มหกรรมโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส ประจำปี 2565 หรือ MWC 2022 ที่เมืองบาร์เซโลนา ปิดฉากลงด้วยความสำเร็จ สมฐานะงานมหกรรมมือถืออันดับหนึ่งของโลก งานในปีนี้ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึง 3 มีนาคม มุ่งนำเสนอประเด็นร้อนแรงในอุตสาหกรรม เช่น 5G, AI, เครือข่ายคลาวด์ และอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ โดยมีบริษัทมากกว่า 2,000 แห่งเข้าร่วมงาน ถือเป็นงานมหกรรมระดับโลกที่กลับมาจัดได้อย่างยิ่งใหญ่ที่สุดเป็นงานแรกนับตั้งแต่เกิดสถานการณ์โรคระบาด
ตลอดระยะเวลาจัดงาน เทคโนโลยีและแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของหัวเว่ย (Huawei) สามารถดึงดูดผู้เข้าชมงานหลายพันคนที่ต้องการเห็นว่า ยักษ์ใหญ่ด้านไอซีทีจะทำอะไรในยุคความเป็นกลางทางคาร์บอน
ดร.ฟาง เหลียงโจว รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของหัวเว่ย ดิจิทัล พาวเวอร์ (Huawei Digital Power) ได้เปิดตัว "ดิจิทัล แอนด์ สมาร์ท ฟอเรสต์" (Digital & Smart Forest) ซึ่งเป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการที่ตั้งชื่อตามวิสัยทัศน์ของหัวเว่ย ดิจิทัล พาวเวอร์ พร้อมกันนี้ ในบริเวณหน้าพื้นที่จัดแสดงของหัวเว่ย ดร.ฟางยังได้แลกเปลี่ยนความคิดและข้อสังเกตเกี่ยวกับความเป็นกลางทางคาร์บอน ผ่านเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และโซลูชันใหม่ ๆ
ในฮอลล์ 1 ของมหกรรมโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส นิทรรศการของหัวเว่ยได้สะกดสายตาผู้เข้าชมงาน ภายใต้สโลแกน จุดประกายอนาคตสีเขียว (Lighting up the Green Future) ซึ่งสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของหัวเว่ยที่มุ่งสร้างคุณค่าให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเดินหน้าคิดค้นนวัตกรรม พร้อมสร้างอนาคตที่ดีกว่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์การพัฒนาสีเขียวของเหล่าผู้ให้บริการเครือข่าย หัวเว่ยได้เสนอแนวคิด บิตมากขึ้น วัตต์น้อยลง (More Bits, Less Watts) และเลือกใช้โซลูชันสีเขียวทั้งระบบ (Green Site-Green Network-Green Operation) ซึ่งช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถเพิ่มความจุของเครือข่ายได้อย่างต่อเนื่องและลดการใช้พลังงานของหน่วยบิต ทั้งนี้ ด้วยการเพิ่ม 5G แต่ไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และด้วยการใช้รูปแบบ หนึ่งไซต์หนึ่งตู้ หนึ่งไซต์หนึ่งเบลดเซิร์ฟเวอร์ หัวเว่ยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานจาก 89% เป็น 97% และลดต้นทุนต่อวัตต์ลง 20% ซึ่งข้อมูลดังกล่าวทำให้เรามองเห็นฉากทัศน์ที่สวยงามของ 5G สีเขียวในอนาคต
ด้วยความแพร่หลายของบริการดิจิทัล การเร่งความเร็วและความหนาแน่นของศูนย์ข้อมูล สถาปัตยกรรมรูปแบบดั้งเดิมจึงมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ การก่อสร้าง การติดตั้งวางระบบ การดำเนินงาน และการบำรุงรักษา รวมไปถึงการบริหารจัดการ ล้วนแล้วแต่กินเวลานานและใช้แรงงานมาก ขณะที่ความน่าเชื่อถือกลับลดลง ทั้งนี้ ด้วยการยึดหลักการแบ่งระบบงานที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนออกเป็นส่วนย่อย ๆ หัวเว่ยจึงมุ่งเน้นไปที่การขับเคลื่อน Modularity Intelligence ตลอดจนการสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ การควบคุมอุณหภูมิ การดำเนินงานและการบำรุงรักษา และโซลูชันด้านพลังงาน อันจะเป็นการส่งเสริมศูนย์ข้อมูลยุคหน้าไปสู่ระดับใหม่ของความเรียบง่าย ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเฉลียวฉลาด และความน่าเชื่อถือ
นอกจากนี้ ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีไอซีทีในเชิงลึก การเร่งพัฒนาเทคโนโลยีไอซีทีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ผลิตอุปกรณ์เช่นหัวเว่ยจะดำเนินงานตามแนวปฏิบัติที่ใช้ บิตมากขึ้น วัตต์น้อยลง ตลอดจนส่งเสริมอุตสาหกรรมผ่านการพัฒนาทฤษฎี วัสดุ และอัลกอริทึม เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนและประหยัดพลังงาน
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1763968/1.jpg
คำบรรยายภาพ - ดร.ฟางสนทนาเรื่องคาร์บอน