ภายในงาน นานาบริษัทจากทั้งไทยและไต้หวันจะร่วมกันลงนามในบันทึกความเข้าใจ เพื่อสร้างเมืองอัจฉริยะร่วมกัน
การประชุมสุดยอดความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมไทยและไต้หวัน (Taiwan x Thailand Industrial Collaboration Summit หรือ TTICoS) ประจำปี 2565 ในฟอรัมอุตสาหกรรมเมืองอัจฉริยะ เตรียมเปิดฉาก ณ โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพมหานคร ในช่วงบ่ายวันที่ 22 กันยายนนี้ ซึ่งจะเป็นงานอีเวนท์ที่มีการพบปะกันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2562 โดยพิธีเปิดจะมีขึ้นด้วยกล่าวสุนทรพจน์จาก 2 แขกผู้มีเกียรติ ได้แก่ คุณเยน เฟิงจื่อ (Yen Feng-chi) รองผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของไอดีบี (IDB) และตัวแทนจากประเทศไทย ดร.ศุภกร สิทธิไชย รองประธานบริหารสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล จากความสัมพันธ์อันดีระหว่างอุตสาหกรรมไทยและไต้หวัน งานในปีนี้จึงได้รับการออกแบบมาเพื่อการสร้างผลประโยชน์ให้กับทั้งสองฝ่าย โดยขยายโอกาสความร่วมมือและธุรกิจภาคเทคโนโลยี พร้อมกระชับความร่วมมือในการสร้างสรรค์เมืองอัจฉริยะ
การประชุมครั้งนี้ไม่เพียงแต่จะมุ่งเน้นไปที่ศูนย์สาธิตความร่วมมืออัจฉริยะต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นจากการร่วมมือกันระหว่างไทยและไต้หวัน และแสดงความสำเร็จของบริษัทต่าง ๆ ในไต้หวันเท่านั้น แต่ยังพาส่องดัชนีเมืองสีเขียว (Green City Index) ของอิโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (Economist Intelligence Unit) ซึ่งทำหน้าที่วัดคุณภาพอากาศ การคมนาคม สิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขอนามัย และการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าประสงค์เพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ ในการยกระดับความร่วมมือระดับอุตสาหกรรมระหว่างไทยกับไต้หวันหลังร่วมมือมา 5 ปี และในงานนี้จะมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากภาครัฐและผู้นำในวงการอุตสาหกรรมจากไทยและไต้หวันรวม 7 รายเข้าร่วมในช่วงเสวนาเชิงลึก เพื่อวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ทั้งอุทยานสาธิตโซลูชันอัจฉริยะในต่างประเทศ (TTSP) แห่งแรกของไต้หวัน แนวทางการใช้โซลูชันอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (IoT) เพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศภายในเมืองต่าง ๆ นโยบายของรัฐไทยที่มีต่อตลาดรถยนต์ไฟฟ้า โซลูชันอัจฉริยะในการจัดการสุขาสาธารณะ โซลูชันเมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืนโดยบริษัทจุงหวา เทเลคอม และโครงการริเริ่มด้านเทคโนโลยี IoT ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) รองรับการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเมืองอัจฉริยะ
"ด้วยความร่วมมือและการแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันระหว่างบริษัทต่าง ๆ ของไต้หวันและไทย เราตั้งตารอที่จะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มและระบบนิเวศทางอุตสาหกรรมให้แก่พันธมิตรจากไทย ควบคู่ไปกับการพัฒนาและเสริมสร้างแนวทางเพื่อการบูรณาการอุตสาหกรรมระดับภูมิภาคแก่ประเทศเป้าหมายตามนโยบายมุ่งใต้ใหม่ ( New Southbound Policy หรือ NSP)" คุณเยน กล่าว "เรายังหวังก่อตั้งรากฐานความร่วมมือระยะยาวที่แข็งแกร่งกับประเทศไทย ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาโซลูชันที่ก้าวหน้าสำหรับเมืองอัจฉริยะ"
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) 3 ฉบับระหว่างบริษัทต่าง ๆ ของไทยและไต้หวัน โดยฉบับแรกได้แก่ ความร่วมมือในอนาคตระหว่างบริษัท คามีโอ (CAMEO) ของไต้หวันและบริษัทซินเนอร์ยี่ เทคโนโลยี จากประเทศไทย เพื่อยกระดับแพลตฟอร์มฉุกเฉินด้านมลพิษทางอากาศและกำหนดขอบเขตการทดลองใช้งานจริงในประเทศไทย เพื่อช่วยลดผลกระทบจากมลพิษทางอากาศภายในเมือง ฉบับต่อมา คือบริษัทชุน ไม คอมมิวนิเคชัน ซิสเต็มส์ (Chiun Mai Communication Systems หรือ CMCS) ของไต้หวัน ที่จะมอบแพลตฟอร์มอัจฉริยะเพื่อการดูแลสุขภาพและโซลูชัน AIoT แก่บริษัทซินเนอร์ยี่ เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการดูแลอย่างชาญฉลาดในไทยและในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฉบับสุดท้าย บริษัทแอดว์เมดส์ (Advmeds) จากไต้หวัน กับบริษัทคอนเนค ไดแอกโนสติกส์ จากฝั่งไทย จะร่วมกันเปิดตัวโซลูชันการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และการดูแลสุขภาพอัจฉริยะ ในศูนย์บริการสุขภาพปฐมภูมิ 150 แห่ง
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1905375/INTERNATIONAL_DIVISION.jpg