ในงานประชุมสุดยอดนักวิเคราะห์ระดับโลกโดยหัวเว่ย (Huawei Global Analyst Summit หรือ HAS) ประจำปี 2565 หัวเว่ย (Huawei) ได้เสนอแนวคิด "สีเขียวและคาร์บอนต่ำ" สำหรับหัวเว่ยคลาวด์แฟบริค 3.0 (Huawei CloudFabric 3.0) โซลูชั่นเครือข่ายศูนย์ข้อมูล (DCN) แบบผนวกรวมขั้นสูง (Hyper-Converged) ของบริษัท โดยมีเป้าหมายเพื่อใช้เครือข่ายที่ไม่มีการสูญเสียของข้อมูล เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของระบบประมวลผลคอมพิวติ้งและลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการประมวลผลคอมพิวติ้ง ในการทำเช่นนี้ หัวเว่ยหวังว่าจะส่งเสริมยุคแห่งคอมพิวติ้งสีเขียวร่วมกับทั้งอุตสาหกรรม
ในขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลก้าวเข้าสู่ยุคแห่งขุมพลังการประมวลผลคอมพิวติ้ง และโครงการขุมพลังคอมพิวติ้งระดับโลกอย่างเช่นโครงการ "การส่งผ่านทรัพยากรคอมพิวติ้งจากตะวันออกสู่ตะวันตก" (East-to-West Computing Resource Transfer) ของจีนกำลังดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบนั้น ระดับการก่อสร้างศูนย์ข้อมูลเป็นไปด้วยการเติบโตอย่างพุ่งพรวด นอกจากนี้ ขณะที่สมรรถนะด้านคอมพิวติ้งและแบนด์วิธเพิ่มสูงขึ้น การบริโภคพลังงานของศูนย์ข้อมูลก็พุ่งทะยานขึ้นเช่นกัน
สถิติล่าสุดของวิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศจีน (CAICT) พบว่า นับจนถึงปลายปี 2564 ศูนย์ข้อมูลฃองจีนมีตู้ (rack) มาตรฐานเป็นจำนวนรวมกว่า 5 ล้านตู้ ขณะที่หนึ่งในองค์กรไม่แสวงกำไรระดับแนวหน้าในจีนที่มุ่งทำงานวิจัยเกี่ยวกับศูนย์ข้อมูลอย่างคณะกรรมาธิการศูนย์ข้อมูลเปิด (ODCC) พบว่า ศูนย์ข้อมูลในจีนใช้พลังงาน 9.39 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงและปล่อยก๊าซคาร์บอน 64.64 ล้านตันในปี 2563 นับเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนแตะเพดานสูงสุดและการเป็นกลางทางคาร์บอนเป็นอย่างมาก
ในงานประชุมสุดยอดนักวิเคราะห์ระดับโลกโดยหัวเว่ยในปีนี้ คุณกัว เหลียง (Guo Liang) รองหัวหน้าวิศวกรสถาบันวิจัยคลาวด์คอมพิวติ้งและบิ๊กดาต้า (Cloud Computing and Big Data Research Institute) ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศจีน ได้กล่าวสุนทรพจน์หลักชื่อว่า "มุมมองเชิงลึกเรื่องสถานภาพปัจจุบันและแนวโน้มการพัฒนาอุตสาหกรรมกำลังการประมวลผลคอมพิวติ้ง" (Insight into Status Quo and Development Trend of the Computing Power Industry) นายกัวเริ่มต้นด้วยการสรุปโอกาสและความท้าทายที่เกิดจากโครงการส่งผ่านทรัพยากรคอมพิวติ้งจากตะวันออกสู่ตะวันตก ก่อนที่จะพิจารณาความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่ศูนย์ข้อมูลนำมาสู่ภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรม โครงสร้างของกำลังประมวลผลคอมพิวติ้ง นวัตกรรมเชิงเทคโนโลยี ความเป็นสีเขียวและคาร์บอนต่ำ และการสนับสนุนกำลังการประมวลผลคอมพิวติ้ง โดยเอกสารปกขาวว่าด้วยกำลังประมวลผลคอมพิวติ้งโดยศูนย์ข้อมูลของคณะกรรมาธิการศูนย์ข้อมูลเปิด (ODCC Data Center Computing Power White Paper) (2563) ซึ่งนำการดำเนินการโดยวิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศจีน ชี้ว่า เมื่อประเมินจากขนาดเซิร์ฟเวอร์ที่เท่ากันแล้ว การปรับปรุงสมรรถนะของเครือข่ายจะเพิ่มกำลังประมวลผลคอมพิวติ้งของศูนย์ข้อมูลต่อหน่วยของพลังงานที่ใช้ได้เป็นอย่างมาก
ด้วยการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอีเทอร์เน็ต (Ethernet) ที่ไม่มีการสูญเสียของข้อมูล โซลูชั่นเครือข่ายศูนย์ข้อมูลแบบผนวกรวมขั้นสูงคลาวด์แฟบริค 3.0 ของหัวเว่ย ได้เพิ่มสมรรถนะของเครือข่ายเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการประมวลผลคอมพิวติ้งให้เป็นไปอย่างสูงสุด พร้อมทั้งลดการบริโภคพลังงานต่อหน่วยของกำลังประมวลผลคอมพิวติ้งให้ต่ำที่สุด จึงเป็นการสนับสนุนเครือข่ายศูนย์ข้อมูลสีเขียวด้วยกำลังประมวลผลคอมพิวติ้งที่ทรงประสิทธิภาพสูงสุด
