- รายงานฉบับใหม่ที่จัดทำขึ้นโดย ชไนเดอร์ อิเล็คทริค และ เอ็มไอที เทคโนโลยี รีวิว เผยให้เห็นว่า ผู้ประกอบการชั้นนำในภาคการผลิตได้ปฏิวัติธุรกิจสู่ความยั่งยืนทั้งโดยความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดีกว่าและโดยทางอ้อม
- ปัจจุบัน ผู้ผลิตชั้นนำต้องการมองเห็นคาร์บอนที่มีอยู่ทั่วทั้งซัพพลายเชนทั้งหมด จากที่เคยเน้นเฉพาะด้านประสิทธิภาพของกระบวนการเพียงอย่างเดียว
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ผู้นำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ด้านการจัดการพลังงานและระบบออโตเมชัน และองค์กรที่มีความยั่งยืนสูงสุดในโลกประจำปี 2564 จากจัดอันดับโดยคอร์ปอเรท ไนท์ส (Corporate Knights) ได้ร่วมมือกับเอ็มไอที เทคโนโลยี รีวิว (MIT Technology Review) บริษัทสื่ออิสระที่มีชื่อเสียงระดับโลก เปิดตัวรายงานฉบับใหม่ที่เผยให้เห็นถึงความพยายามผลักดันสู่ความยั่งยืนในภาคการผลิต โดยมีเป้าหมายระยะยาวเพื่อให้มองเห็นคาร์บอนตลอดทั้งซัพพลายเชน
การวิจัยร่วมกันในหัวข้อ 'การบริหารจัดการอุปกรณ์และความยั่งยืน' (Equipment management and sustainability) เผยให้เห็นว่า ผู้ผลิตชั้นนำในประเทศไทยได้หันมาปรับเปลี่ยนไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน มากกว่ามองผลพลอยได้จากการจัดการอุปกรณ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบเพียงอย่างเดียว
ประเด็นน่าสนใจบางส่วนจากรายงานฉบับล่าสุดนี้ ได้แก่:
แนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนกับสินค้าฉพาะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น:
บริษัทชั้นนำต่างเดินหน้าปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ทันสมัยมากขึ้น เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งบริษัทต่างๆ ได้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ด้วยการพัฒนาระบบการทำงานของอุปกรณ์ การลดของเสีย และการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ
รายงานระบุว่า บรรดาผู้ผลิตกำลังมองหาวิธีเพิ่มการมองเห็นคาร์บอนผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลและจากซัพพลายเชนที่เชื่อมต่อด้วยระบบดิจิทัล ด้วยหลักการของอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ผู้ผลิตจะใช้เซ็นเซอร์และเครื่องมือการจัดการประสิทธิภาพเพื่อยกระดับการไหลของข้อมูลด้านคาร์บอน/ความยั่งยืนในการดำเนินงานทั้งหมดของบริษัท
กระบวนการแบบแยกส่วนช่วยให้คาดการณ์ได้แม่นยำขึ้น:
เทคโนโลยีได้ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนากระบวนการคาดการณ์ให้ดียิ่งขึ้น โดยมีการจัดระเบียบใหม่ เพื่อให้มีความลีนและเป็นแบบแยกส่วนมากขึ้น
กระบวนการดังกล่าวช่วยให้ผู้ผลิตสามารถปรับรูปแบบของไลน์การประกอบชิ้นส่วน กระบวนการผลิต และวัสดุการผลิตเพื่อการสอบเทียบเครื่องมือวัดที่แม่นยำยิ่งขึ้น ส่งผลให้การคาดการณ์ทำได้ดีขึ้น รวมถึงช่วยยกระดับการผลิตที่กำหนดเองได้แบบ 'ออนดีมานด์'
ปัจจุบัน องค์กรต่างๆ สามารถใช้การออกแบบเสมือนจริง เพื่อทดสอบความเสถียรของรูปแบบการผลิตที่ยั่งยืนในรูปแบบความเป็นจริงเสมือน ก่อนที่จะผลิตออกมาเป็นชิ้นส่วน "จริง" ที่มีความเข้มข้นของคาร์บอน อาทิ เทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองและโมเดลจำลองเสมือน (Digital twinning) เพื่อลดพลังงานในกระบวนการออกแบบผลิต
การออกแบบอย่างมีจุดมุ่งหมายช่วยหนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน:
บริษัทผู้ผลิตชั้นนำได้พลิกโฉมกระบวนการผลิตเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 'เศรษฐกิจหมุนเวียน' ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับแผนธุรกิจระยะยาวในด้านการจัดการวัสดุและหลักการผลิต 'การออกแบบเพื่อความยั่งยืน'
กระบวนการดังกล่าวรวมถึงการสร้างระบบในการถอดแยกชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ เพื่อใช้ประโยชน์จากอะไหล่ชิ้นส่วน และสร้างโมเดลต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (TCO) ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงการออกแบบผลิตภัณฑ์เข้ากับจำนวนกระบวนการที่น้อยลง ปัจจัยการผลิตที่ยั่งยืนมากขึ้น และยังช่วยลดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ที่ใช้เครื่องจักรในการผลิต เพื่อใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมแบบวนซ้ำ (Iterative Innovation) ในด้านประสิทธิภาพไฟฟ้า
