช่วยลดต้นทุนด้านสุขภาพโดยรวมจากการลดความเสี่ยงด้านการรักษาอีกด้วย"
รับประกันการใช้เงินทุนอย่างคุ้มค่า
ระบบดูแลสุขภาพทั่วโลกต่างประสบปัญหาการใช้เงินสิ้นเปลือง การตรวจสอบโดยมนุษย์เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้แรงงานมาก ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งยังนำมาซึ่งความผิดพลาดในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การฉ้อโกง, การเคลมประกันอย่างไม่ถูกต้อง และการมอบสิทธิประโยชน์ได้ไม่สม่ำเสมอ ในกลับกัน ระบบที่ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะแบบเหนือชั้นจะสามารถตรวจพบและแจ้งเตือนเมื่อเกิดกรณีผิดพลาดได้แบบเรียลไทม์ด้วยความแม่นยำ 100%
ยกตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์การจัดการความเสี่ยงแบบครบวงจรรุ่นล่าสุดของ Agility ที่มีความชาญฉลาดในตัว ซึ่งสามารถเปรียบเทียบกฎ อัลกอริทึม และโปรโตคอลกว่า 67,000 รายการ รวมถึงใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วย AI ภายในไม่กี่มิลลิวินาทีในการรับรองการเคลมประกันทุกรายการได้แบบเรียลไทม์
"ระบบเริ่มจากการตรวจสอบรายการการรักษาและสุขภาพของคนไข้เพื่อดูว่ามีข้อห้ามหรือความเสี่ยงด้านสุขภาพใด ๆ หรือไม่ โดยใช้โปรโตคอลทางการแพทย์ที่ปรับตั้งค่าอย่างละเอียด ซึ่งจะช่วยป้องกันการรักษาที่ซ้อนทับกันอันอาจก่อให้เกิดอันตราย และในขณะเดียวกันก็มีการตรวจสอบตามระเบียบทางธุรกิจเพื่อจำกัดค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลือง และให้สามารถมั่นใจได้ว่าจะมีการจ่ายเงินชดเชยให้กับกรณีการเคลมประกันที่ถูกต้องได้ในทันที เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าและคนไข้" บาเรนเดรคท์อธิบาย
ด้วยเหตุนี้ ระบบดังกล่าวจึงสามารถช่วยลดภาระฝ่ายบริหาร ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เนื่องจากเป็นรับประกันว่ามีการใช้เงินทุนไปอย่างคุ้มค่าด้วยการจ่ายเงินชดเชยให้การเคลมประกันที่ถูกต้องตามหลักการทางการแพทย์ โดยการศึกษาของ Agility ระบุว่า ระบบช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการได้มากถึง 50% ทั้งนี้ การลดการแทรกแซงจากมนุษย์ในขั้นการอนุมัติล่วงหน้าและการรับรองการเคลมประกันจะช่วยป้องกันความผิดพลาดจากมนุษย์ได้ เนื่องจากระบบมีความสม่ำเสมอ
ระบบที่เปี่ยมนวัตกรรมนี้ขับเคลื่อนด้วยบิ๊กดาต้า ทั้งยังมีการปรับปรุงด้วยแมชชีนเลิร์นนิงอยู่ตลอดเวลา โดยจะมีการตรวจจับรูปแบบและแนวโน้มใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ระบบสามารถตรวจพบกรณีเคลมประกันที่เป็นเท็จหรือสิ้นเปลืองได้ทันทีในขั้นแสดงรายการ หรือตั้งแต่ก่อนการอนุมัติการจ่ายเงินชดเชย
"มีความเป็นไปได้มากมายในการพัฒนานวัตกรรมสำหรับการดูแลสุขภาพ เนื่องจาก AI และแมชชีนเลิร์นนิ่งยังคงเป็นตัวกำหนดอนาคตของการดูแลสุขภาพ ตลอดจนเป็นเครื่องมือจัดการอุปสรรคที่ระบบสาธารณสุขทั่วโลกต้องเผชิญ รางวัล Singapore Technology Excellence Award ที่เราได้รับเป็นเครื่องยืนยันถึงเรื่องนี้ได้อย่างดี และแปลว่าการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลนั้นคือหัวใจสำคัญของการพัฒนาการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพและมีคนไข้เป็นศูนย์กลาง ในราคาที่ย่อมเยายิ่งขึ้นทั่วโลก" บาเรนเดรคท์กล่าวสรุป
[1] World Health Organization. (2020). Global spending on health: Weathering the storm. Geneva: World Health Organization.