- อีเทอร์เน็ตที่ไม่มีการสูญเสียของข้อมูล ปลดล็อกขุมพลังการประมวลผลคอมพิวติ้งที่ไม่จำกัด: ด้วยอัลกอริธึมไอลอสเลส 2.0 (iLossless 2.0) โซลูชั่นเครือข่ายศูนย์ข้อมูลแบบผนวกรวมขั้นสูงคลาวด์แฟบริค 3.0 ของหัวเว่ยใช้อีเทอร์เน็ตที่มีการสูญเสียแพ็คเก็ตข้อมูลเป็นศูนย์เป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรม เช่นนี้หัวเว่ยได้สร้างเครือข่ายกำลังประมวลผลคอมพิวติ้งขนาดใหญ่ที่มีความหน่วงต่ำและมีปริมาณงานสูง จึงเป็นการปลดล็อกขุมพลังการประมวลผลคอมพิวติ้งได้ 100% ตัวอย่างเช่น ในสภาวการณ์การใช้งานคอมพิวติ้งสมรรถนะสูง (HPC) อีเทอร์เน็ตที่ไม่มีการสูญเสียของข้อมูลมีประสิทธิภาพการประมวลผลคอมพิวติ้งสูงกว่า 17% เมื่อเทียบกับเครือข่ายอินฟินิแบนด์ (InfiniBand) จึงช่วยย่นระยะเวลาการประมวลผลคอมพิวติ้งโดยรวม
- ประหยัดพลังงานและบริโภคพลังงานต่ำที่สุดต่อหน่วยของกำลังการประมวลผลคอมพิวติ้ง: สวิตช์ของศูนย์ข้อมูลคลาวด์เอนจิ้น (CloudEngine) ใช้เทคโนโลยีการระบายความร้อนและการจ่ายไฟที่ก้าวหน้ากว่า 10 รายการ อย่างเช่นเทคโนโลยีซูเปอร์คูลลิ่ง (SuperCooling) และซูเปอร์พาวเวอร์ (SuperPower) ซึ่งกินพลังงานต่อบิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม 54% และกินพลังงานต่อหน่วยของกำลังประมวลผลคอมพิวติ้งต่ำกว่าอีเทอร์เน็ตแบบดั้งเดิม 47%
- การผลิตสีเขียวและคาร์บอนต่ำ: ด้วยหลักการ "ไม่ใช้ ใช้น้อย และใช้ซ้ำ" สวิตช์ของศูนย์ข้อมูลหัวเว่ยคลาวด์เอนจิ้นมีการผลิตที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ตัวอย่างเช่น เพื่อใช้การออกแบบ "สีเขียวที่สามารถผลิตได้จริง" หัวเว่ยได้ใช้นวัตกรรมในการรวมบรรจุภัณฑ์แบบเดี่ยวของโมดูลนำแสงให้อยู่รวมกันแบบ 6 ใน 1 จึงช่วยลดเวลาการเปิดบรรจุภัณฑ์ได้ 85% และลดวัสดุบรรจุภัณฑ์ได้ 18 ตัน
ในการทดสอบการใช้งานในเชิงอุทกพลศาสตร์ (hydrodynamics) หรือการเคลื่อนไหวของของเหลว เครือข่ายแบบดั้งเดิมใช้เวลา 375 วินาที ขณะที่อีเทอร์เน็ตที่ไม่มีการสูญเสียของข้อมูลใช้เวลาทำสิ่งเดียวกันใน 198 วินาที ทำให้อีเทอร์เน็ตที่ไม่มีการสูญเสียข้อมูลนี้ใช้พลังงานต่อหน่วยกำลังการประมวลผลคอมพิวติ้งน้อยกว่าเครือข่ายแบบดั้งเดิมถึง 47%
"โซลูชันเครือข่ายศูนย์ข้อมูลแบบผนวกรวมขั้นสูงคลาวด์แฟบริค 3.0 ของหัวเว่ย ได้รับการประยุกต์ใช้งานในศูนย์ข้อมูลคอมพิวติ้งปัญญาประดิษฐ์ระดับแนวหน้า อย่างเช่นในเมืองอู่ฮั่นและซีอาน โซลูชันที่ได้รับการพิสูจน์แล้วในการใช้งานภาคสนามนี้มีข้อได้เปรียบด้านสมรรถนะอย่างยิ่งยวดในสภาวการณ์การใช้งานระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลช (all-flash) แบบกระจายตัว คอมพิวติ้งสมรรถนะสูง (HPC) และการประมวลผลคอมพิวติ้งปัญญาประดิษฐ์" คุณหลัว เจียงกัน (Luo Jianggan) ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำแผนกเครือข่ายศูนย์ข้อมูลของหัวเว่ย กล่าว "เครือข่ายแบบไม่มีการสูญเสียของข้อมูลที่ใช้โซลูชันของเรา เพิ่มกำลังประมวลผลคอมพิวติ้งพร้อมทั้งลดการบริโภคพลังงาน สอดคล้องกับแนวโน้มของศูนย์ข้อมูลในยุคแห่งขุมพลังการประมวลผลคอมพิวติ้ง โซลูชันเครือข่ายศูนย์ข้อมูลแบบผนวกรวมขั้นสูงคลาวด์แฟบริค 3.0 ของหัวเว่ย จะมุ่งพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาด้านดิจิทัลให้มากยิ่งขึ้นต่อไป เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสีเขียวในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และสร้างอนาคตสีเขียวร่วมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกราย"