คิวเอส ควัคควาเรลลี ซีมอนด์ส (QS Quacquarelli Symonds) เปิดเผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกด้านความยั่งยืน (QS World University Rankings: Sustainability) ครั้งแรก ซึ่งเป็นกรอบการทำงานใหม่ในการประเมินว่ามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ดำเนินการอย่างไรเพื่อจัดการกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เร่งด่วนที่สุดในโลก
คุณเจสสิกา เทอร์เนอร์ (Jessica Turner) ซีอีโอของคิวเอส กล่าวว่า "คิวเอสต้องการให้นักศึกษาในอนาคตได้รับข้อมูลเชิงลึกที่เป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมความยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนมหาวิทยาลัยให้ติดตามความก้าวหน้าของตนเองในการดำเนินกลยุทธ์ด้าน ESG [1] พร้อมกับแสวงหาแนวทางรับมือกับความท้าทายระดับโลกที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน"
การจัดอันดับมหาวิทยาลัย 700 แห่งพิจารณาจากผลรวมของคะแนนในสองส่วน ดังนี้
- ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (ประกอบด้วยปัจจัยชี้วัดสามประการ ได้แก่ สถาบันที่ยั่งยืน การศึกษาที่ยั่งยืน และการวิจัยที่ยั่งยืน)
- ผลกระทบทางสังคม (ประกอบด้วยปัจจัยชี้วัดห้าประการ ได้แก่ ความเท่าเทียม การแลกเปลี่ยนความรู้ ผลกระทบของการศึกษา การจ้างงานและโอกาส และคุณภาพชีวิต)
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ รั้งอันดับหนึ่งของโลก ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยโทรอนโต และมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย ส่วนมหาวิทยาลัยเอดินเบอระ รั้งอันดับ 4 ของโลกและเบอร์หนึ่งในสหราชอาณาจักร ขณะที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์และมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ครองอันดับ 5 ร่วมกัน ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยโตเกียว ที่รั้งอันดับ 7 ของโลกและเบอร์หนึ่งของเอเชีย ส่วนมหาวิทยาลัยที่เหลือที่ติด 10 อันดับแรกคือ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย มหาวิทยาลัยเยล และมหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์
ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกด้านความยั่งยืนของคิวเอส ประจำปี 2566: 20 อันดับแรก | ||
อันดับปี 2566 | ||
1 | มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (UC Berkeley) | สหรัฐอเมริกา |
2 | มหาวิทยาลัยโทรอนโต (University of Toronto) | แคนาดา |
3 | มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย (University of British Columbia) | แคนาดา |
4 | มหาวิทยาลัยเอดินเบอระ (The University of Edinburgh) | สหราชอาณาจักร |
5= | มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (UNSW Sydney) | ออสเตรเลีย |
5= | มหาวิทยาลัยซิดนีย์ (The University of Sydney) | ออสเตรเลีย |
7 | มหาวิทยาลัยโตเกียว (The University of Tokyo) | ญี่ปุ่น |
8 | มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) | สหรัฐอเมริกา |
9 | มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) | สหรัฐอเมริกา |
10 | มหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์ (The University of Auckland) | นิวซีแลนด์ |
11 | มหาวิทยาลัยอุปซอลา (Uppsala University) | สวีเดน |
12 | มหาวิทยาลัยลุนด์ (Lund University) | สวีเดน |
13 | มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (University of Glasgow) | สหราชอาณาจักร |
14 | มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส (University of California, Davis) | สหรัฐอเมริกา |
15 | มหาวิทยาลัยอาร์ฮุส (Aarhus University) | เดนมาร์ก |
16 | มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (University of Oxford) | สหราชอาณาจักร |
17 | มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น (Western University) | แคนาดา |
18 | มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล (Newcastle University) | สหราชอาณาจักร |
19 | มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge) | สหราชอาณาจักร |
20 | มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) | สหรัฐอเมริกา |
(C) คิวเอส ควัคควาเรลลี ซีมอนด์ส 2547-2565 TopUniversities.com สงวนลิขสิทธิ์ |
ผลการจัดอันดับยังเผยให้เห็นว่า สหรัฐอเมริกาครองตารางด้วยจำนวนมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับมากที่สุด 135 แห่ง ตามมาด้วยสหราชอาณาจักร (67), เยอรมนี (39), จีนแผ่นดินใหญ่ (37), ออสเตรเลีย (33) และอิตาลี (31)
- สองมหาวิทยาลัยจากสวีเดนครองอันดับสูงสุดในยุโรปภาคพื้นทวีป ได้แก่ มหาวิทยาลัยอุปซอลาและมหาวิทยาลัยลุนด์ ที่อันดับ 11 และ 12 ของโลก ส่วนเดนมาร์กรั้งที่สามของยุโรปภาคพื้นทวีป นั่นคือ มหาวิทยาลัยอาร์ฮุส (อันดับ 15 ของโลก)
- ในด้านการวิจัยที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยสี่แห่งจากสแกนดิเนเวียติดท็อป 5 ของโลก ขณะที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) รั้งอันดับหนึ่งของโลก
- มหาวิทยาลัยเซาเปาลู (Universidade de S?o Paulo) (อันดับ 34) ครองอันดับสูงสุดในลาตินอเมริกา
- มหาวิทยาลัยเคปทาวน์ (University of Cape Town) (อันดับ 132) ครองอันดับสูงสุดในแอฟริกา
- มหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Peking University) (อันดับ 118) ทำผลงานได้ดีที่สุดในจีน ส่วนมหาวิทยาลัยไอไอที บอมเบย์ (IIT Bombay) ทำผลงานได้ดีที่สุดในอินเดีย (281-300)
[1] สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG)
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1503777/QS_World_University_Rankings_Logo.jpg