เฟรเดอริค โกเดอเมล (Frederic Godemel) รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายระบบและบริการด้านพลังงานของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าวว่า:
"รายงานฉบับล่าสุดนี้เผยให้เห็นว่า ภาคการผลิตมีการปฏิวัติธุรกิจสู่ความยั่งยืนจากเดิมที่เกิดขึ้นทางอ้อม สู่ความตั้งใจที่จะยกระดับเป้าหมายดังกล่าว ฉะนั้น ความยั่งยืนจึงไม่ใช่เพียงเรื่องบังเอิญอีกต่อไป เพราะในปัจจุบัน การจับคู่การบริหารจัดการอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพเข้ากับหลักการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีจุดมุ่งหมายนั้น ทำให้การผลิตสามารถเดินหน้าไปสู่การลดการปล่อยคาร์บอนได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว"
"อย่างไรก็ดี เวลาที่เราต้องใช้เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนนั้นเหลือน้อยลงมาทุกขณะ ผู้ผลิตจึงต้องเร่งความพยายามเหล่านี้ด้วยการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม และด้วยอุตสาหกรรมนี้ต้องการเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญต่อเป้าหมายด้านสภาพอากาศระหว่างประเทศ"
หากต้องการรับชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่ธุรกิจทั่วโลกใช้ข้อมูลเชิงลึกและนวัตกรรม เพื่อทำให้กระบวนการผลิตและสินทรัพย์ของพวกเขาเป็นกลางทางคาร์บอน โปรดดูรายงาน "การบริหารจัดการอุปกรณ์และความยั่งยืน: ธุรกิจทั่วโลกใช้ข้อมูลเชิงลึกและนวัตกรรมเพื่อทำให้กระบวนการผลิตและสินทรัพย์ของตนเป็นกลางทางคาร์บอนได้อย่างไร" (Equipment management and sustainability: How global businesses use insight and innovation to make their manufacturing processes and assets carbon neutral) ซึ่งเปิดให้เข้าชมเนื้อหาได้แล้วในขณะนี้
เกี่ยวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค
เป้าหมายของชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือการช่วยให้ทุกคนใช้พลังงานและทรัพยากรได้เกิดประโยชน์สูงสุด เชื่อมโยงความก้าวหน้าและความยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของทุกคน เราเรียกสิ่งนี้ว่า Life Is On
ภารกิจของเราคือการเป็นพันธมิตรด้านดิจิทัลกับคุณ เพื่อสร้างประสิทธิภาพและความยั่งยืน
เราขับเคลื่อนการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีชั้นนำของโลกด้านพลังงานและกระบวนการจัดการ เข้ากับผลิตภัณฑ์ตั้งแต่จุดเชื่อมต่อปลายทางไปยังคลาวด์ ระบบควบคุม รวมถึงซอฟต์แวร์และการบริการครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตการทำงานทั้งหมด เพื่อสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการ ทั้งสำหรับบ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจสีเขียวทั่วโลก โดยบริษัทได้ทำการเฟ้นหาวิศวกรบริการสำหรับตำแหน่งงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมใหม่ 2,500 ตำแหน่งทั่วยุโรป
เราคือบริษัทระดับโลกที่มีการดำเนินงานในระดับท้องถิ่นมากที่สุด เราสนับสนุนมาตรฐานระบบเปิดและระบบนิเวศของคู่ค้าที่มีความมุ่งมั่นแรงกล้าในการทำตามวัตถุประสงค์อย่างมีเป้าหมายร่วมกัน และคุณค่าในการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวพร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน
www.se.com
รับชมข้อมูลเกี่ยวกับ Life Is On | ติดตามเราได้ทาง: ทวิตเตอร์ | เฟซบุ๊ก | ลิงด์อิน | ยูทูบ | อินสตาแกรม | บล็อก
ค้นพบมุมมองใหม่ล่าสุดที่จะกำหนดนิยามของความยั่งยืน ระบบไฟฟ้า 4.0 (Electricity 4.0) และระบบอัตโนมัติมุมมองใหม่ได้ที่ Schneider Electric Insights
แฮชแท็ก : #Sustainability #ClimateChange #Electricity4.0 #Industry4.0
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1823165/Schneider_Electric_Logo.jpg