ยูเนสโก (UNESCO) และหัวเว่ย (Huawei) ร่วมกันจัดการประชุมเสวนาแคมปัส ยูเนสโก (Campus UNESCO) ซึ่งมุ่งเน้นเรื่องเทคโนโลยีและการศึกษา ครอบคลุมนักเรียนจาก 39 โรงเรียนใน 21 ประเทศทั่วโลก
แคมปัส ยูเนสโก คือโปรแกรมที่เปิดโอกาสให้เยาวชนอายุตั้งแต่ 14 ถึง 18 ปี ได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองกับผู้เชี่ยวชาญจากยูเนสโกและภาคประชาสังคม ซึ่งการพูดคุยแลกเปลี่ยนในโปรแกรมนี้ใช้ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นภาษากลางในการสื่อสาร โดยในแต่ครั้งจะจำกัดเวลาที่ 90 นาที หัวข้อสนทนาจะเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับจุดมุ่งหมายในแต่ละด้านของยูเนสโก เช่น การศึกษา ปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนาที่ยังยืน ความเท่าเทียมทางเพศ และสิทธิพลเมือง
หัวเว่ยร่วมขับเคลื่อนโปรแกรมดังกล่าวกับยูเนสโกมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 และหัวข้อเสวนาในครั้งนี้ครอบคลุมหลากหลายประเด็น เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับเทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อปัจจุบันและอนาคต และการใช้เทคโนโลยีอย่างอย่างเหมาะสม หัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวาระสำคัญที่โลกกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะเรื่องที่โรคระบาดทำให้สถานศึกษาต้องปิดลงชั่วคราวเมื่อปี 2563 นั้นได้รับความสนใจจากเหล่านักเรียนเป็นพิเศษ ในประเด็นนี้มีการกล่าวถึงการพลิกโฉมสถานศึกษาทั้งที่มีความพร้อมและไม่พร้อมทางเทคโนโลยี และการตั้งคำถามถึงความจำเป็นในการจัดการศึกษาในสถานศึกษาเมื่อทุกสิ่งสามารถค้นพบได้บนอินเทอร์เน็ต
ดร.วาลเตนเซอร์ เมนเดส (Valtencir Mendes) ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของยูเนสโก ได้กล่าวไว้ในการเสวนาครั้งหนึ่งว่า "เราเชื่อว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) และเชื้อไวรัสโควิด-19 คือวัตถุดิบชั้นเยี่ยมในการคิดค้นนวัตกรรม"
นอกจากนี้ในการเสวนายังมีการพูดถึงคุณค่าของทักษะด้านดิจิทัล ข้อควรปฏิบัติในการป้องกันการระรานทางไซเบอร์ (Cyberbullying) ซึ่งเป็นภัยคุกคามจากโลกดิจิทัลต่อวัยรุ่นที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อสื้อสังคมออนไลน์แพร่หลาย และเมื่อเยาวชนอยู่นอกห้องเรียน
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองต่าง ๆ ร่วมกับเหล่าผู้เชี่ยวชาญ ช่วยเพิ่มความตระหนักรู้แก่เยาวชนไม่เพียงแค่ในเรื่องเทคโนโลยีที่จะส่งผลกระทบต่อปัจจุบันและอนาคต แต่ยังรวมถึงบทบาทสำคัญของเยาวชนในการกำหนดทิศทางของอนาคตอีกด้วย
นอกเหนือจากผู้เชี่ยวชาญจากยูเนสโกแล้ว ยังมีวิทยากรท่านอื่น ๆ ทั้งผู้สร้างแรงบันดาลใจจากเครือข่ายขององค์กร เช่น เอ็นจีโอ (NGO), ไอจีโอ (IGO), สตาร์ทอัพต่าง ๆ ครอบคลุมบทบาทที่หลากหลาย ทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และผู้จัดการโครงการพัฒนาท้องถิ่น
หัวเว่ยและยูเนสโกยังร่วมมือกันดำเนินโครงการ "Technology-enabled Open Schools for All" ในประเทศกานา เอธิโอเปีย และอียิปต์เมื่อปี 2564 ซึ่งสอดรับเป็นอย่างดีกับเป้าหมายของแคมปัส ยูเนสโก โดยโครงการระยะเวลา 3 ปีนี้มุ่งสนับสนุนการสร้างระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นมั่นคง ซึ่งทนต่อการหยุดชะงักทั่วโลกจากสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และนอกเหนือจากการสร้างความเชื่อมต่อให้กับแต่ละโรงเรียนแล้ว ทางโครงการยังได้มีการจัดการฝึกอบรมสำหรับครูและนักเรียนในการใช้เครื่องมือดิจิทัล สร้างแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเชื่อมโยงการเรียนรู้ที่โรงเรียนและที่บ้าน ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรดิจิทัลที่เข้าถึงได้จากระยะไกล
โครงการ "Technology-enabled Open Schools for All" สอดรับกับหน่วย Tech4Education ตามแผนริเริ่มของหัวเว่ยในการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม หรือ TECH4ALL ที่มุ่งมั่นขับเคลื่อนความเท่าเทียมและคุณภาพทางการศึกษาด้วยเทคโนโลยี ตามเป้าหมายใหญ่ในโครงการ TECH4ALL นั่นคือการไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลังในโลกดิจิทัล
ดูภาพรวมของโครงการหัวเว่ย TECH4ALL ได้ทางเว็บไซต์
https://www.huawei.com/en/tech4all/stories/bridging-technology-education-campus-unesco
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1816487/image_1.jpg
คำบรรยายภาพ - ภาพถ่ายหน้าจอจากการประชุมเสวนาแคมปัส ยูเนสโก
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1816488/image_2.jpg
คำบรรยายภาพ - ภาพถ่ายหน้าจอจากการประชุมเสวนาแคมปัส ยูเนสโก ภาษาฝรั่งเศส