- มีศักยภาพเป็นยารักษาโรคที่ออกฤทธิ์วงกว้าง (Broad-spectrum Therapeutic Agent) สำหรับโรคที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ต่าง ๆ รวมถึงเชื้อกลายพันธุ์ -
สถาบันนวัตกรรมชีวการแพทย์ สุขภาพ และโภชนาการแห่งชาติ (National Institutes of Biomedical Innovation, Health and Nutrition (NIBIOHN) เมืองอิบารากิ จังหวัดโอซากา ผู้อำนวยการ: โยชิฮิโร โยเนดะ) ร่วมกับ บริษัท ชิโอโนกิ แอนด์ โค จำกัด (Shionogi & Co., Ltd. แขวงชูโอ จังหวัดโอซากา ประธานและซีอีโอ: อิซาโอะ เทชิโรกิ) ประสบความสำเร็จในการค้นพบแอนติบอดีต้านไวรัสตัวใหม่ที่ออกฤทธิ์ต้านไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (severe acute respiratory syndrome coronavirus 2: SARS-CoV-2) รวมถึงเชื้อกลายพันธุ์ และสายพันธุ์ของไวรัสโคโรนาที่มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิด
โลโก้: https://kyodonewsprwire.jp/img/202202107244-O2-7jtU6NgB
รูปภาพ: https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M107030/202202107244/_prw_PI1fl_34k50Eru.jpg
แอนติบอดีที่เพิ่งถูกค้นพบใหม่นี้จับกับโปรตีนหนามของไวรัสที่แสดงบนผิวเซลล์ที่ติดเชื้อ แอนติบอดีที่จับกับโปรตีนดังกล่าวสนับสนุนการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อเพื่อโจมตีเซลล์ที่ติดเชื้อโดยวิธี antibody-dependent cell-mediated cytotoxicity (ADCC) ตำแหน่งที่จับกับโปรตีน หรือเอพิโทป (epitope) ของแอนติบอดีที่ค้นพบใหม่นี้อยู่ในส่วนจำเพาะของโครงสร้างหนามที่มีความไวต่อการกลายพันธุ์ต่ำ ซึ่งแตกต่างจากยาแอนติบอดีอื่น ๆ ดังนั้น แอนติบอดีจึงทำปฏิกิริยากับเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงสายพันธุ์โอมิครอน ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากโครงสร้างเอพิโทปที่มีการกลายพันธุ์เล็กน้อย พบได้ทั่วไปในไวรัสโคโรนาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงคาดว่าแอนติบอดีต้านไวรัสที่เพิ่งค้นพบใหม่นี้จะแสดงประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัสโคโรนาในวงกว้าง ซึ่งรวมถึงสายพันธุ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
สำหรับการใช้งานทางคลินิกในปัจจุบัน แอนติบอดีค็อกเทล (antibody cocktails) และแอนติบอดีกลุ่มลบล้างฤทธิ์ (neutralizing antibody) ตัวอื่น ๆ นั้น พุ่งเป้าการรักษาไปที่ผู้ติดเชื้อไม่รุนแรง ในทางตรงกันข้าม แอนติบอดีที่เพิ่งค้นพบใหม่อาจเหมาะสำหรับการรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงว่าจะมีอาการของโรครุนแรงมากกว่า นอกจากนี้ "แอนติบอดีที่มีฤทธิ์ต้านไวรัสได้อย่างกว้างขวาง" น่าจะเหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน ในยามที่อาจมีการระบาดของโรคโคโรนาไวรัสชนิดใหม่เกิดขึ้นในอนาคต ซึ่ง NIBIOHN จะดำเนินการวิจัยเพิ่มเติมต่อไป
สำหรับรายละเอียดการวิจัย โปรดเข้าไปที่: https://kyodonewsprwire.jp/attach/202202107244-O1-E6Gkw0h2.pdf
ที่มา: สถาบันนวัตกรรมชีวการแพทย์ สุขภาพ และโภชนาการแห่งชาติ